ภาพรวมปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานเช้านี้ ไม่มีปัจจัยใหม่ที่มีน้ำหนักเข้ามามี อิทธิพล โดยพัฒนการของข่าวยังเป็นเรื่องความกังวลต่อเงินเฟ้อ โดยใน สหรัฐฯมีตัวเลข PPI เดือน ธ.ค. ที่ยังสูงสะท้อนถึงแนวโน้มเงินเฟ้อในระยะ ต่อไปที่ยังสูงนำมาซึ่งความกังวลเรื่องอัตราดอกเบี้ยที่จะปรับขึ้น ส่วนในบ้าน เรา เงินเฟ้อก็เป็นปัญหา แต่แนวทางที่ออกมาไม่น่าจะเป็นการปรับเปลี่ยน นโยบายการเงิน แต่ใช้แนวทางการช่วยเหลือผู้บริโภคด้วยผ่านมาตรการต่างๆ สำหรับ Omicron จำนวนผู้ติดเชื้อยังอยู่ระดับสูง แต่ด้วยท่าทีของหน่วยงาน ต่างๆ ที่มองว่ากำลังจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น ทำให้เห็นตรงกันว่าจะไม่มี มาตรการที่มาจำกัดกิจกรรมเศรษฐกิจ
ประเมินว่า SET Index น่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 1663 – 1685 จุด พอร์ต จำลอง วันนี้ไม่มีการปรับเปลี่ยน โดยโครงสร้างพอร์ตมีการกระจายตัวรอรับ ปัจจัยต่างๆ พร้อมอยู่แล้ว Top Pick เลือก INSET, KBANK (BK:KBANK) และ STEC
แรงกดดันเงินเฟ้อสหรัฐยังสูง ความผันผวนในตลาดหุ้นกลับมาอีกครั้ง
วานนี้สหรัฐรายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer Price Index: PPI) ธ.ค. 2564 พบว่า ขยายตัว 9.7%yoy แม้ต่ำกว่าตลาดคาดเล็กน้อยที่ 9.8%yoy แต่นับว่ายังสูง สอดคล้อง กับดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) เดือนเดียวกันที่ขยายตัว 7%yoy โดย PPI วัดอัตราเงินเฟ้อที่ผู้ผลิตเผชิญ ขณะที่ CPI วัดอัตราเงินเฟ้อที่ผู้บริโภค เผชิญ ซึ่ง PPI ที่สูง มักเป็นสัญญาณว่า CPI ในระยะต่อไปจะสูงตามด้วย
PPI และ CPI สหรัฐที่สูง นำมาสู่ความกังวลเรื่องธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะใช้ นโยบายตึงตัวมากขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3 ครั้ง ในปี 2565 โดยตลาดคาดขึ้นครั้งแรกในเดือน มี.ค. 2565 ประกอบกับความเห็นของ เจ้าหน้าที่ Fed หลายท่านที่แสดงความเห็นในเชิงสนับสนุนให้ Fed ปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยในเดือน มี.ค. 2565 เช่น Lael Brainard รองประธาน Fed, Charles Evans ประธาน Fed สาขา Chicago, Patrick Harker ประธาน Fed สาขา Philadelphia, Mary Daly ประธาน Fed สาขา San Francisco
ประเด็นข้างต้นส่งผลให้ตลาดการเงินโลกกลับมาผันผวนสลับกันอีกครั้งหนึ่ง โดยตลาด หุ้นโลกปรับตัวลดลง, Bond Yield ลดลง, Dollar Index อ่อนค่าเล็กน้อย ส่วนค่าเงิน บาทยังเดินหน้าแข็งค่าต่ออีก 0.51% ซึ่ง ASPS มองว่ายังสามารถช่วยเสริมให้Fund Flow ต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยง่ายขึ้น สอดคล้องกับนักลงทุนต่างชาติยังเข้าซื้อ สุทธิตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องถึง 5 วัน จึงเชื่อว่าตลาดหุ้นไทยจะยังได้อานิสงส์จาก Fund Flow ไหลเข้าต่อ
ภาครัฐจ่อเยียวยาประชาชนเพิ่ม ลดโอกาสที่ไทยจะขึ้นดอกเบี้ย
สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยไทย ASPS เชื่อว่าไม่น่าจะรีบขึ้นตามสหรัฐ เพราะ เศรษฐกิจยังฟื้นตัวช้ากว่า ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อปี 2564 อยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 1- 3%yoy (ดูเพิ่มในบทวิเคราะห์ฉบับวันที่ 11 ม.ค. 2565) และยังสอดคล้องกับมุมมอง ของตลาดการเงินไทยที่มองว่าอัตราดอกเบี้ยไม่น่าปรับขึ้นเช่นกัน สังเกตจาก Bond Yield 1 ปีของไทยทรงตัวต่ำที่ระดับ 0.509% ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ ระดับ 0.5%
อีกส่วนหนึ่งสนับสนุนจากการที่รัฐบาลยังจำเป็นต้องเติมสภาพคล่องเข้าในประบบ เศรษฐกิจผ่าน นโยบายการคลัง โดยวันนี้ให้น้ำหนักการประชุมร่วมระหว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กับ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พลังงาน ให้น้ำหนักว่าจะมีการพิจารณามาตรการเยียวค่าครองชีพประชาชน และ มาตรการอื่นๆอย่างไร เช่น ต่ออายุโครงการเพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการ, เยียวกลุ่ม เปราะบาง และการเลื่อนโครงการคนละครึ่งเฟส 4 จากกำหนดเดิมช่วงเดือน มี.ค. – เม.ย. 2565 มาเป็น ก.พ. – มี.ค. 2565
จากกระแสความคืบหน้าของมาตรการเยียวยา-ช่วยเหลือข้างต้น ASPS มองว่าหาก เกิดขึ้นจริงจะมีส่วนช่วยแบ่งเบาภาระประชาชนได้ แต่ยังต้องติดตามว่ามาตรการต่างๆ ที่ออกมาจะมีผลข้างเคียงหรือไม่ เพราะมาตรการอาจทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นได้ จาก ความต้องการที่เพิ่มขึ้น (Demand-side) ซึ่งอาจกดดันให้ราคาสินค้าสูงขึ้นอีก หลังจาก ที่ก่อนหน้าราคาสูงขึ้นจากด้านการผลิต (Supply-side) มาก่อนแล้ว โดยสรุป จากมุมมองตลาดการเงิน และแนวโน้มการออกมาตรการเศรษฐกิจเพิ่มเติม ของรัฐ เชื่อว่าจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยไทยทรงตัวต่ำต่อไป ช่วยให้สภาพคล่องของ ระบบการเงินยังมีอยู่สูง ซึ่งจะเป็นบวกต่อตลาดหุ้นไทยต่อ
ราคาถ่านหินพุ่งแรงต่อ ดีต่อ BANPU, ราคาไก่และยางพาราปรับสูงขึ้นดีต่อ CPF TFG NER STA
ฝ่ายวิจัย ASPS เชื่อว่าในวันนี้หุ้นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์จะอยู่ในกระแสการ ลงทุน โดยกลุ่มที่น่าจะเกิดกระแสการเก็งกำไรเชิงบวก(+) หลัก ๆคือ
กลุ่มถ่านหิน : ราคาถ่านหินเมื่อวานนี้ปรับขึ้นแรงมากราว 6.3% หรือตั้งแต่ต้นเดือน ปรับขึ้น 18.6%mtd โดยปัจจัยหนุนหลักๆมาจาก 1.) ความต้องการใช้ถ่านหินมี แนวโน้มปรับขึ้นสูงในช่วงฤดูหนาวในช่วงต้นปี 2.)ช่วงต้นปี2565 ประเทศ อินโดนีเซีย รัฐบาลมีแผนที่จะกำหนดห้ามส่งออกถ่านหินออกนอกประเทศในเดือน ม.ค. 65 ทำมี ความกังวลว่า supply จะหายไปจากตลาด ถือเป็นบวกต่อหุ้นในกลุ่มถ่านหิน เช่น BANPU
อีกฝั่งนึงเชื่อว่ากลุ่มเกษตร หมู ไก่ และราคายางที่ปรับตัวสูงขึ้น จากประเด็นดังต่อไปน
ราคาไก่เป็นวันที่ 13 ม.ค. 65 อยู่ที่ 39 บาท/กก. เพิ่มขึ้น 2.6% wow ทำจุดสูงสุดใน รอบ 4 ปี จากความต้องการบริโภคเนื้อไก่ฟื้นตัว หลังรัฐบาลคลาย lock down และ ผู้บริโภคบางส่วนหันมาบริโภคไก่แทนหมู ถือเป็นผลบวกต่อ GFPT TFG และ CPF ที่มี สัดส่วนรายได้จากธุรกิจไก่ในไทยราว 70% 48% และ 10% ของรายได้รวม
ขณะที่สุกรหน้าฟาร์มวันที่ 13 ม.ค. 65 อยู่ที่ 110 บาท/กก. ทรงตัวสูงต่อเนื่องจาก สัปดาห์ก่อน สาเหตุหลักมาจากปัญหาสุกรขาดแคลน เนื่องจากมีโรคระบาดในสุกรใน หลายจังหวัด อาทิ โรคเพิร์ส และโรคอหิวาต์แอฟริกา เป็นต้น ส่งผลบวกต่อ TFG และ CPF ที่มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจสุกรในไทยราว 28% และ 10% ของรายได้รวม
ราคายางแผ่นโลก (SICOM) วันที่ 13 ม.ค. 65 อยู่ที่ 1.99 พันดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ปรับเพิ่มขึ้น 3.0% wow จากแนวโน้มความต้องการใช้ยางพาราฟื้นตัว ตามการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจโลก เป็น sentiment เชิงบวกระยะสั้นต่อผู้ประกอบการยางพารา โดย ฝ่ายวิจัยประเมินหุ้นในกลุ่มยางพารามี Valuation น่าสนใจ คือ NER STA โดยรวม ASPS ให้คำแนะนำลงทุนหุ้นกลุ่มเกษตรและยางพารา ให้น้ำหนักการ ลงทุนกลุ่มเกษตร-อาหาร “เท่าตลาด” โดยแนะนำซื้อ CPF TFG NER และ STA
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities