เดือนกันยายนถือได้ว่าเป็นอีกเดือนหนึ่งที่ปราบเซียนนักลงทุนมานักต่อนัก การวิ่งของตลาดในเดือนนี้จะถูกกำหนดโดยการประกาศอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง และตัวเลขเกี่ยวกับตลาดแรงงาน แม้ในสัปดาห์นี้จะไม่มีการประกาศเกี่ยวกับนโยบายการเงิน แต่รายงานตัวเลขเงินเฟ้อและการใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรจะส่งผลต่อการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ และอังกฤษในสัปดาห์หน้า
ที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ เชื่อมาโดยตลอดว่าภาวะเงินเฟ้อเป็นเพียงเรื่องชั่วคราว ทั้งๆ ที่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่เป็นหนึ่งในมาตรวัดเงินเฟ้อของเฟดยังคงอยู่ในระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2008 ในทุกๆ ครั้งที่มีการรายงานตัวเลข CPI ความเชื่อมั่นของธนาคารกลางที่สวนทางกับตลาดหุ้นวอลล์สตรีทคือสิ่งที่กดดันตลาดหุ้น และพร้อมทำให้ตลาดพังลงมาได้ง่าย นอกจากดัชนีราคาผู้บริโภค ในวันพฤหัสบดีก็จะมีการรายงานตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ นักลงทุนควรให้ความสนใจว่าตัวเลขดังกล่าวจะออกมาหดตัวลดลงเหมือนกับตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรหรือไม่ หากตัวเลขยอดค้าปลีกหดตัวเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน นักลงทุนในตลาดจะยิ่งคาดหวังให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ รีบประกาศลดวงเงิน QE ภายในการประชุมสัปดาห์หรืออย่างช้าไม่เกินเดือนกันยายน
ที่สหราชอาณาจักรวันนี้ได้รายงานตัวเลขการว่างงานและจำนวนคนว่างงานที่ใช้สิทธิประโยชน์จากการว่างงานไปแล้วในช่วง 13:00 น. ตามเวลาประเทศไทย แม้ว่าอัตราการว่างงานจะคงที่อยู่ ณ 4.6% แต่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการฯ กลับเพิ่มขึ้นเป็น -58.6K เทียบกับตัวเลขครั้งก่อน - 7.8K ไม่ได้เพิ่มขึ้นตามตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตและบริการ
ก่อนหน้าที่จะมีการรายงานตัวเลขของตลาดแรงงาน นักวิเคราะห์หวังว่าหากตัวเลขในตลาดแรงงานออกมาดี จะช่วยทำให้ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) เพิ่มมาตรเกี่ยวกับการลดวงเงิน QE ผลสำรวจจากรอยเตอร์ระบุว่านักเศรษฐศาสตร์หวังให้ BoE รีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่ากำหนดการณ์เดิมที่เคยวางเอาไว้ พร้อมทั้งยังหวังว่ารัฐบาลจะรีบยกเลิกมาตรการควบคุมทั้งหมดเกี่ยวกับโควิดออกไป ซึ่งจะช่วยให้การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นเป็น 2.5% และไตรมาสถัดไปเป็น 1.5% อนึ่ง ในวันพรุ่งนี้สหราชอาณาจักรจะมีการรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค และจะมีการรายงานต้วเลขยอดค้าปลีกในวันศุกร์
นอกจากสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร การรายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจของประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ก็น่าสนใจเช่นกัน แคนาดาจะมีการรายงานตัวเลขเกี่ยวกับเงินเฟ้อ ออสเตรเลียจะมีการรายงานเกี่ยวกับการจ้างงาน และนิวซีแลนด์จะมีการรายงานตัวเลข GDP เมื่อวานนี้สกุลเงินของทั้งสามประเทศอย่าง CAD AUD และ NZD ต่างพากันปรับตัวขึ้น แม้ภาพรวมสถานการณ์โควิดจะยังไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
รัฐควีนส์แลนด์ซึ่งเป็นที่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่มากแห่งหนึ่งของออสเตรเลีย และยังเป็นที่ตั้งของนครซิดนีย์ต้องเจอกับการล็อกดาวน์อีกครั้งเมื่อมียอดผู้ติดเชื้อระลอกใหม่เกิดขึ้น เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานว่ายอดผู้ติดเชื้อใหม่รายวันสร้างจุดสูงสุดใหม่อีกครั้งหนึ่ง หลายๆ เมืองต้องตกอยู่ภายใต้คำสั่งห้ามออกจากบ้านมาเป็นเวลานานกว่าสองเดือนแล้ว แน่นอนว่าผลกระทบจากมาตรการคุมเข้มทางสังคม เราจะได้เห็นกันผ่านตัวเลขเกี่ยวกับตลาดแรงงานในสัปดาห์นี้ ซึ่งสามารถคาดการณ์ได้เลยว่าตัวเลขการตกงานอาจจะเพิ่มขึ้น
ที่นิวซีแลนด์ นางจาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีหญิงของนิวซีแลนด์ยืดระยะเวลาการล็อกดาวน์เมืองโอ๊คแลนด์ออกไปจนถึงวันที่ 21 กันยายน เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น การรายงานตัวเลข GDP ในไตรมาสที่สองของนิวซีแลนด์น่าจะออกมาดี ในขณะที่ตัวเลข PMI ภาคการผลิตของนิวซีแลนด์อาจจะเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวจากการล็อกดาวน์ ดอลลาร์แคนาดาแข็งค่าขึ้นเพราะราคาน้ำมันสามารถขยับตัวขึ้นยืนเหนือ $70 ต่อบาร์เรลได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน ตัวเลขการจ้างงานของแคนาดาเมื่อวันศุกร์ถือว่าออกมาดีที่เดียว และอัตราเงินเฟ้อของแคนาดาก็ยังถือว่าไม่สูงมากนัก
ข่าวเศรษฐกิจทั้งสิบที่นักลงทุนควรจับตามองประจำสัปดาห์มีดังนี้
วันอังคาร
(สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลขการจ้างงาน
(สหรัฐฯ) ดัชนีราคาผู้บริโภค
วันพุธ
(ประเทศจีน) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีกและผลผลิตจากภาคอุตสาหกรรม
(สหราชอาณาจักร) ดัชนีราคาผู้บริโภค
(แคนาดา) ดัชนีราคาผู้บริโภค
วันพฤหัสบดี
(นิวซีแลนด์) รายงานตัวเลข GDP ในไตรมาสที่สอง
(ออสเตรเลีย) รายงานตัวเลขการจ้างงาน
(สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีก
วันศุกร์
(สหราชอาณาจักร) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีก
(สหรัฐฯ) ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจากมหาลัยมิชิแกน