รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

บทวิเคราะห์ราคาทองคำ ภาคเช้า ทองคำยืนเหนือ $1,800 หลังเผยเลข CPI

เผยแพร่ 15/09/2564 09:37
อัพเดท 09/07/2566 17:32

สรุป ราคาทองคําวานนี้ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 10.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แม้ในช่วงต้นวัน ราคาทองคําจะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดัชนีดอลลาร์ซึ่งส่งผลให้ราคาร่วงลงทดสอบระดับต่ำสุด บริเวณ 1,782.00 ติอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ราคาทองคําฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในเวลาต่อมา หลังจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ปรับตัวขึ้นเพียง 0.35% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ต่ํากว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.4% เมื่อเทียบรายปี ดัชนี CPI ปรับตัวขึ้น 5.3% ในเดือนส.ค. ต่ํากว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.4% ส่วน ดัชนี CPI พื้นฐานปรับตัวขึ้นเพียง 0.1% ในเดือนส.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ต่ํากว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.3% เมื่อเทียบรายปี ดัชนี CPI พื้นฐานดีดตัวขึ้น 4.0% ในเดือนส.ค. ต่ํากว่าที่ นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 4.29% ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนว่า “อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอาจผ่านพ้นจุดสูงสุดไปแล้ว" ซึ่งนั่น “บั่นทอน” แนวโน้มที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)จะเร่งปรับลด วงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ส่งผลให้ดัชนีดอลลาร์สิตช่วงบวกจากระดับสูงสุดในระหว่างวัน ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ร่วงลงสู่ระดับ 1.2534% ต่ําสุดนับตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค.จนเป็นปัจจัยหนุนให้ราคาทองคําทะยานขึ้นกว่า 26 ดอลลาร์ต่อออนซ์จากระดับต่ําสุดสู่ระดับสูงสุดบริเวณ 1,808.63 ตอลลาร์ต่อออนซ์ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองคําไม่เปลี่ยนแปลง สําหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม(Empire State Index), การผลิตภาคอุตสาหกรรม และอัตราการใช้กําลังการผลิตของ สหรัฐ

ระยะสั้นราคาทองคำยังมีลุ้นดีดขึ้นทดสอบแนวต้าน หากราคาสามารถรักษาระดับได้ แต่เมื่อราคาปรับตัว ขึ้นอาจมีแรงขายทำกำไรสลับออกมาเพิ่มขึ้น ซึ่งหากไม่สามารถผ่านแนวต้านที่ 1,809-1,816 ดอลลาร์ต่อ ออนซ์ได้โดยราคาอาจปรับตัวลงทดสอบแนวรับที่ 1,789-1,775 ดอลลาร์ต่อออนซ์เพื่อสร้างฐานราคา

คําแนะนํา เก็งกําไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว หากราคา ไม่สามารถทะลุแนวต้านด้านบนโซน 1,809-1,816 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ให้เปิดสถานะขายทํากําไร และปิด สถานะขายทํากําไรหากราคายืนเหนือโซน 1,789-1,775 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ดูกราฟราคาทองคำ SPOT XAU/USD

https://th.investing.com/currencies/xau-usd

กระทู้พูดคุยเกี่ยวกับราคาทองคำ SPOT

https://th.investing.com/currencies/xau-usd-commentary

บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 02-687-9888 กด 1 หรือเว็บไซต์ ylgbullion.co.th

ความคิดเห็นล่าสุด

รอวิเคาะเรื่อยๆนะค่ะ
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย