คาดแรงขาย LTF ต้นปี ที่ 1.6-1.7 หมื่นล้าน Top Pick เลือก CPF, INSET และ KBANK (BK:KBANK)
จากมุมมองของกระทรวงสาธารณะสุขที่ในกรณีที่เป็น Base Case คาดว่าการ ระบาดของ Omicron รอบนี้น่าจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดที่บริเวณ 15000- 16000 รายต่อวัน ทำให้จากนี้ไปต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง โดย หากยังอยู่ภายใต้กรอบที่ประเมินไว้ก็ไม่น่าจะเห็นมาตรการควบคุมการระบาด ที่เข้มงวดมากไปกว่านี้ แต่หากเลวร้ายกว่าคาดก็อาจนำไปสู่การจำกัดกิจกรรม ทางเศรษฐกิจตามมา ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยยังคงคาดการณ์GDP Growth ปี 2565 ไว้ ที่ระดับ 3.5% ตามเดิม สำหรับโอกาสที่จะเห็นแรงขายจากLTF ที่ครบกำหนด ต้นปี 2565 พบว่าอาจเห็นแรงขายในช่วงต้นปี 2565 ประมาณ 1.6 – 1.7 หมื่นล้านบาท บนสมมุติฐานว่าขายออก 1 ใน 4 ของที่ครบกำหนด
คาด SET Indexอยู่ในกรอบ 1635-3650 จุด พอร์ตจำลองวานนี้ได้Cut Loss หุ้น CPALL (BK:CPALL) (น้ำหนัก 10%) ให้เข้าลงทุนใน CPF แทน ยังคงระดับเงินสด สำรองไว้ที่ 10% หุ้น Top Pick เลือก CPF, INSET และ KBANK
แนวโน้มผู้ติดเชื้อหลังปีใหม่ มีโอกาสทะลุ1 หมื่นราย แต่ก็ไม่น่าจะเปิด Downside ต่อ GDP Growth กำไรบริษัทจดทะเบียน ปี 2565 มากนัก
ประเด็นที่มีน้ำหนักต่อการลงทุนหุ้นไทยโค้งสุดท้ายของปี ในต่างประเทศยังไม่มีอะไร ใหม่อย่างมีนัย (เมื่อคืนตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นต่อ 2 วัน, ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นแรง 3.4% คาดวันนี้ Sentiment บวกต่อตลาดหุ้นไทย) ส่วนประเด็นในประเทศน้ำหนัก ยังคงเป็น สถานการณ Covid หลังจากสายพันธุ์ Omicron เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าระบาด เข้าไทยและมีแนวโน้มแพร่กระจายเร็วกว่าสายพันธุ์อื่นๆ สะท้อนจากเมื่อวานรายงานผู้ ติดเชื้อ Omicron สะสมอยู่ที่ 514 ราย เพิ่มขึ้น 33% จากวันก่อนหน้า และข้อมูล คาดการณ์จากหมอศิริราชที่ออกมาช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ประเมินคาด omicron แพร่กระจาย 50-60% ใน กทม.ช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. สอดคล้องกับเมื่อวานนี้กระทรวง สาธารณสุขเผยฉากทัศน์คาดการณ์สถานการณ์ Covid-19 ไทยในปี 2565 หลัง เทศกาลปีใหม่ ในช่วง omicron ระบาด ดังนี้
▪ กรณีดีสุด Best case : หากลดกิจกรรมการรวมกลุ่ม (เส้นสีเขียว) ผู้ติดเชื้อจะ
เพิ่มขึ้นวันละ 1-1.3 หมื่นรายต่อวัน ส่วนผู้เสียชีวิตอยู่ในช่วง 20-50 รายต่อวัน
▪ กรณี Base Case (เส้นสีน้ำตาล) ผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นวันละ 1.5 หมื่นรายต่อวัน
ส่วนผู้เสียชีวิตอยู่ในช่วง 80-100 รายต่อวัน
▪ กรณีเลวร้าย (เส้นสีน้ำเงิน) ผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นสูงสุด 2.5-3 หมื่นรายต่อวัน
ส่วนผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นสูงสุด 180 รายต่อวัน
ทำให้เมื่อกระทรวงสาธารณสุขปรับการประกาศแจ้งการเตือนภัยและมาตรการควบคุม ป้องกันโรคด้านสาธารณสุขเป็นระดับ 3 อาทิ สถานที่เสี่ยง สั่งให้ปิด งดเข้าสถานที่ปิด ฯลฯ ดังรูป (ขึ้นจากระดับ 2) จากทั้งหมด 5 ระดับ เพื่อป้องกันการระบาด
โดยฝ่ายวิจัย ASPS ให้น้ำหนัก 1.)จำนวนผู้ติดเชื้อ Covid หลังปีใหม่ หากออกมาไม่ เกิน 1.5 หมื่นราย หรือเท่ากับ Base case ที่สาธารณะสุขคาดการณ์ไว้ เชื่อว่า จะยังไม่ น่าเห็นการคุมกิจกรรมเศรษฐกิจแบบเข้มงวดเหมือนในอดีต อย่างไรก็ตามกรณีมี การคุมเข้มกิจกรรรมเศรษฐกิจฝ่ายวิจัย ASPS ประเมิน Downside ต่อปัจจัยพื้นฐาน คาดจะไม่กระทบมากเหมือนในปี 2563 ที่มีการ Lockdown แบบเข้มงวด แบ่งเป็น
1.เศรษฐกิจไทยปี 2565 โดยฝ่ายวิจัย ASPS ปัจจุบัน คาด GDP Growth ไทย ขยายตัว 3.5%yoy ส่วน Consensus ส่วนใหญ่ค่าเฉลี่ยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.9% กรณีคุมเข้มกิจกรรมเศรษฐกิจ ประเมินก็ไม่น่าจะเปิด Downside ต่อ GDP Growth ปี 2565 มากนัก โดยน่าจะเป็นการดำเนินงานในบางพื้นที่ หรือ บางกลุ่มธุรกิและคาดจะไม่รุนแรงเหมือนในงวด 2Q63 ที่ GDP หดตัวแรง 12.1%yoy ประเมินผลกระทบน่าจะใกล้เคียงกับ งวด 3Q64 โดยรวมทำให้คาดการณ์ทั้งปี 2565 คาดจะยังเติบโตในระดับ 3% ขึ้นไป
กำไรบริษัทจดทะเบียนปี 2565 : หากเปรียบเทียบกำไรบริษัทจดทะเบียนรายไตร มาส 2 รอบที่โดนผลกระทบโควิด จะเห็นได้ว่า Sector ที่โดนผลกระทบลดลงอย่าง ชัดเจน จากการปรับตัวรายบริษัท และแผนการรองรับของรัฐบาล โดยการแพร่ระบาด ของสายพันธุ์ Delta ในเดือน ก.ค. - ส.ค. 64 ส่งผลกระทบ 2 เดือนเต็ม อย่างไรก็ตาม Sector ที่โดนผลกระทบหนักนั้น มีเพียง 5 Sector โดยขาดทุน 3 Sector ได้แก่ TOURISM TRANS CONS (4.1% ของกำไรปกติ) ขณะที่ PROP -40%YoY COMM - 45%YoY (12.7% ของกำไรบริษัทจดทะเบียน) เป็นต้น
สรุปคือประเด็นโอไมครอนถือเป็น Sentiment ลบ กดดันตลาด ที่นักลงทุนต้อง ติดตามอย่างใกล้ชิดในช่วงนี้ ส่วนในมุมภาพรวมกำไรบริษัทจดทะเบียนเมื่อเทียบ กับข้อมูลช่วงที่เผชิญกับสายพันธ์เดลต้า มีบาง Sector ที่กระทบมาก และไม่ได้กิน สัดส่วนเยอะเมื่อเทียบกับกำไรทั้งหมด โดยกลยุทธ์เลือก Sector คาดไม่โดนผลกระทบจากประเด็นดังกล่าว และคาดกำไร เติบโตในปีหน้าอย่าง CPF INSET KBANK เป็น Toppick วันนี้
วิเคราะห์ผลกระทบ LTF ปี 59 ครบกำหนดขาย (พาร์ท 2)
วานนี้สถาบันฯยังขายสุทธิหุ้นไทยอีก 1.8 พันล้านบาท และตลอดทั้งเดือน ธ.ค. 64 ขายสะสมสุทธิ 6.6 พันล้านบาท ต่างกับปีก่อนๆ ที่เดือน ธ.ค. มักจะเป็นเดือนที่สถาบัน ฯซื้อสุทธิสูงสุด สอดคล้องกับที่ฝ่ายวิจัยฯ ได้นำเสนอเรื่องของ Window Dressing ใน ปีนี้คาดหวังได้ยาก หลักๆ เกิดจากแรงซื้อ LTF ที่หายไป (ใน Market Talk 27 ธ,ค. 64) ส่วนวันนี้จะมานำเสนอหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ตลาดหุ้นไทยผันผวนในช่วงต้นปี 2565 คือ ผลกระทบจากไถ่ถอนเงินในกองทุน LTF ปี 2559 ที่ครบกำหนดการถือ ครอง 7 ปี มีรายละเอียดดังนี้
1. ยอดซื้อสะสมกองทุน LTF รวมปี 2559 สูงถึง 5.86 หมื่นล้านบาท
2. ยอดซื้อสะสมปี 2559 คิดเป็นมูลค่าตลาด ณ ปัจจุบัน 6.38 หมื่นล้านบาท หรือมี ต้นทุนซื้อสะสมในปี 2559 เทียบกับ SET อยู่ที่ 1504 จุด อาจเห็นเม็ดเงินดังกล่าวว ทยอยขายออกมา เพราะเม็ดเงินดังกล่าวช่วยลดหย่อนภาษีไปแล้ว และปัจจุบันยังมี กำไรเฉลี่ยราว 8%
3. ปกติจะมีแรงขายในเดือน ม.ค. มากสุดราว 24% ของแรงขายทั้งปี
ดังนั้นหาก SET Index ในช่วงต้นปีหน้าอยู่สูงกว่า 1504 จุด อาจจะเผชิญแรงขาย LTF ออกมาบ้าง รวมถึงยังเป็นช่วงที่นักลงทุนกังวลโควิดโอไมครอนต่อเนื่อง อาจ เห็นแรงขายออกมามากกว่าภาวะปกติ คาดว่าราว 1.5 - 2 หมื่นล้านบาท ในเดือน ม.ค. ได้รวมถึงผู้จัดการกองทุนเองอาจกันเงินสำหรับการไถ่ถอน (redeem) ไว้ มากกว่าปกติในช่วงนี้ทำให้ความคาดหวังเห็นเม็ดเงินเข้ามาทำ Window Dressing ช่วงท้ายปีเกิดขึ้นได้ยาก นอกจากนี้ฝ่ายวิจัย ASPS ยังทำการค้นหาในเชิงลึกถึงหุ้นที่กองทุน LTF ถือครองมาก ที่สุด 5 อันดับแรก จาก 20 กองทุน LTF ที่ใหญ่ที่สุด (คิดเป็นสัดส่วน NAV สูงถึง 83% จากทั้งหมด 94 กองทุน)
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities