ตลาดการเงินค่อนข้างปั่นป่วน โดยเห็นการปรับตัวลดลงของสินทรัพย์ทาง การเงินแทบทุกประเภท ทั้งตลาดหุ้น ทองคำ และพันธบัตร แรงกดดันที่อยู่ เบื้องหลังยังมาจาก 2 เรื่องหลักคือ แนวนโยบายการเงินของ Fed ที่จะเข้าสู่ ภาวะตึงตัวเร็วขึ้น และ สถานการระบาดของ Omicron ทั่วโลก ส่วนในบ้าน เราวันนี้รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่สูงกว่า 7.5 พันราย โดยวันนี้จะมีการ ประชุม ศบค. ชุดใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะเห็นมาตรการควบคุมบางประการออกมา แต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะทำ Lockdown ซึ่งต้องติดตามว่ามาตราการที่ออกมาจะ สร้าง Downside ให้กับประมาณ GDP และการทำกำไรบริษัทจดทะเบียน หรือไม่ ปัจจัยที่พอเป็นความหวังได้แก่ราคาสินค้า Commodity ที่ปรับสูงขึ้น
คาด SET Index ยังผันผวนต่อ โดย 1658 จุดกลายเป็นแนวต้าน แนวรับถ้ด ไปอยู่ที่ 1645 และ 1625 จุดตามลำดับ พอร์ตจำลอง วันนี้ไม่มีการ เปลี่ยนแปลง หุ้น Top Pick เลือก CPF และ SCC
ตลาดการเงินโลกปั่นป่วน อาจทำ Fund Flow สะดุดช่วงสั้น
ความกังวลธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวเร็วขึ้น ทั้งการ ปรับขขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และการปรับลดขนาดงบดุล (Balance Sheet Runoff) ที่เร็วกว่าคาด ประกอบกับความกังวลประเด็น COVID-19สายพันธุ์ Omicron ที่ปัจจุบันแพร่รระบาดไปแล้วถึง 144 ประเทศ ส่งให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกสูง ถึง 1.89 ล้านราย/วัน
ความกังวลข้างต้น กดดันให้ตลาดการเงินโลกแกว่งตัวผันผวนค่อนข้างมาก กล่าวคือ ราคาสินทรัพย์เพื่อการลงทุนปรับลงแทบทั้งสิ้น ทั้งสินทรัพย์เสี่ยง เช่น ตลาดหุ้นโลก (สหรัฐ -0.1%, ยุโรป -1.53%, เอเชีย -0.51%) และสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น Bond Yield 10 ปีสหรัฐ ปรับเพิ่มขึ้นอีก 0.02% เป็น 1.72% แตะระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน (ราคา Bond เปลี่ยนแปลงในทิศตรงข้ามกับ Bond Yield)
ภาวะดังกล่าวสะท้อนว่าตลาดการเงินโลกดูมีความอ่อนไหวและเปราะบางต่อประเด็น ความเสี่ยงต่างๆอยู่พอสมควร โดยเป็นที่สังเกตว่า แม้ทั้งสินทรัพย์เสี่ยงและสินทรัพย์ ปลอดภัยจะปรับลง แต่ Dollar Index ยังปรับตัวแข็งค่าได้เล็กน้อย บ่งบอกเป็นนัยว่า นักลงทุนอาจกำลังถือเงินสดอย่างในระยะสั้น เพื่อรอประเมินสถานการณ์ก่อนที่จะกลับ เข้าไปลงทุนอีกครั้งหนึ่ง ASPS จึงประเมินว่าปัจจัยลบจากต่างประเทศจะมีน้ำหนัก กดดันตลาดหุ้นไทยได้ ส่งผลให้แนวต้าน 1,658 จุด ยังท้าทาย SET Index ต่อไป
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับขึ้นโดดเด่นทั้ง น้ำมัน, ถ่านหิน, หมู, ไก่
ฝ่ายวิจัย ASPS เชื่อว่าแม้ตลาดหุ้นทั่วโลกและหุ้นไทยจะผันผวน แต่เชื่อว่าในวันนี้จะมี การเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ Commodity แต่เฉพาะบาง กลุ่ม หลักๆ คือ กลุ่มพลังงาน เช่น ถ่านหิน และน้ำมันดิบ ดังนี้
-
กลุ่มน้ำมัน ได้ Sentiment บวกจากราคาน้ำมันดิบโลกที่ยังเป็นขาขึ้นในช่วง สั้น อิงน้ำมันดิบ Brent เมื่อวานนี้ +1.5% และสัปดาห์นี้ +5.4%wtd ล่าสุด แตะ 82 เหรียญ โดยปัจจัยหนุนราคาน้ำมันในตลอดทั้งสัปดาห์นี้ มาจากฝั่ง Supply ทั้ง 1.) ความตึงเครียดทางการเมืองในคาซัคสถานผลิตน้ำมันได้ใน ปริมาณ 1.6 ล้านบาร์เรล/วัน 2.)การผลิตน้ำมันในลิเบีย 1 ในประเทศผู้ผลิต น้ำมัน ลดลงมากกว่า 5 แสนบาร์เรล/วัน เนื่องจากมีการปิดบ่อน้ำมันหลาย แห่ง รวมทั้งมีการปิดซ่อมบำรุงท่อส่งน้ำมัน 3.)การประชุมกลุ่ม OPEC+ มีมติ ตามคาดปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน 4 แสนบาร์เรล/วันในเดือนก.พ.2565 โดยรวมคำแนะนำแนะนำ Trading เก็งกำไร PTTEP (FV@B149) และ PTT (BK:PTT) (FV@B48.5) ตามทิศทางราคาน้ำมันขยับขึ้น
-
กลุ่มถ่านหิน: ราคาถ่านหินเมื่อวานนี้ปรับขึ้นแรงมากราว 12% หรือตั้งแต่ต้น เดือนปรับขึ้น 20.4%mtd โดยปัจจัยหนุนหลักๆมาจาก 1.) ความต้องการใช้ ถ่านหินมีแนวโน้มปรับขึ้นสูงในช่วงฤดูหนาวในช่วงต้นปี 2.) ช่วงต้นปี2565 ประเทศ อินโดนีเซีย รัฐบาลมีแผนที่จะกำหนดห้ามส่งออกถ่านหินออกนอก ประเทศในเดือน ม.ค. 65 ทำมีความกังวลว่า supply จะหายไปจากตลาด เนื่องจากอินโดนีเซียถือเป็นผู้ส่งออกถ่านหินรายใหญ่ของโลก เป็นบวกต่อ ทิศทางหุ้นมีแนวโน้มปรับขึ้นต่อในช่วง 1Q64 ถือเป็นบวกต่อหุ้นในกลุ่มถ่าน หิน เช่น BANPU และ LANNA โดยแนะนำลงทุน Trading เก็งกำไรช่วงสั้นๆตามทิศทางราคาถ่านหิน
ส่วนกลุ่ม Commodity อื่นๆ อาทิ กลุ่มน้ำตาล, กลุ่มยาง ฯลฯ ยังผันผวน หรือปรับลง เล้กน้อยดังนี้
กลุ่มน้ำตาล : อิงราคาน้ำตาลดิบล่าสุดวันที่ 6 ม.ค. 65 อยู่ที่ 18.19 เซ็นต์/ปอนด์ ปรับลดลง 3.1% wow จากความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัว จากการระบาดของ โควิดสายพันธุ์ Omicron จะกดดันแนวโน้มความต้องการบริโภคน้ำตาลลดลง ถือ เป็น sentiment เชิงลบระยะสั้นต่อผู้ประกอบการน้ำตาล แต่ราคาหุ้น KSL มีค่า PBV เพียง 0.8 เท่า และคาดทิศทางกำไรจะฟื้นตัวชัดเจนในปี 2564/65 ยัง แนะนำซื้อ KSL (FV@B4.50)
กลุ่มยาง : ราคายางแผ่นโลก (SICOM) วันที่ 6 ม.ค. 65 29 ธ.ค. 64 อยู่ที่ 1.93 พันดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ลดลง 2% wow เช่นเดียวกับราคายางแท่งวันที่ 29 ธ.ค. 64 อยู่ที่ 1.73 พันดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.4% wow จาก แนวโน้มความต้องการใช้ยางแท่งฟื้นตัว ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ฝ่ายวิจัย ประเมินหุ้นในกลุ่มยางพารามี Valuation น่าสนใจ จึงยังแนะนำซื้อ NER (FV@B10.20) และ STA (FV@B41)
นอกจากนี้ประเมินกลุ่มที่น่าสนใจ และยังมี Catalyst หนุน คือ กลุ่มเกษตร (หมู ไก่)
ราคาสุกรหน้าฟาร์มวันที่ 6 ม.ค. 65 อยู่ที่ 110 บาท/กก. ปรับเพิ่มขึ้นถึง 17.0% wow และทำจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากสาเหตุหลักมาจากปัญหาสุกรขาด แคลน เนื่องจากผลผลิตสุกรออกสู่ตลาดลดลง เนื่องจากมีโรคระบาดในสุกรใน หลายจังหวัด อาทิ โรคเพิร์ส เป็นต้น ทำให้ปริมาณสุกรเสียหายเป็นจำนวนมาก อีกทั้ง ผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยบางส่วนมีการขายสุกรออกมาก่อนวัยในช่วงก่อนหน้านี้ ขณะที่ความต้องการบริโภคสุกรฟื้นตัวดีขึ้น จากเปิดเมืองและเข้าช่วงเทศกาลปี ใหม่ ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยประเมินแนวโน้มราคาสุกรหน้าฟาร์มจะยืนสูงต่อเนื่องในงวด 1H65 ส่งผลบวกต่อ TFG และ CPF ที่มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจสุกรในไทยราว 28% และ 10% ของรายได้รวม
ฝ่ายวิจัยประเมินว่าปัจจุบันราคาสุกรหน้าฟาร์มในไทยสูงสูงกว่าประเทศเพื่อน บ้านมาก (ราคาสุกรหน้าฟาร์มในกัมพูชาอยู่ที่ราว 80 บาท/กก.) ทำให้ประเมินว่า ปัจจุบันผู้เลี้ยงสุกรไทยจะเลือกขายสุกรในประเทศมากกว่าส่งออกไปกัมพูชาอยู่ แล้ว จึงประเมินว่าการที่รัฐบาลห้ามส่งออกสุกรชั่วคราวเป็นเวลา 3 เดือน จะ ส่งผลกระทบต่อ CPF และ TFG จำกัด
-
ราคาไก่เป็นล่าสุด ณ วันที่ 6 ม.ค. 65 อยู่ที่ 38 บาท/กก. ทรงตัวสูงจากสัปดาห์ ก่อน แต่ปรับเพิ่มขึ้นถึง 26.7% นับตั้งแต่พ.ย.64 และทำจุดสูงสุดในรอบ 4 ปี จาก ความต้องการบริโภคเนื้อไก่ฟื้นตัว หลังรัฐบาลคลาย lock down ถือเป็นผลบวก ต่อ GFPT TFG และ CPF ที่มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจไก่ในไทยราว 70% 48% และ 10% ของรายได้รวม
โดยแนะนำซื้อ CPF (FV@B28) เนื่องจากปัจจุบันมี PBV อยู่ที่ 1.0 เท่า และแนวโน้ม ธุรกิจในต่างประเทศฟื้นตัว นอกจากนี้ ยังแนะนำเก็งกำไร TFG (Switch FV@B4) และ GFPT (Switch FV@B13) ที่ได้ผลบวกจากทิศทางราคาสุกรและไก่ฟื้นตัวชัดเจน
ความกังวล Omicron ในไทยก่อตัว สั่นคลอน Sentiment ตลาด
ASPS มองว่าตลาดหุ้นไทยเผชิญกับบททดสอบสำคัญอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือไปจาก ประเด็นต่างประเทศคือ การระบาดของ COVID-19 ในประเทศ เพราะปัจจุบัน (7 ม.ค. 2565) ไทยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 7,526 ราย (สูงสุดในรอบ 2 เดือน) เพิ่มจากวันก่อน 5,775 ราย
จำนวนผู้ติดเชื้อที่ดูมีแนวโน้มกลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้ภาครัฐปรับมาตรการ รับมือไปในเชิงรุกมากขึ้น เช่น
-
การยกระดับเตือนภัย COVID-19 เป็นระดับ 4 จากเดิมระดับ 3: กระทรวง สาธารณสุขยกระดับเตือนภัยเป็นระดับ 4 โดยขอให้งดไปสถานที่เสี่ยง, ดื่มสุรา ในร้าน, รับประทานอาหารร่วมกัน, เดินทางข้ามจังหวัด เป็นต้น
-
การพิจารณาปรับบางพื้นที่เป็นสีส้ม: ในพื้นที่สีส้มจะมีการจำกัดกิจกรรมทาง เศรษฐกิจมากกว่าพื้นที่สีเหลือง ได้แก่ ห้ามจำหน่ายและบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในร้าน และห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มเกิน 150 คน จากเดิมไม่เกิน 200 คน
-
การพิจารณาชะลอเลื่อนเปิด Test & Go และสถานบันเทิง: กระทรวง สาธารณสุขเสนอให้เลื่อนการเปิดระบบลงทะเบียนเดินทางเข้าประเทศแบบ Test & Goออกไปจนถึงช่วงปลายเดือน ม.ค. 2565 เป็นอย่างน้อย รวมถึงการ เปิดสถานบันเทิงก็จะเสนอเลื่อนออกไปก่อน จากเดิมกำหนดเปิดวันที่ 16 ม.ค. 2565
การปรับมาตรการรับมือของภาครัฐในข้อ 2 และ 3 จะเข้าสู่การพิจารณาของ ศบค. ใน วันนี้ ซึ่งติดตามต่อไปว่า ศบค. จะเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอหรือไม่ แต่ ASPS เชื่อมั่นว่าภาครัฐจะไม่กลับไป Lockdown ในวงกว้างแบบปี 2564 ที่ผ่านมา แต่ มาตรการที่ออกมาน่าจะเป็นมาตรการที่เน้นไปเฉพาะจุดเป็นหลัก ช่วยให้ Downside ของเศรษฐกิจ และกำไรบริษัทจดทะเบียนปี 2565 มีจำกัด แม้ในระยะสั้นราคาหุ้นอาจ กระทบจาก Sentiment ในเชิงลบบ้าง แต่มองเป็นจังหวะสะสมหุ้น เพื่อหวัง ผลตอบแทนในระยะถัดไป
2 ปัจจัยกดดัน Flow ระยะสั้น คาด SET แกว่งในกรอบ 1645 - 1658 จุด เลือก CPF SCC เป็น Toppicks
วานนี้ SET Index ปรับตัวลงแรงกว่า 23.7 จุด หรือ -1.42% ล่าสุดอยู่ที่ 1653.03 จุด จาก 2 ปัจจัยกดดันหลักๆ ดังนี้
-
นโยบายการเงินที่ตึงตัว หลัง Fed ส่งสัญญาณเร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้นในปีนี้ โดยจากเดิมที่คาดจะขึ้นในเดือน พ.ค., ก.ค. และ ธ.ค. 2565 เปลี่ยนเป็นคาด จะขึ้นในเดือน มี.ค., มิ.ย. และ พ.ย. 2565 (รายละเอียดเพิ่มเติมอยู่ใน Market Talk วันที่ 6 ม.ค. 65)
-
การแพร่ระบาด COVID Omicron ในประเทศที่มีแนวโน้มรุนแรงต่อเนื่อง โดย ล่าสุด ทำจุดสูงสุดใหม่ที่ระดับ 7.5 พัยราย ซึ่งมีแนวโน้มสูงที่ยอดตัวเลขผู้ติด เชื้ออาจแตะ 1 หมื่นรายต่อวันได้ในอนาคตอันใกล้
ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 33.5 บาท/เหรียญฯ และ กดดัน Fund Flow อาจไหลเข้าหุ้นไทยลดลงในช่วงสั้น บวกกับมีแรงขายกองทุน LTF จากปี2559 ที่ครบกำหนดการถือครอง 7 ปีโดยล่าสุดกองทุนขายหุ้นไทยกว่า 8 พันล้านบาท ซึ่งฝ่ายวิจัยฯคาดการณ์แรงขายจากกองทุน LTF อยู่ที่ราว 1.6 – 1.7 หมื่นล้านบาท ในเดือน ม.ค. ได้ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการขึ้นของ SET Index ช่วงสั้น
สรุป Fed ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยเร็วขึ้น บวกกับความไม่แน่นอนของ Omicron ว่าจะติดเชื้อมากน้อยเพียงใด ส่งผลให้ค่าเงินบาทไทยมีแนวโน้มอ่อนค่า และกดดัน Fund Flow มีโอกาสชะลอในการไหลเข้า โดยกรอบการเคลื่อนไหวของ SET Index วันนี้อยู่ที่ 1645 - 1658 จุด
ดังนั้นกลยุทธ์เน้นลงทุนในหุ้นพื้นฐานดี มีเกราะป้องกันความผันผวนต่างๆ อย่าง SCC (ต่างชาติถือครองอยู่ในระดับต่ำมากราว 12% + ปันผลรองรับกว่า 4.5%) และ CPF (ได้ Sentiment บวกต่อเนื่องจากราคาหมูยืนอยู่ในระดับสูง + ค่าเงิน บาทมีแนวโน้มอ่อนค่า)
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities