SET Index น่าจะผันผวนในกรอบที่แคบลง Top Pick เลือก CPN, DOHOME และ SCC
ประเมินว่า SET Index น่าจะได้รับแรงหนุนจาก Sentiment ของตลาดหุ้น โลกที่ดูผ่อนคลายมากขึ้น หลังตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ที่ประกาศออกมาส่วน ใหญ่ดีกว่าความคาดหมายเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ แต่อย่างไรก็ตามยังมี ประเด็นเรื่อง Omicron ที่อาจกลับมาสร้างแรงกดดันได้อยู่ตลอดเวลา สำหรับ ในบ้านเราการประชุม กนง. วานนี้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% ตามคาด แต่ก็สะท้อนมุมมองเศรษฐกิจในปี 2565 ในทางที่เติบโตน้อยลงผ่าน การปรับลดคาดการณ์GDP Growth จาก 3.9% เหลือ 3.4% ส่วนหนึ่งเป็น การรองรรับผลกระทบจาก Omicron ที่เริ่มขยายเข้าสู่ประเทศไทย ส่วนระดับ ของ GDP ที่จะกลับมาเท่าก่อนเกิด Covid-19 คาดว่าจะเป็นปี 2566 คาด SET Index น่าจะผันผวนในกรอบที่แคบลงบริเวณ 1615 – 1635 จุด ขณะที่มูลค่าการซื้อขายบางลง พอร์ตจำลองไม่มีการปรับเปลี่ยน โดยยังให้ถือ เงิเนสดที่ระดับ 20% หุ้น Top Pick เลือก CPN, DOHOME และ SCC
วัคซีนคืบหน้า ช่วยตลาดกังวล Omicron น้อยลง
ตลาดหุ้นต่างประเทศวานนี้ ปรับฟื้นตัวต่อ เช่นตลาดหุ้นสหรัฐ และยุโรปปรับขึ้นเฉลี่ย ราว 1%, ตลาดหุ้นเอเชียปรับขึ้น 0.3% โดยตลาดหุ้นโลกได้แรงหนุนจากการรายงาน ดัชนีเศรษฐกิจสหรัฐที่ดีกว่าคาด เช่น GDP งวด 3Q64 (รายงานครั้งสุดท้าย) ขยายตัว 2.3%qoq สูงกว่าคราวก่อนที่รายงายไว้ 2.1%qoq, ยอดขายบ้านมือสองปรับเพิ่มขึ้น เป็นเดือนที่ 3 และดัชนีความเชื่อมั่ผู้บริโภคเดือน ธ.ค. 2564 เพิ่มขึ้นเป็น 115.8จุด จาก 111.9 จุด ASPS ยังมองว่าประเด็นสำคัญที่ช่วยให้ตลาดหุ้นโลกกลับมาฟื้นตัวได้คือ ความกังวล COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ที่ลดลง สังเกตได้จาก
การกระจายวัคซีนในหลายๆประเทศที่กระจายเป็นวงกว้าง: ทั้งการฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 และ 2 รวมไปถึงการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster) หรือเข็ม 3 หลาย ประเทศเดินหน้าฉีดไปในระดับหนึ่งแล้ว
อัตราการเสียชีวิตจาก COVID-19 ไม่ได้เพิ่มขึ้นสูง: แม้จำนวนผู้ติดเชื้อในหลาย ประเทศจะกลับมาจากสูง จากการระบาดของสายพันธุ์ Omicron แต่กลับ พบว่าจำนวนผู้เสียชีวิตไม่ได้เพิ่มขึ้นสูงตามไปด้วย ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตที่ คำนวณจากจำนวนผู้ติดเสียชีวิตสะสมหารด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมยัง ค่อนข้างทรงตัว สะท้อนว่าวัคซีนสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตได้ และยังสอดคล้องกับข้อมูลก่อนหน้าที่พบว่า สายพันธุ์ Omicron ไม่ได้ ก่อให้เกิดอาการป่วยรุนแรงนัก
ความกังวลสายพันธุ์ Omicron ที่ลดลงข้างต้น ASPS ประเมินเป็นปัจจัยที่ช่วยลดทอน Downside ของตลาดหุ้นในระยะข้างหน้า สอดคล้องกลับการตอบสนองของตลาดหุ้น ประเทศต่างๆที่ดูมีแนวโน้มตอบสนองต่อความกังวลสายพันธุ์ Omicron น้อยลง โดยเฉพาะประเทศที่ฉีดวัคซีนสูง (อังกฤษ, สหรัฐ, เยอรมนี) และประเทศที่ยังไม่พบการ ระบาดสายพันธุ์ Omicron เป็นวงกว้าง รวมถึงการไม่ Lockdown แบบเข้มงวดใน หลายประเทศ และสำหรับตลาดหุ้นไทยในวันนี้ ASPS เชื่อว่าจะมีโอกาสได้ Sentiment บวกจากต่างประเทศ (ดังที่กล่าวไปช่วงต้นๆ) ยังจะมี Downside จำกัดมากขึ้นจากการ ความกังวล Omicron ที่ลดลง ช่วยให้ตลาดหุ้นไทยวันนี้น่าจะยังสามารถทรงตัวอยู่ได้
ผลประชุม กนง. คงดอกเบี้ย คาดทรงต่ำต่อตลอดปี 2565 บวกต่อ SET Index
ผลสรุปการประชุม กนง. เมื่อวานนี้เป็นไปตามที่คาด (0) คือ มีมติเอกฉันท์คงอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายต่ำไว้ที่ 0.5% เดิม โดยมีประเด็นที่น่าสนใจที่ส่งสัญญาณออกมา หลักๆ คือ
คาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจ(GDP Growth) ปรับเพิ่มปี 2564 ขึ้นเป็น 0.9%yoy จากเดิม 0.7% ส่วนปี 65 ปรับลดเหลือ 3.4% จากเดิม 3.9% เนื่องจาก Covid สะท้อนผ่านคาดการร์นักท่องเที่ยวในปี 2565 คาดลดลง เหลือ 5.6 ล้านคนจากรอบที่แล้วคาด 6 ล้านคน โดยรวมคาด GDPของ ธปท. ล่าสุด ดังกล่าวถือว่าเป็นระดับใกล้เคียงกับที่ Consensus ประเมิน แต่ ประเด็นที่น่าสนใจคือ ธปท. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับไปเท่ากับก่อน เกิด Covid คือ ต้นปี 2566 ซึ่งหมายความว่าการเติบโตของเศรษฐกิจไทยใน ปี 2565-2566 จะต้องขยายตัวในอัตราเฉลี่ยปีละ 3.5% เป็นอย่างน้อย
มุมมองการฟื้นตัวรายภาคอุตสหกรรม ภาคธุรกิจของไทยหลังจากเผชิญ Covid : คือช่วง 3Q64 กลุ่ม Sector ที่ฟื้นตัวกลับมาสูงหรือใกล้เคียงก่อนเกิด Covid ในปี 2562 หลักๆ คือ Semiconductor (หุ้นที่เกี่ยวข้อง กลุ่ม อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ KCE SVI SMT HANA ) รองลงมาคือ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มเคมีภัณฑ์ เหล็ก ยาง ส่วนอุตสกรรมอื่นๆ ยังไม่ฟื้นกลับมาเท่าที่เดิม (ดัง รูป ) หากประเมินอนาคต 4Q2566 Sector ต่างๆ ถึงจะฟื้นตัวสูงกว่าก่อน เกิด Covid แต่ยังมีกลุ่ม โรงแรม และ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ยังไม่ฟื้นกลับ ดังที่ ASPS นำเสนอเมื่อวานนี้ผลกระทบจาก Covid ผลกระทบกำไรตลาด โดยการนำไปเปรียบเทียบกับผลกำไรรายกลุ่มในงวด 3Q64(เผชิญโควิด เดลต้า) พบว่า มีกลุ่มที่ขาดทุนอยู่ 4 Sector คือ TRANS, TOURISM, CONS คิดเป็นสัดส่วน 4.1% ของกำไรเฉลี่ยทั้งหมดในภาวะปกติ และอีก 2 Sector กำไรลดลงแรง (
มุมมองการอัตราเงินเฟ้อ แม้จะปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อไทยปี 2564-65 ขึ้นมาอยู่ที่ 1.2% และ 1.7% จากเดิม 1% และ 1.4% แต่ ธปท. ยังประเมิน ว่าเงินเฟ้อไทยอนาคตจะฟื้นตัวในช่วง 1H65 เป็นการฟื้นตัวเพียงชั่วคราว และ จะลดลงมาต่ำในช่วง 2H64 ASPS ประเมินเป็นการตอดย้ำความเชื่อว่า ธปท. ยังไม่กังวลเงินเฟ้อ จนนำไปสู่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2565 ดังที่ ASPS นำเสนอมาตลอดว่า ไทยคาดจะยังคงดอกเบี้ยยาวตลอดปี 2565 ผลต่อ ตลาดภาวะ อัตราดอกเบี้ยต่ำต่อ 0.5% ประเมินจะส่งผลให้ Market Earning Yield Gap (ส่วนต่างผลตอบแทนตลาดหุ้นกับพันธบัตร 1 ปี) ยังกว้างต่อไป โดยปัจจุบันอยู่ที่ 4% (ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในอดีต) หากคำนวณเป็นดัชนี เป้าหมายของปี2565 โดย ASPS คาด EPS65F ที่ระดับ 81 บาท/หุ้น (เติบโต 10%YoY) เมื่อคูณกับ P/E ตามกลไก Market Earning Yield Gap เฉลี่ย 3.9% ที่ 22.73 เท่า จะได้เป้าหมายดัชนีปี 2565 ที่ระดับ 1,840 จุด
เข้าสู่ช่วง Volume เบาบาง เน้นสะสมหุ้นหวังผลปี 65 SCC CPN DOHOME
ตลาดหุ้นโลกเริ่มกังวลประเด็นโอไมครอนน้อยลง สะท้อนได้จากผลตอบแทนตลาดหุ้น ทั่วโลกที่เริ่มฟื้นขึ้นมาอยู่ในระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดในสายพันธ์โอไมครอน (วัด ผลตอบแทนช่วง 26 พ.ย. – 23 ธ.ค. 64)อาทิ ตลาดหุ้นโลก (MSCI World) เคยปรับตัว ลงไปลึกถึง -4.2% ตอนนี้เหลือติดลบเพียง -0.6% ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเคยปรับตัวลงไป ลึก -5.2% และตอนนี้ลดลงมากกว่าตลาดหุ้นโลกเล็กน้อย -1.3% เนื่องจากยังอยู่ช่วง ต้นๆ ในการรับมือโอไมครอน
แต่หลังจากนี้จะเข้าสู่ช่วงเทศกาลหนุดยาวของต่างชาติ คริสต์มาสและต่อเนื่องถึงปีใหม่ ทำให้มูลค่าซื้อขายหุ้นไทยมีโอกาสลดลงมากเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านๆ มา สะท้อนได้ จากในวันคริสต์มาสมูลค่าซื้อขายหุ้นมักจะเบาบางเป็นพิเศษและมีถึง 3 ใน 10 ปี ที่ มูลค่าซื้อขายวันนั้นเป็นต่ำสุดของปี ขณะที่วานนี้มูลค่าซื้อขายหุ้นไทยต่ำสุดเป็นอันดับที่ 4 ของปี 2564
ดังนั้นการรีบาวน์กลับของตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปีอาจไม่ได้ร้อนแรงอะไร ด้วยมูลค่าซื้อขายที่มีโอกาสลดลง บวกกับอาจมีแรงขายทำกำไรเพื่อลดความเสี่ยง ในช่วงก่อนเทศกาลวันหยุด กลยุทธ์น่าจะเน้นเป็นลักษณะสะสมหุ้นเพื่อหวังผลตอบแทนในปี 2565 เป็นหลัก แนะหุ้น CPN, SCC เป็นหุ้นพื้นฐานขนาดใหญ่กำไรแข็งแกร่ง และหุ้น DOHOME ด้วย SSSG งวด 4Q64 เพิ่มขึ้นกว่า 30% เป็นอันดับต้นๆ ของกลุ่มฯ
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities