พัฒนาการของข่าว Omicron จนถึงปัจจุบันรับรู้ได้ถึงการคลายตัวของความ กังวล ส่งผลทำให้Fund Flow เริ่มไหลกลับเข้าสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง เห็นได้ จากการฟื้นตัวของตลาดหุ้นสำคัญในโลกพร้อมๆ กับ Bond Yield ที่ปรับ สูงขึ้น อีกมุมหนึ่งที่น่ามองคือค่าเงินบาท ซึ่งพบว่ามีการแข็งค่ากลับขึ้นมา ชัดเจน ล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 33.6 บาท/USD น่าจะทำให้แรงขายจากต่างชาติ เบาลง และอาจกลับมาเป็นแรงซื้อใหม่อีกรอบหนึ่ง ส่วนนักลงทุนสถาบันใน ประเทศก็กลับมาซื้อสุทธิซึ่งเป็นไปตามคาดหมาย โดยแรงผลักดันน่าจะมาจาก เม็ดเงินที่ไหลเข้าผ่าน RMFและSSF ปัจจัยแวดล้อมดังกล่าวทำให้เราประเมิน ว่าน่าจะเห็นการฟื้นตัวกลับของ SET Index ได้อีกครั้ง
หาก SET Index ยืนเหนือ 1614 จุด จะเป็นสัญญาณบวก พอร์ตจำลอง Cut Loss หุ้น BCH ทำให้มีเงินสด 25 % ให้เข้าซื้อ KBANK (BK:KBANK) และ SCC อย่างละ 10% และ BH 5% Top Pick เลือก BH, KBANK และ SCC
Flow ไหลกลับสินทรัพย์เสี่ยง หลังความกังวล Omicron ผ่อนคลาย
ทิศทางของ Fund Flow พร้อมไหลกลับเข้าหาสินทรัพย์เสี่ยงอีกรอบหนึ่ง ดังจะเห็นได้ จากตลาดหุ้นโลก และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ล้วนปรับขึ้นแทบทั้งสิ้น เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐ ปรับขึ้นเฉลี่ย 2.2%, ตลาดหุ้นยุโรปปรับขึ้นเฉลี่ย 2.6%, ตลาดหุ้นเอเชียปรับขึ้นเฉลี่ย 1.1.% ขณะที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ปรับขึ้นด้วย เช่น ถ่านหิน +3.8%, น้ำมันดิบ +3%, ค่าระวางเรือ BDI +2% (เป็น Sentiment เชิงบวกต่อหุ้น BANPULANNA, PTTEP-PTT, TTA-PSL)
สาเหตุสำคัญที่ช่วยให้Fund Flow ไหลกลับไปยังสินทรัพย์เสี่ยงคือ
-
ความกังวล COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ผ่อนคลาย: แม้ปัจจุบัน พบผู้ติด เชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ใน 48 ประเทศทั่วโลก แต่นาย Anthony Fauci ที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของทำเนียบขาวได้ระบุว่า “จนถึงขณะนี้ ยัง ไม่มีข้อมูลว่า Omicron ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรง” สอดคล้องกับ องค์การอนามัยโลก (WHO) ที่รายงานว่าผู้ติดเชื้อ Omicron ส่วนใหญ่แทบไม่ มีอาการ และปัจจุบันก็ยังไม่พบผู้เสียชีวิตจากสายพันธุ์ Omicron
-
ภาพของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังชัดเจน: สะท้อนจากการค้าระหว่าง ประเทศของจีนเดือน พ.ย. 2564 ที่พบว่าทั้งการส่งออกและนำเข้าล้วน ขยายตัวดีกว่าคาด กล่าวคือ การส่งออกขยายตัว 22%yoy (ตลาดคาดขยายตัว 19%), การนำเข้าขยายตัว 31.7%yoy (ตลาดคาดจะขยายตัว 19.8%) โดย การค้าระหว่างประเทศของจีนที่ยังขยายตัวดีกว่าคาด เป็นการตอกย้ำมุมมอง ว่าว่าเศรษฐกิจโลกแนวโน้มฟื้นตัวต่อ ซึ่งท้ายที่สุดไทยก็จะได้อานิสงส์ตามไป ด้วย และสร้าง Sentiment บวกต่อต่อหุ้นกลุ่มส่งออก เช่น TU, MCS, NER, SMT, KCE, SVI
สาเหตุสำคัญ 2 ส่วนข้างต้น เชื่อว่าจะช่วยให้Fund Flow ไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงได้ต่อ และคาดว่าตลาดหุ้นจะมีโอกาสได้ Sentiment บวกจากต่างประเทศตามไปด้วย แต่ใน ระยะกลาง-ยาว ASPS ประเมินว่ายังมีความเสี่ยงอื่นๆที่ต้องค่อยติดตามต่อไป นอกเหนือไปจากความเสี่ยง COVID-19 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์
ความตึงเครียดรัสเซีย-ยูเครน: ความตึงเครียดเริ่มขึ้น หลังรัสเซียเสริมกำลัง ทหารจำนวนมากตามแนวชายแดนติดกับยูเครน และมีการซ้อมรบบริเวณใกล้ ชายแดนมากกว่าปกติ ประเด็นดังกล่าวส่งผลให้นาย Joe Biden ประธานาธิบดีสหรัฐ และนาย Vladimir Putin ประธานาธิบดีรัสเซีย เข้า เจรจาผ่าน VDO Conference ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งผลเจรจา เบื้องต้น ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าควรมีการเจรจากันเพิ่มเติมต่อไป แต่รายละเอียด อื่นๆยังไม่มีความคืบหน้าเพิ่มเติม
ความไม่ลงรอยกันระหว่างสหรัฐกับจีน: วานนี้ สหรัฐประกาศไม่ส่งตัวแทนจาก รัฐบาลเข้าร่วมงานโอลิมปิกฤดูหนาวที่จะจัดขึ้นในวันที่ 4-20 ก.พ. 2565 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เพื่อตอบโต้กรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ซินเจียง โดยการประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังจากที่ทั้ง 2 ประเทศเจรจากันเมื่อช่วง กลางเดือน พ.ย. 2564 ที่ผ่านมาซึ่งท่าทีล่าสุดของสหรัฐที่มีต่อจีน ส่งผลให้บาง ประเทศเริ่มพิจารณาไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมงานด้วยเดินหน้าตาม เช่น ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น เป็นต้น
กระแสการปรามการใช้ Crypto Currency ชำระสินค้าบริการ จากหน่วยงานรัฐ เป็น Sentiment ลบต่อบริษัทจดทะเบียน แต่จำกัด
กระแสการปรามบริษัทจดทะเบียน, ประชาชนในการใช้ Crypto Currency ในการ ชำระค่าสินค้าและบริการ จากหน่วยงานของรัฐที่ยังมีต่อ (ASPS เคยนำเสนอผลกระทบ ไปในบทวิเคราะห์ Market talk วันที่ 2 ธ.ค.64) ล่าสุดเมื่อวาน ท่าทีของธนาคารแห่ง ประเทศไทย เผยว่า 1. ไม่ได้ห้าม แต่มีความเป็นห่วงและกังวลในการนำ CryptoCurrency มาใช้ในการชำระเงินค่าสินค้าและบริการ เนื่องจากมีเรื่องความผันผวนของ ราคาสูงมาก(ดังตาราง) โดยหลัก ธปท. มุ่งเน้นไปที่ให้น้ำหนักไปที่เหรียญบางประเภท เช่น Blank coin ที่ไม่มีสินทรัพย์หนุนหลัง อาจจะเกิดความเสี่ยงในเรื่องของการรักษา มูลค่าของเงิน เห็นได้จากราคา Crypto Currency มี Market cap ใหญ่ที่สุด 5 เหรียญ ในช่วง 7 วันที่ผ่านมาปรับลง และเทียบจากจุดสูงสุดของปีนี้ถึงปัจจุบัน ปรับลงแรง คาดตะประชุมร่วมและหาแนวทางกับ กลต. เพื่อออกมาตรการดูแลในระยะถัดไป 2. ในเรื่องของการลงทุน Crypto Currency ธปท. ประเมินว่า ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของแต่ ละคน
ครม. มีมติคงอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอีก 2 ปี สำหรับปี 2565-66
ที่ประชุม ครม. วานนี้ (7 ธ.ค. 2564) มีมติเห็นชอบการคงอัตราภาษีที่ดิน และสิ่งปลูก สร้างต่อไปอีก 2 ปี สำหรับปีภาษี 2565-2566 โดยให้คงอัตราภาษีแบบเดิมเช่นเดียวกับ ปีภาษี 2563 และ 2564 โดยมีสาระสำคัญได้แก่
1. การประกอบเกษตรกรรม จัดเก็บภาษีในอัตรา 0.01-0.1%
2. ที่อยู่อาศัย จัดเก็บภาษีในอัตรา 0.02-0.1%
3. การใช้ประโยชน์อื่น นอกเหนือจากข้อ 1 และ 2 อัตราภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบัน 0.3-0.7%
4. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยขน์ตามควรแก่สภาพ จัดเก็บในอัตรา 0.3-0.7%
มีมุมมองเป็นกลางต่อประเด็นดังกล่าว เนื่องจากก่อนหน้านี้ทางภาครัฐมีการออก มาตรการเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย โดยลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 90% ของภาระ
ภาษีที่ต้องเสียทั้งหมด ทั้งในกรณีที่ดินเพื่อเกษตรกรรม, ที่ดินที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย, ที่ดิน ที่ใช้ประโยชน์อื่น ๆ รวมถึงที่รกร้างว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ โดยให้เจ้าของหรือ ผู้ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเสียภาษีเพียง 10% เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2563 และ ต่อเนื่องสำหรับรอบปี 2564 ซึ่งจะสิ้นสุดปลายปีนี้ คงต้องติดตามว่าจะมีการขยายเวลา ลดการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างออกไปอีกอย่างน้อย 1 ปี สำหรับปี 2565 หรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าประเด็นดังกล่าว แม้มีการคงภาษีที่ดินเดิม หรือลดการเก็บภาษี ในอัตรา 90% เหมือนเดิม คาดไม่ได้ส่งผลอย่างมีนัยฯ สำหรับกลุ่มอสังหาฯ เพื่อขาย โดยผลที่มีต่อภาคอสังหาฯ เพื่อขาย สามารถแบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้
-
ผู้ประกอบการอสังหาฯ ที่มีภาระในส่วนของที่ดินว่างเปล่าที่ยังไม่ได้พัฒนา ซึ่งมีอัตราจัดเก็บภาษีที่ดิน 0.3% (และเพิ่มขึ้น 0.3% ทุก 3 ปี รวมกันไม่เกิน 3%) กล่าวคือที่ดินเปล่าราคา 1 ล้านบาท มีภาระภาษีปีแรก 3,000 บาท (และ หากได้รับลดหย่อน 90% จะทำให้ภาษีลดลงเหลือ 300 บาท) แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้ประกอบการเกือบทุกราย นอกจากไม่มีนโยบายถือครองที่ดินเปล่า จำนวนมาก ส่วนใหญ่ไม่ถือครองที่ดินเป็นเวลานาน รวมถึงบางรายก็มีการนำ ที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ออกมาขาย เพื่อลดต้นทุนการถือครองและเพิ่มสภาพ คล่องในมือ ทำให้ประเด็นเรื่องภาษีที่ดินจึงไม่มีผลต่อผู้ประกอบการอย่างมีนัย ฯ
-
กลุ่มผู้ซื้อ เนื่องจากการจัดเก็บภาษีที่ดินสำหรับประเภทที่อยู่อาศัยปกติอยู่ใน ระดับต่ำอยู่แล้ว เช่น ในส่วนบ้านหลังแรก (กรณีเป็นทั้งเจ้าของบ้านและที่ดิน) จะถูกเก็บเฉพาะบ้านที่มีราคาสูงเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป เริ่มต้นในอัตรา 0.02% (เช่น บ้านราคา 50 ล้านบาท เสียภาษีที่ดิน 1 หมื่นบาท) และ ในส่วน ผู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 ต้องเสียภาษีในทุกระดับราคา อัตราภาษีเริ่มต้น 0.02% กล่าวคือ บ้าน/คอนโดฯ ราคา 1 ล้านบาท เสียภาษี 200 บาท (หากการลด จัดเก็บลง 90% เสีย 20 บาท) จึงไม่ได้มีนัยฯ ต่อผู้ซื้อเช่นกัน
โดยสรุปในส่วนของธุรกิจอสังหาฯ เพื่อขาย คาดประเด็นเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูก สร้าง ไม่ได้มีผลต่อการเข้าซื้อที่อยู่อาศัย เนื่องจากความต้องการที่อยู่อาศัยสำหรับทั้ง บ้านหลังที่ 1 และ 2 โดยเฉพาะคอนโดฯ ซึ่งถูกมองเป็นบ้านหลังที่ 2 ยังมีปัจจัยอื่นที่ สำคัญกว่าในการนำมาพิจารณา อาทิเช่น มาตรการ LTV ที่ผ่อนคลายลง, กำลังซื้อของ ผู้บริโภค รวมถึงการปล่อยสินเชื่อของแบงค์ มีผลสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย
คงแนะนำลงทุนเท่ากับตลาดสำหรับกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย เชื่อว่าการดำเนินงานผ่าน พ้นจุดต่ำสุดใน 3Q64 ก่อนฟื้นตัวขึ้นใน 4Q64 หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายดีขึ้น นำไปสู่การผ่อนคลายมาตรการ Lockdown จนกระทั่งการเปิดเมือง และเปิดประเทศ ย่อมเอื้อต่อภาพรวมในทุกธุรกิจ ตั้งแต่ธุรกิจพัฒนาอสังหาฯ เพื่อขาย สะท้อนจาก ยอดขายเดือน ต.ค. ของแต่ละบริษัทฟื้นตัวชัดเจนรายเดือน และสู่ระดับปกติเหมือน เฉลี่ย 1H64 ประกอบกับแผนเปิดโครงการใหม่ที่จะมีมากขึ้น โดยเฉพาะแนวราบ ซึ่ง บางส่วนสามารถขายและโอนฯ ทันในไตรมาสเดียวกับ กอปรกับการส่งมอบคอนโดฯ ใหม่ที่มีต่อเนื่องตั้งแต่ 3Q-4Q64 นอกจากนี้การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายส่งท้ายของ ปี รวมถึงโค้งสุดท้ายของมาตรการลดค่าธรรมเนียมโอนฯ และจดจำนองเหลืออย่างละ 0.01% สำหรับมูลค่าที่อยู่อาศัยไม่เกิน 3 ล้านบาท ภายในสิ้นปี 2564 (ยังไม่สรุปชัดเจน ว่าจะมีการต่ออายุมาตรการหรือไม่) และการปลดล็อกมาตรการ LTV ของแบงค์ชาติ เป็น 100% สำหรับที่อยู่อาศัยทุกกลุ่มตั้งแต่ 20 ต.ค. 2564 ล้วนเป็นแรงกระตุ้นต่อผล ประกอบการ 4Q64 มีโอกาสทำจุดสูงสุดของปี เลือกหุ้นเด่นที่มีพื้นฐานดี, พอร์ตสินค้ามีการกระจายแนวราบและคอนโดฯ, แนวโน้ม กำไรปี 2565 เติบโตต่อเนื่อง และปันผลน่าสนใจ ได้แก่ AP (FV@B11.50), SC (FV@B4.30), SPALI (FV@B26.90), LH (FV@B10.10) และ ORI (FV@B13.00)
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities