ตามความเห็นของเรา ไม่คิดว่าปัจจัยกดดันตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาจะมีอะไรเปลี่ยนไป ซ้ำร้ายปัจจัยกดดันเหล่านั้นอาจจะยิ่งทวีความรุนแรง เพิ่มความผันผวนให้กับตลาดลงทุน การสนทนาสายตรงระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดนและผู้นำรัสเซียวลาดิเมียร์ ปูติน เมื่อวันเสาร์ไม่มีความคืบหน้าใดเกิดขึ้น และที่ร้ายไปกว่านั้นคือนอกจากอเมริกาที่สั่งให้ประชาชนของตนออกจากยูเครน ตอนนี้สหราชอาณาจักรก็ได้มีการดำเนินการตามสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน
การเทขายเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สะท้อนมุมมองที่นักลงทุนมีต่อตลาดลงทุนได้เป็นอย่างดี ภายในช่วงเวลาที่รายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนเริ่มหมดความน่าสนใจ กลับมาเกิดเหตุการณ์ที่ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) หรือมาตรวัดเงินเฟ้อทะยานขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี 1982 โดยที่ตัวเลข CPI ประจำเดือนมกราคมปรับตัวขึ้นอีก 0.6% ทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อแบบปีต่อปีเพิ่มขึ้นเป็น 7.5% ส่วนตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน ก็ปรับตัวขึ้น 6% เอาชนะตัวเลขคาดการณ์ไปได้ด้วยเช่นกัน
ในขณะเดียวกัน อัตราค่าจ้างที่แท้จริงของสหรัฐฯ ก็ปรับตัวขึ้น 0.1% และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกที่ปรับตัวลดลงมาเป็น 223,000 คนจากตัวเลขคาดการณ์ 230,000 คน ได้สนับสนุนปัญหาเงินเฟ้อให้รุนแรงขึ้น แน่นอนว่าการจ้างงานเพิ่มขึ้น และคนตกงานลดลงถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ปัจจัยสนับสนุนเชิงบวกเช่งนั้นแต่เดิมก็ถือว่าเป้นเงินเฟ้ออ่อนๆ เมื่อผู้คนทำงานเพื่อต้องการค่าจ้างที่มากขึ้น ก็จะเป็นการเพิ่มราคาสินค้าไปในตัวด้วย
ถึงแม้ว่าในเดือนก่อน ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะได้ออกมาพูดว่าจำนวนครั้งในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจไม่ได้มากอย่างที่ตลาดกำลังประเมินกันอยู่ในตอนนี้ แต่คำถามก็คือเมื่อเห็นตัวเลข CPI ออกมาสูงขนาดนี้ พวกเขาจะยังรักษาสัญญานั้นเอาไว้ได้อีกหรือ? ความคิดเช่นนี้ยิ่งมีแต่ทำให้นักลงทุนขาขึ้นเกิดความลังเล ที่จะกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยิ่งตัวเลขเงินเฟ้อสูงมากเท่าไหร่ ตลาดยิ่งเชื่อว่ามีโอกาสที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบรุนแรงมากเท่านั้น และหากแรงเกินไป ผลกระทบอาจกลายเป็นว่าทำให้เศรษฐกิจอเมริกาเข้าสู่ภาวะถดถอยรวดเร็ว และนั่นก็อาจจะนำไปสู่การเทขายในตลาดหุ้นครั้งใหญ่
ความลังเลของนักลงทุนในตลาดตอนนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากเราจะเห็นดัชนีหลักทั้งสี่ไม่ว่าจะเป็นเอสแอนด์พี 500 แนสแด็ก ดาวโจนส์และรัสเซล 2000 ร่วงลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา และดัชนีที่ร่วงลงหนักที่สุดคือแนสแด็ก 100 ที่ร่วงลงมากถึง 3.07% อันดับที่สองตกเป็นของเอสแอนด์พี 500 ด้วยขาลง 1.9% ตามมาด้วยอันดับสามอย่างดัชนีดาวโจนส์ 1.43% และรัสเซล 2000 ลงน้อยที่สุด 0.89% กลุ่มหุ้นที่ร่วงลงมากที่สุดคือเทคโนโลยี 3.05% ส่วนกลุ่มที่ขึ้นมาที่สุดคือพลังงาน 2.91%
ภาพของหุ้นวัฐจักรที่กลับมาเติบโตสวนทางกับหุ้นกลุ่มเทคฯ นั้นเกิดมาตั้งแต่เริ่มต้นปี 2022 จนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่านักลงทุนทุกคนจะทราบดีอยู่แล้ว แต่เมื่อได้พิจารณากราฟดัชนีแนสแด็ก 100 ก็จะพบว่าความจริงนี้ยิ่งดูสมจริงมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อการวิเคราะห์ทางเทคนิคชี้ให้เห็นว่ารูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) ที่แนสแด็ก 100 ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว ขาลงที่เกิดขึ้นครั้งล่าสุดแสดงให้เห็นว่าบริเวณไหล่ขวากำลังจะเสร็จแล้ว ยิ่งเป็นการหลุดกรอบรูปธงขาขึ้น และเส้น neckline ลงมา ยิ่งชัดเจนมากว่าขาลงมีกำลังมากมายมหาศาล
ตัวเลขเงินเฟ้อที่ออกมาทำให้นักลงทุนตกใจ และหันไปลงทุนกับสินทรัพย์สำรองที่คิดว่าปลอดภัย หนึ่งในนั้นก็คือพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งทำให้ขาขึ้นเกิน 2% ของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีต้องกลับลงมาวิ่งอยู่ที่ 1.9% อีกครั้ง จากรูปขาลงครั้งนี้อาจพาราคาให้ลงมาทดสอบกรอบสามเหลี่ยมสมมาตร ที่ทะลุขึ้นไปอีกครั้ง หากเป็นเช่นนี้ ตามการวิเคราะห์ทางเทคนิคแล้ว มีโอกาสที่จะกลายเป็นการย่อเพื่อสร้างขาขึ้นต่อไปในอนาคต
การแห่ไปถือครองพันธบัตรรัฐบาลและความเป็นไปได้ที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ยิ่งทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นเป็นวันที่สองติดต่อกัน ที่น่าตกใจก็คือขาขึ้นครั้งนี้ เกิดขึ้นพร้อมกันกับทองคำ
แรงกดดันตลาดลงทุนจากเรื่องรัสเซียและยูเครนทำให้ทองคำปรับตัวขึ้นเป็นวันที่หกติดต่อกัน แต่สาเหตุที่ขาขึ้นของทองคำต้องรูดกลับลงมาเป็นเพราะขึ้นไปเผชิญแนวต้านหลักที่ $1,860 แล้วยังไม่มีแรงส่งที่มากเพียงพอ
หลังจากถูกเทขายมาพักใหญ่ ขาขึ้นของราชาสกุลเงินดิจิทัลบิทคอยน์รอบนี้ดูเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
สิ่งที่นักลงทุนควรให้ความสนใจกับราคาบิทคอยน์ในตอนนี้ไม่ใช่ว่าราคาจะขึ้นไปได้ไกลแค่ไหน แต่หากต้องย่อลง จะกลายเป็นขาลงต่อจากเดิมหรือไม่ และถ้าเป็นเพียงการย่อจริง จะลงมาที่เท่าไหร่ ระดับแนวรับที่ขาขึ้นรอบนี้ไม่ควรเสียคือการลงมาต่ำกว่า $40,000
สถานการณ์ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ทำให้ราคาน้ำมันเมื่อวันศุกร์ปรับตัวขึ้นอีก สรุปว่าสัปดาห์ที่แล้วราคาน้ำมันวิ่งขึ้นมามากกว่า 3% สร้างจุดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 29 กันยายนปี 2014
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญประจำสัปดาห์นี้ (เวลาทั้งหมดคำนวณเป็น EDT)
วันจันทร์
11:15 (ยูโรโซน) - ถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางยุโรป
18:50 (ญี่ปุ่น) - รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -0.9% เป็น 1.4% QoQ
19:30 (ออสเตรเลีย) รายงานการประชุมของธนาคารกลางออสเตรเลีย
วันอังคาร
02:00 (สหราชอาณาจักร) รายงานจำนวนคนว่างงานที่ใช้สิทธิประโยชน์จากการว่างงาน: เคยเพิ่มขึ้นจาก -43.3K เป็น -36.2K
05:00 (เยอรมัน) รายงานตัวเลขความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ (ZEW): คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 51.7 เป็น 53.5
08:30 (สหรัฐฯ) ดัชนีราคาผู้ผลิต: คาดว่าจะในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นจาก 0.3% เป็น 0,5% MoM
วันพุธ
02:00 (สหราชอาณาจักร) ดัชนีราคาผู้บริโภค: คาดว่าตัวเลขในเดือนมกราคมจะคงที่ 5.4%
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีกพื้นฐาน: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -2.3% เป็น 0.8% MoM
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีก: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก -1.9% เป็น 1.8% MoM
08:30 (แคนาดา) ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน: คาดว่าจะลดลงจาก 4.0% เป็น 3.5% YoY
10:30 (สหรัฐฯ) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: สัปดาห์ก่อนออกมาอยู่ที่ -4.756M Bbl
14:00 (สหรัฐฯ) รายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ
19:30 (ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลขการจ้างงาน: คาดว่าจะลดลงจาก 64.8K เป็น -15.0K
วันพฤหัสบดี
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขการอนุญาตก่อสร้าง: คาดว่าจะลดลงจาก 1.885M เป็น 1.750M
08:30 (สหรัฐฯ) ดัชนีภาคการผลิตจากเฟดฟิลาเดเฟีย: คาดว่าจะลดลงจาก 23.2 เป็น 20.2
วันศุกร์
08:30 (แคนาดา) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีกพื้นฐาน: คาดว่าจะลดลงจาก 1.1% เป็น -2.3%
10:00 (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดขายที่อยู่อาศัยมือสอง: คาดว่าจะลดลงจาก 6.18M เป็น 6.12M