นักลงทุนในตลาดพันธบัตรพากันเทขายพันธบัตรรัฐบาล จนทำให้อัตราผลตอบแทนฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น พฤติกรรมครั้งนี้เป็นสัญญาณบอกว่านักลงทุนไม่เชื่อคำลวงของธนาคารกลาง ที่เอาแต่พร่ำบอกว่าภาวะเงินเฟ้อเป็นเรื่องชั่วคราว และต้องการให้ธนาคารกลางดำเนินการเปลี่ยนนโยบายการเงินอย่างรวดเร็ว เพื่อลดผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบัน
เมื่อธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ตัดสินใจไม่คุมเข้มระดับเป้าหมายของตัวเองอีกต่อไป จึงทำให้สัปดาห์ที่แล้วนักลงทุนได้เทขายพันธบัตรรัฐบาลออสเตรเลียทิ้ง จนทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลออสเตรเลียที่จะส่งมอบในเดือนเมษายนปี 2024 ขึ้นยืนเหนือ 0.8% ซึ่งตัวเลขนี้ถือว่าสูงกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางออสเตรเลียที่ 0.1%
ในขณะเดียวกันที่ทวีปยุโรป อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมันอายุ 10 ปีซึ่งเป็นมาตรวัดหลักของยูโรโซน ทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุดในรอบสองปีครึ่ง สร้างจุดสูงสุดที่ระดับติดลบ 0.07% เทียบกับตัวเลขติดลบ 0.5% ในช่วงกลางเดือนสิงหาคม อนึ่ง ก่อนหน้านี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมันฯ เคยปรับตัวขึ้นสู่ระดับติดลบ 0.1% ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่เงินเฟ้อกำลังร้อนแรง
ทันทีที่นางสาวคริสตีน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางแห่งยุโรป (ECB) แสดงท่าทีเมินเฉยต่อภาวะเงินเฟ้อในยุโรป และจะปล่อยให้โครงการเงินชดเชยโรคระบาด (PEPP) หมดอายุไปเองในเดือนมีนาคมปี 2022 โดยจะไม่มีการต่ออายุ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีและฝรั่งเศสก็ทะยานสูงขึ้นมากกว่าที่เคยเป็น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีอายุ 10 ปีสามารถขึ้นยืนเหนือ 1.2% จากเดิม 1% ในสัปดาห์ที่แล้ว และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสเปนอายุ 10 ปีสามารถทะยานขึ้นแตะ 0.6% ทั้งๆ ที่สัปดาห์ที่แล้วเคยลงต่ำกว่า 0.5%
สถานการณ์ทางการเมืองของอิตาลีกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอน นายมาริโอ้ ดรากิ อดีตประธานธนาคารกลางยุโรป และเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของอิตาลีใกล้จะชนะโหวตจากสภา ให้ได้เป็นผู้นำในการทำพิธีสำคัญๆ ต่างๆ ของประเทศ แต่นั่นจะต้องทำให้ต้องเลือกผู้นำของรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งคำถามก็คือใครจะสามารถเป็นคนรวมพรรคอื่นๆ ที่มีความเห็นไม่ตรงกันให้สามารถมาทำงานร่วมกันได้ แต่ถ้ามาริโอ้เลือกที่จะไม่เป็นผู้รับผิดชอบการทำพิธีกรรมใหญ่ๆ นายเซอจิโอ้ มาตาเรร่า ก็พร้อมที่จะเสียบตำแหน่งของดรากี และนั่นก็จะนำมาซึ่งปัญหาอีกรูปแบบหนึ่ง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ผันผวนเพราะตลาดยังเลือกไม่ได้ว่าจะกังวลเรื่องการเติบโตชะลอตัวหรือภาวะเงินเฟ้อดี กราฟอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 2 ปีปรับตัวขึ้นยืนเหนือ 0.5% เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สร้างสถิติจุดสูงสุดนับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด ทั้งๆ ที่ในเดือนสิงหาคมกราฟตัวนี้ยังเคยวิ่งอยู่ต่ำกว่า 0.2%
ในขณะเดียวกัน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีสามารถกลับขึ้นมายืนเหนือ 1.6% ได้อีกครั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้เคยวิ่งอยู่ที่ 1.3% ในเดือนกันยายนและ 1.2% ในเดือนสิงหาคม สาเหตุที่อัตราผลตอบแทนฯ เกิดการผันผวนเช่นนี้เป็นเพราะความกังวลของตลาดลงทุนที่มีต่อภาวะเงินเฟ้อ พวกเขาห่วงว่าเงินเฟ้อที่มีจะชะลอการเติบโตของตลาดแรงงานฯ
นักวิเคราะห์ประเมินว่านักลงทุนในตลาดสหรัฐฯ ตอนนี้กำลังหมดความอดทนกับการยื้อเวลาลดวงเงิน QE ของธนาคารกลาง เพราะยิ่งธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ยิ่งมีแต่ทำใ้ห้ภาวะเงินเฟ้อรุนแรงขึ้น ที่สำคัญ พวกเขายังมีตัวอย่างเปรียบเทียบเป็นธนาคารกลางของประเทศเพื่อนบ้านอย่างแคนาดา ที่ประกาศหยุดการใช้เงินเยียวยา QE ไปแล้ว และมีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้เร็วที่สุดคือเดือนเมษายนปี 2022
อย่างไรก็ตามสาเหตุที่อัตราผลตอบแทนฯ ยังวิ่งขึ้นลงกลับไปกลับมาเช่นนี้เพราะนักลงทุนบางส่วนยังเห็นด้วยกับสิ่งที่ธนาคารกลางใหญ่ๆ ทำ บางกลุ่มมองว่าเฟดและอีซีบีใจดีเกินไป ในขณะที่บางส่วนมองว่าอีกไม่นานธนาคารกลางฯ ทั้งสองต้องทนไม่ได้และตัดสินใจปรับลดวงเงิน QE อย่างเช่นที่ธนาคารกลางออสเตรเลียและแคนาดาทำ ทั้งนี้ทั้งนั้น หลายฝ่ายก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไมถึงยังมีคนมองว่าสิ่งที่เฟดและอีซีบีทำเป็นสิ่งที่ดี เพราะการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนก็สร้างผลกระทบเชิงลบให้พอร์ตนักลงทุนพันธบัตรรัฐบาลเช่นกัน
ในมุมมองของนักวิเคราะห์ พวกเขามีความเห็นว่าการที่เส้นความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนระยะสั้นและระยะยาว (yield curve) ไม่เป็นไปตามที่นักลงทุนคาดการณ์ สร้างความประหลาดใจอยู่พอสมควร โดยปกติแล้วเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวควรจะปรับตัวขึ้นเมื่อเฟดจะลดวงเงินการทำ QE แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นกลับสามารถยืนเหนือเส้นระยะยาวแทน