แม้ว่ารายงานตัวเลขผลสำรวจภาคการผลิตจากเอ็มไพร์ สเตตจะปรับตัวขึ้น แต่ดอลลาร์สหรัฐยังอ่อนค่าต่อเนื่องเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ รายงานดังกล่าวระบุว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนิวยอร์กในเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นจาก 18.3 จุดเป็น 34.3 จุด ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจนี้วัดจากยอดคำสั่งซื้อใหม่จากโรงงาน การจ้างงาน และการส่งออกสินค้า เป็นต้น
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐอเมริกาในวันนี้นอกจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก นักลงจะให้ความสนใจกับรายงานตัวเลขยอดค้าปลีกเป็นพิเศษ ตลาดลงทุนเชื่อว่าตัวเลขค้าปลีกจะส่งผลกระทบต่อการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ของสหรัฐฯ ในสัปดาห์หน้า รวมไปถึงอนาคตของสกุลเงินดอลลาร์ที่กำลังอ่อนค่าอยู่ในขณะนี้ด้วย นักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่าตัวเลขยอดค้าปลีกวันนี้จะหดตัวลดลงเป็นครั้งที่สามจากสี่ครั้งล่าสุด การขาดแคลนชิปประมวลผลจนทำให้รถยนต์ผลิตได้ช้าในเดือนกรกฎาคม และสินค้าสั่งซื้อจากวัน “Amazon Prime Day” ที่ยังไม่สามารถจัดส่งได้ตามความต้องการทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจลดการจับจ่ายใช้สอยลง
อย่างไรก็ตามช่วงเวลาก่อนกลับมาเปิดภาคเรียนในสหรัฐอเมริกาและช่วงท้ายของวันหยุดหน้าร้อนก็ทำให้ตัวเลขการจับจ่ายใช้สอยกลับมาเพิ่มขึ้นกว่าที่คาดการณ์ ผลสำรวจจาก Johnson Redbook ในรูปประกอบนี้ทำให้เราได้เห็นยอดค้าปลีกในเดือนสิงหาคมที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม
การที่เมื่อคืนนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีฟื้นตัวกลับมาได้เป็นสัญญาณบ่งบอกว่านักลงทุนบางกลุ่มยังมีหวังที่จะได้เห็นเฟดประกาศลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ภายในเดือนนี้ นักลงทุนสามารถสังเกตความไม่ยอมแพ้ของตลาดได้จากกราฟ EUR/USD และ AUD/USD ที่ไม่ได้วิ่งไปไหนไกลกว่าช่วงก่อนประกาศตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ถ้าหากวันนี้ตัวเลขยอดค้าปลีกสร้างเซอร์ไพรส์ด้วยการขยายตัวเพิ่มขึ้น สกุลเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ทุกตัว
ในทางกลับกัน หากว่าสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์นั้นถูกต้อง ตัวเลขการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคหดตัวเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน ความคาดหวังที่จะได้เห็นเฟดประกาศเริ่มลดวงเงิน QE ภายในเดือนนี้จะหมดลงอย่างรวดเร็ว และจะส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าต่อเนื่อง หากดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า สกุลเงินที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดคือปอนด์ ดอลลาร์แคนาดาและดอลลาร์นิวซีแลนด์ เมื่อคืนนี้ดอลลาร์แคนาดาพึ่งจะเป็นสกุลเงินที่แข็งค่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ เพราะราคาน้ำมันดิบสามารถปรับตัวขึ้นได้ 2% และดัชนีราคาผู้บริโภคของแคนาดาที่ออกมาดี
นอกจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เมื่อเช้านี้ประเทศนิวซีแลนด์พึ่งมีการประกาศตัวเลข GDP แบบไตรมาสต่อไตรมาสออกมา ช่วงไตรมาสที่สองถือเป็นช่วงเวลาที่ดีของตลาดลงทุน และเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับประเทศที่มีมาตรการควบคุมโควิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นิวซีแลนด์ก็เป็นหนึ่งในนั้น จึงไม่ต้องแปลกใจที่เมื่อเช้านี้เราจะได้เห็นตัวเลข GDP เพิ่มขึ้น 2.8% สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ และตัวเลขที่รายงานไปครั้งก่อน อย่างไรก็ตาม ตอนนี้นิวซีแลนด์ได้กลับเข้าสู่สภาวะล็อกดาวน์อีกครั้ง จึงสามารถคาดการณ์ได้เลยว่าการเติบโตของตัวเลข GDP ในไตรมาสที่สามจะไม่ออกมาสวยงามเช่นตัวเลขเมื่อเช้านี้แน่นอน
การรายงานตัวเลขในตลาดแรงงานของออสเตรเลียวันนี้เป็นไปตามที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ การถูกสั่งให้อยู่แต่ภายในบ้านจากมาตรการคุมเข้มทางสังคมหมายความว่าจะต้องมีจำนวนตำแหน่งงานว่างเพิ่มมากขึ้น ตัวเลขตำแหน่งงานว่างที่ประกาศออกมาในช่วงเวลา 08:30 น. ตามเวลาประเทศไทยปรากฎว่าหดตัวลดลงมากถึง -146,300 ตำแหน่ง เทียบกับตัวเลขคาดการณ์ -90,000 ตำแหน่ง นี่คือตัวเลขตำแหน่งงานว่างที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่แล้ว
อย่างไรก็ตามตัวเลขอัตราการว่างงานกลับลดลงจาก 4.6% ของครั้งก่อนลงมาเป็น 4.5% จริงอยู่ว่าการฉีดวัคซีนอย่างต่อเนื่องช่วยให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันมากยิ่งขึ้น แต่การระดมฉีดวัคซีนก็ไม่สามารถชุบชีวิตงานหรือธุรกิจที่ต้องจากไปเพราะวิกฤตโควิดได้อีกแล้ว และถ้าไม่ใช่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องหรือต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเป็นหลัก ก็แทบจะไม่มีใครอยากลงทุนเปิดกิจการใหม่ในช่วงเวลาแบบนี้ ซึ่งหมายความว่านักลงทุนยังจะต้องเห็นตัวเลขตลาดแรงงานที่อ่อนแอ และผันผวนเช่นนี้ไปอีกสักระยะ