🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

SET Index สร้างฐานแข็งแกร่งเหนือ 1600 จุด

เผยแพร่ 30/09/2564 09:05
SETI
-
KBANK
-

SET Index สร้างฐานแข็งแกร่งเหนือ 1600 จุด Top Pick เลือก DOHOME, KCE, KBANK (BK:KBANK)

กนง.วานนี้มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% ตามเดิม พร้อมกันนี้ได้ ปรับลดประมาณการ GDP Growth ปี 2564 ลงมาอยู่ที่ 0.7% โดยสะท้อน ภาพรวมเศรษฐกิจว่าได้ผ่านจุดต่ำสุดและกำลังฟื้นตัว สถานะดังกล่าวถือว่า เป็นบวกต่อหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ซึ่งปัจจุบันถือว่ามีValuation อยู่ใน เกณฑ์ที่น่าสนใจ สำหรับประเด็นแวดล้อมอื่นที่น่าติดตามมากที่สุดได้แก่ค่าเงิน บาทที่ยังมีมีแนวโน้มอ่อนค่ามากกว่าทึ่คาดโดยล่าสุดอยู่ที่ 33.94 บาท/USD ซึ่งในภาวะดังกล่าวในทางเศรษฐกิจถือว่าเป็นบวกต่อภาคการส่งออก แต่ สำหรับตลาดหุ้นแล้วทำให้โอกาสที่จะเห็นการไหลเข้าของ Fund Flow จาก ต่างประเทศมีน้อยลง ส่วนสถานการณ์ Covid-19 มีพัฒนาการที่ดีขึ้นต่อเนื่อง

SET Index น่าจะผันผวนสร้างฐานช่วง 1605 – 1630 จุด พอร์ตจำลองวันนี้ ไม่มีการปรับเปลี่ยน โดยเห็นว่ามีการกระจายตัวของหุ้นรองรับทิศทางของ ตลาดในอนาคตไว้แล้ว หุ้น Top Pick เลือก DOHOME, KCE และ KBANK

ตลาดหุ้นโลกยังผันผวน Dollar แข็งค่าต่อ ติดตามการผ่านงบประมาณสหรัฐ

สินทรัพย์เสี่ยงยังผันผวน โดยสัปดาห์นี้ตลาดยังให้น้ำหนักกับ - ความคาดหวังการใช้นโยบายการเงินตึงตัวของสหรัฐ(Fed) หลังจากกระแสเงินเฟ้อโลกมี ทิศทางเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง เนื่องจากราคา Commodity ยังปรับขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุด ราคา ถ่านหินโลกทำ All Time High ฯลฯ - ปลายสัปดาห์นี้ยังต้องติดตาม 1.) การโหวตร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราว โดย ล่าสุด เมื่อเช้ามืดได้ผ่านสภาล่างไปแล้ว รอการพิจารณาในชั้นวุฒิสภา หากผ่านซึ่งจะทำให้ รัฐบาลสหรัฐมีงบประมาณใช้จ่ายจนถึงวันที่ 3 ธ.ค.64 หากไม่ผ่านหรือยืดเยื้อจะถือเป็น ความเสี่ยงทำให้เกิดการหยุดทำการของรัฐบาลสหรัฐ (US Government Shutdown) เพราะ Deadline คือ วันนี้ 30 ก.ย. วันสุดท้ายของปีงบประมาณ 2.) การขยายเพดานหนี้ สาธารณะของสหรัฐ ปัจจุบันหนี้สาธารณะของสหรัฐมีจำนวน 28.43 ล้านล้านเหรียญ หรือราว 132%ต่อ GDP และ สูงกว่าเพดานหนี้สาธารณะ (Debt Limit) ที่ 28.4 ล้านล้าน เหรียญ หากสภาไม่สามารถผ่านการขยายเพดานหนี้ รัฐบาลกลางสหรัฐอาจขาดเงินสด อาจจะทำให้มีความเสี่ยงที่สหรัฐอาจผิดนัดชำระหนี้

ทั้งนี้ ในส่วนของตลาดหุ้น ASPS ประเมินจากข้อมูลย้อนหลังของการเกิด Government Shutdown ในอดีต 4 ครั้งที่ผ่านมา (1-10 ต.ค. 2556, 20-23 ม.ค. 2561, 9 ก.พ. 2561 และ 22 ธ.ค. 2561 – 25 ม.ค. 2562) พบว่าเฉลี่ยแล้ว ตลาดหุ้น สหรัฐตอบสนองเชิงลบ โดยยิ่งเข้าใกล้วัน Shutdownตลาดหุ้นก็จะถูกกดันมากขึ้นด้วย ก่อนที่จะกลับมาฟื้นได้ ภายหลัง Shutdown สิ้นสุด ส่วนตลาดหุ้นไทยตอบสนองใน ลักษณะเดียวกัน แต่ในสัดส่วนที่ต่ำกว่า เพราะถูกประเมินเป็นประเด็นจากต่างประเทศ ขณะที่กรณีสหรัฐเป็นประเด็นในประเทศ

โดยรวมประเมินความผันผวนจากต่างประเทศดังกล่าว น่าจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของ สินทรัพย์เสี่ยง และทำให้เงินยังไหลเข้าสู่สกุล Dollar Index ล่าสุดอยู่ที่ 94 จุด ทำให้ สกุลเงินอื่นในเชิงเปรียบเทียบอ่อนค่า มีผลต่อการไหลเข้าของ Fund Flow มีผลต่อ SET Index ในวันนี้

กนง. คงอัตราดอกเบี้ยตามคาด สะท้อนทิศทางดอกเบี้ย Bottomed Out

ผลการประชุม กนง. วานนี้ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0.50% ตาม ตลาดคาด แต่ประเด็นที่แตกกับที่ตลาดคาดคือ ครั้งนี้ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ซึ่งต่าง จากครั้งก่อนหน้าที่มีมติด้วยเสียงข้างมาก 4 ต่อ 2 (กรรมการ 1 ท่าน ลาประชุม) ส่วนด้านประมาณการเศรษฐกิจ กนง. คงประมาณการ GDP ปี 2564 ไว้ที่ 0.7%yoy (เทียบกับประมาณการ ส.ค. 2564 แต่หากเทียบกับประมาณการ มิ.ย. 2564 ที่คาด 1.8% จะเป็นการปรับลง) แต่สำหรับ 2565 ปรับเพิ่มเป็น 3.9% จาก 3.7% (เทียบกับ ประมาณการ ส.ค. 2564 แต่หากเทียบกับประมาณการ มิ.ย. 2564 ที่คาด 3.9% จะ เป็นการคงไว้), ส่วนอัตราเงินเฟ้อปี 2564 ปรับลงเหลือ 1% จากเดิม 1.2% (ประมาณ การ มิ.ย. 2564)และปี 2565 ปรับเพิ่มเป็น 1.4% จาก 1.2% (ประมาณการ มิ.ย. 2564)

ทั้งนี้ ASPS ประเมินจากการคงอัตราดอกเบี้ยด้วยมติเอกฉันท์ และการคงประมาณ เศรษฐกิจปี 2564 พร้อมๆกับปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจปี 2564 เป็นการส่ง สัญญาณว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะผ่านพ้นจุดต่ำสุดแล้ว (Bottomed Out) ซึ่งจะส่งผลให้ อัตราดอกเบี้ยของไทยน่าจะใกล้ Bottomed Out ตามไปด้วยเช่นเดียวกัน หนุนให้ เศรษฐกิจ และอัตราดอกเบี้ยของไทยมี Downside จำกัดมากขึ้น โดยในระยะกลาง-ยาว ASPS เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะมีแนวโน้มกลับมาฟื้นตัว และอัตรา ดอกเบี้ยจะเริ่มขยับขึ้นได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อหุ้นกลุ่มต่างๆในระยะต่อไป เช่น กลุ่ม ธนาคาร, กลุ่มประกัน, กลุ่มที่ได้ประโยชน์หาก Fund Flow ไหลเข้า, และกลุ่มที่ได้ ประโยชน์จากเงินบาทชะลอการอ่อนค่า

บาทอ่อนค่าเร็วใกล้แตะ 34 บาท/เหรียญ กดดัน Fund Flow ชะไหลเข้า ชอบ KCE

กระแสทิศทางเงินบาทอ่อนค่าเร็ว ล่าสุดเช้าอยู่ที่ 33.95 บาท/ดอลลาร์ (สูงสุดในรอบ 4 ปี) โดยตลอดทั้งเดือนนี้ (Mtd) อ่อนค่ารวมกันแล้ว 5.2% สูงกว่าสมมติฐานฝ่ายวิจัย คาดปี 64 ที่ 32 บาท และยังมีแนวโน้มอ่อนค่าพิจารณาจาก ทั้งจากทาง Technical ที่แนวโน้มยังเป็นขาขึ้นอย่างชัดเจน หลังจากผ่านแนวต้าน สำคัญ 33.5 บาท ยังมีพื้นที่ขยับขึ้นได้อีกมาก ขณะที่กรอบแนวต้านสำคัญอยู่บริเวณ เดียวกับช่วง Tapering QE ปี 2556 ที่ 36.5 บาท/ดอลลาร์

ทาง Fundamental : มี 3 ปัจจัยหลักๆ ที่กดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าแรงต่อ 1) ความ กังวล Fed จะส่งสัญญาณลดระดับ QE ใกล้เข้ามา 2) การดำเนินนโยบายการเงินของ ประเทศต่างๆ เริ่มสวนทางกัน อาทิ สหรัฐ ยุโรป เริ่มทยอยใช้นโยบายการเงินตึงตัวมาก ขึ้น ตรงข้ามกับประเทศในแถบเอเชียรวมถึงไทย ที่ยังจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงิน แบบผ่อนคลายต่อ 3) ประเด็นน้ำท่วมในประเทศยังต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง โดยรวมแนวโน้มเงินบาทที่อ่อนค่าส่งผลกระทบต่อ Fund Flow ชะลอไหลเข้าตลาด หุ้น เนื่องจากนักลงทุนมีโอกาสขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น และยังสอดคล้อง กับสถิติในอดีต คือ เวลาค่าเงินบาทที่อ่อนค่าทุกๆ 1% มักจะกดดันให้ Fund Flow ไหล ออกจากหุ้นไทยเฉลี่ยราว 6.9 พันล้านบาท

ฝ่ายวิจัย ASPS ประเมิน ทุกๆ บาทอ่อนค่าลงมากกว่าสมมุติฐาน 1 บาท/ดอลลาร์ ช่วยหนุนให้หุ้นกลุ่มส่งออกชิ้นส่วน,อาหาร, รับเหมาฯ และวัสดุก่อสร้าง มีกำไรเพิ่มขึ้น ราว 5.8% 4.8% 3%-9% ตามลำดับ

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย