Stick with C&X Back to where we started: ตลาดหุ้นทั่วโลกกําลังเดินหน้ากลับสู่ ระดับ High เดิมก่อนการปรับฐาน พร้อมกับความกังวลของนักลงทุนต่อ ประเด็น Omicron ที่ลดลง หลังเริ่มมีผลการวิจัยออกมามากขึ้นยืนยันถึง ความรุนแรงของโควิดสายพันธุ์ใหม่นี้ว่าไม่ได้แตกต่างไปจากสายพันธุ์ Delta เดิมหรืออาจจะน้อยกว่าด้วยซ่า ส่งผลให้ Risk sentiment เริ่มดีขึ้น สะท้อนผ่านเงิน USD ที่อ่อนค่าลง และราคาโภคภัณฑ์เช่นน่ามันที่ปรับตัว สูงขึ้น โดยในส่วนน้ํามันยังมีปัจจัยบวกในระยะสั้นจากตัวเลขสด็อก น่ามันดิบของสหรัฐฯเมื่อคืนนี้ที่ออกมาลดลงมากกว่าตลาดคาดอย่างสําคัญ ในขณะที่ทางฝั่งของประเทศไทยเรานั้นก็มีปัจจัยเชิงบวกด้วย เช่นกัน โดยผลการประชุมกนง.วานนี้ถือว่าออกมาในโทน Dovish พอสมควร พร้อมทั้งยังมีการปรับเพิ่มประมาณการของ 2 ภาคส่วนทาง เศรษฐกิจที่สาคัญ นั่นก็คือการบริโภคภาคเอกชน (C) และการส่งออก สินค้า (X) ซึ่งจะถือเป็นเครื่องยนต์สําคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี หน้าอีกด้วย
Strategy: ในภาพใหญ่ยังคงประเมินดัชนี SET Index แกว่งตัว Sideways up สู่ระดับเป้าหมายถัดไปที่ 1660-1680 จุด มองกรอบ ระยะเวลาการถึงเป้าหมายในช่วง 4 เดือนแรกของปีหน้าซึ่งประเมิน ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของปี ยังคงแนะน่าถือครองหุ่น 2 กลุ่มเดิมซึ่ง ได้แก่ กลุ่ม Domestic consumption และกลุ่ม High dividend รวมไปถึง หุ้นกลุ่มส่งออกสินค้าอาหาร ที่ยังคงมีสัญญาณตต่อเนื่องจากปรากฏการณ์ WFH ในต่างประเทศ และกลุ่ม Logistics ที่ได้ประโยชน์จาก Volume การน่าเข้า/ส่งออกที่ยังคงอยู่สูง รวมถึงค่าระวางที่ปรับตัวท่าจุดสูงสุดใหม่ ต่อเนื่อง MPC: สรุปไฮไลท์ส่าคัญและมุมมองของเราต่อการประชุมกนง.วาน นี้ ได้แก่
1) Statement ที่ออกมาถือว่าไม่ได้มีอะไรน่าประหลาดใจโดยธปท.มองปัจจัยการระบาดของ Omicron ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสําคัญที่คงต้องติดตามพัฒนาการต่อไป
2) แต่ไฮไลท์สําคัญมาเกิดขึ้นในช่วงตอบค่าถามสื่อของท่านผู้ช่วยผู้ว่าการฯ ซึ่งโทนเอนเอียงไปในทิศทาง Dovish อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น การกล่าวว่าประมาณการเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มใหม่นั้น มองเป็นปัจจัยชั่ว ครั้งชั่วคราวเท่านั้น และถือเป็นระดับที่ยังอยู่ภายใต้กรอบเป้าหมายเงิน
เฟ้อของธปท.ที่ 1-3% 3) สาเหตุส่าคัญมาจากการที่เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในสถานะเริ่มแรกของการฟื้นตัว (Laggard recovery) ทําให้แรงกดดันทางด้านอุปสงค์ยังคง อยู่ในระดับต่ํา และทาให้ผู้ประกอบการยังไม่สามารถที่จะผลักดัน ต้นทุนราคาสินค้าไปยังผู้บริโภคได้มากนัก
แนวรับ 1,620 แนวต้าน 1,635
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Trinity Securities