รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

2 กองทุน ETF สำหรับนักลงทุนในตลาดสกุลเงิน

เผยแพร่ 03/09/2564 17:33
อัพเดท 02/09/2563 13:05

ธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศเคยกล่าวเอาไว้ในปี 2019 ดังนี้

“ในปีเดือนเมษายนปี 2019 มูลค่าการซื้อขายในตลาดสกุลเงิน (ฟอเร็กซ์) ต่อวันเคยทำสถิติสูงสุดอยู่ที่ $6.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก $5.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐของปี 2016 ดอลลาร์สหรัฐยังคงเป็นสกุลเงินที่มีคนซื้อขายและถือครองกันมากที่สุด คิดเป็น 88% ของการซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินในตลาด ในเดือนเมษายนปี 2019 ธนาคารของประเทศใหญ่ๆ อย่างเช่นสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง สิงคโปร์ และญี่ปุ่นอนุญาตให้มีการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน 79% ของจำนวนสกุลเงินทั้งหมดที่โลกมี”

จากข้อความนี้เราจะเห็นว่าตลาดสกุลเงินถือเป็นอีกหนึ่งตลาดที่มีส่วนสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกใบนี้ นอกจากสกุลเงินจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางการแลกเปลี่ยนแล้ว นักลงทุนยังใช้สกุลเงินในฐานะสินทรัพย์สำรองปลอดภัยด้วยเช่นดอลลาร์สหรัฐ เยน ยูโร เป็นต้น ในบทความนี้เราจะพาไปดูกองทุน ETF ที่เน้นลงทุนกับตลาดสกุลเงินเป็นหลัก

1. Invesco DB US Dollar Index Bullish Fund

- ระดับราคาปัจจุบัน: $24.78
- กรอบการวิ่งของราคาในรอบ 52 สัปดาห์: $24.09 - $25.60
- อัตราค่าใช้จ่ายต่อการดำเนินงาน: 0.76% ต่อปี

หากคุณเป็นคนถือคติว่า “ดอลลาร์สหรัฐคือทุกสิ่ง” นี่คือกองทุนที่เกิดมาเพื่อคุณ ในปี 1973 ธนาคารกลางสหรัฐได้สร้างสิ่งที่เรียกว่า “ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ” (Dollar Index) เพื่อใช้วัดมูลค่าของสกุลเงินนี้โดยเฉพาะ และค่าเริ่มต้นของดัชนีตัวนี้เริ่มต้นที่ 100 จุด ในปัจจุบันดัชนีดอลลาร์สหรัฐมีราคาอยู่ที่ 92.23 จุดโดยประมาณ

เพราะสหรัฐฯ คือประเทศที่คิดเป็นเศษหนึ่งส่วนสี่ของ GDP โลกดังนั้น การเกิดขึ้นของดัชนีดอลลาร์สหรัฐจึงทำให้ง่ายต่อการนำไปเปรียบเทียบเพื่ออ้างอิงมูลค่ากับสกุลเงินอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ยูโร เยน ปอนด์ ดอลลาร์แคนาดา โครนาและสวิตฟรังก์ ตัวเลือกยอดนิยมที่นักลงทุนชอบนำดอลลาร์ไปเปรียบเทียบมากที่สุดอย่าง “ทองคำ” ก็หนีไม่พ้น และดอลลาร์สหรัฐก็กลายเป็นปรปักษ์กับทองคำตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา เมื่อไหร่ก็ตามที่ดอลลาร์อ่อนค่า ราคาทองคำจะปรับตัวขึ้น ในทางตรงกันข้ามถ้าดอลลาร์แข็งค่า ทองคำก็จะอ่อนตัวลง

กองทุน ETF Invesco DB US Dollar Index Bullish Fund (NYSE:UUP) เป็นกองทุนที่อ้างอิงสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของดัชนีดอลลาร์สหรัฐบนตลาด ICE กองทุนนี้ก่อตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2007 มีสินทรัพย์อยู่ภายใต้การจัดการ $467 ล้านเหรียญสหรัฐUUP Weekly Chart.

ตั้งแต่ต้นปี 2021 มาจนถึงปัจจุบัน UUP ปรับตัวขึ้นมาแล้วประมาณ 2.4% เมื่อ11 เดือนก่อน UUP เคยขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์เอาไว้ที่ $25.60 แต่ในช่วง 52 สัปดาห์ล่าสุด UUP ปรับตัวลดลง 0.4% ตามการอ่อนค่าของดอลลาร์ จุดต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์ที่ UUP เคยทำไว้เกิดขึ้นในวันที่ 1 มิถุนายนปี 2021 ตอนนั้นราคาซื้อขาย UUP มีตัวเลขอยู่ที่ $24.09 

สิ่งที่ทำให้กองทุน UUP น่าสนใจสำหรับตอนนี้เพราะความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางสหรัฐในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เพราะการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเงินมหาศาลระหว่างรัฐบาลและธนาคารกลางฯ ทำให้เงินเฟ้อเป็นอย่างมาก แต่ก็แลกมาด้วยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วของอเมริกา 

เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว นักลงทุนจึงเริ่มคาดการณ์ว่าถึงเวลาที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะเริ่มปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ซึ่งสามารถเข้าใจได้ง่ายว่านักลงทุนต้องการให้เฟดดึงสภาพคล่องที่ล้นตลาดออก หากทำเช่นนั้นดอลลาร์สหรัฐจะแข็งค่าขึ้น และจะทำให้ UUP ปรับตัวขึ้นตามการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุนที่เชื่อว่าเฟดจะต้องเริ่มประกาศลด QE ภายในปีนี้แน่นอน สมควรที่จะพิจารณา UUP เป็นอย่างยิ่ง

2. Invesco CurrencyShares Japanese Yen Trust

- ระดับราคาปัจจุบัน: $85.53
- กรอบการวิ่งของราคาในรอบ 52 สัปดาห์: $84.31- $92.01
- อัตราค่าใช้จ่ายต่อการดำเนินงาน: 0.40% ต่อปี

หากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินสำรองอันดับหนึ่งของโลก แบบนั้นนักลงทุนก็ยิ่งไม่ควรพลาดกองทุน ETF ที่ทำเกี่ยวกับการลงทุนในสกุลเงินที่ทำหน้าที่เป็นสกุลเงินสำรองอันดับสองของโลกอย่างสกุลเงินเยนของญี่ปุ่น กิตติศัพท์ของประเทศนี้เชื่อว่าคงไม่ต้องพูดถึง แม้จะเป็นเกาะเล็กๆ แต่กลับสามารถมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสามของโลก และสกุลเงินเยนก็ถือเป็นสกุลเงินยอดนิยมมากที่สุดตัวหนึ่งจากทางฝั่งเอเชีย

นักลงทุนส่วนใหญ่นิยมใช้สกุลเงินเยนเป็นสกุลเงินสำรอง ในยามที่โลกมีปัญหา และไม่สามารถหันไปพึ่งพาดอลลาร์สหรัฐ สกุลเงินเยนจะแข็งค่าขึ้นมาในฐานะสินทรัพย์สำรองปลอดภัยทันที แต่หากไม่ต้องการถือครองสกุลเงินเยนโดยตรง นักลงทุนสามารถเลือกกองทุน ETF Invesco CurrencyShares® Japanese Yen Trust (NYSE:FXY) ที่ติดตามมูลค่าของสกุลเงินเยนอยู่แล้วเป็นทางเลือกได้ กองทุนนี้เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 2007 มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการทั้งหมด $200.1 ล้านเหรียญสหรัฐFXY Weekly Chart.

ตั้งแต่ต้นปี 2021 มาจนถึงปัจจุบัน FXY ปรับตัวลดลง 6.5% เคยขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์ในเดือนมกราคม และทำจุดต่ำสุดในรอบ 52 สัปดาห์เมื่อเดือนกรกฎาคม การแข็งค่าของดอลลาร์สหรํฐในช่วงต้นปีทำให้ไม่มีใครสนใจกองทุนตัวนี้ ยิ่งดอลลาร์สหรัฐได้รับความนิยมมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสที่ FXY จะลงไปทดสอบจุดต่ำสุดในเดือนกรกฎาคม หรืออาจจะหลุดลงไปต่ำกว่านั้นได้

นักลงทุนที่เชื่อมั่นในมูลค่าของสกุลเงินเยน สามารถพิจารณาเข้าซื้อ FXY ในจังหวะนี้ได้ แต่สำหรับนักลงทุนที่มีประสบการณ์ และต้องการทำกำไรจากขาลงในระยะสั้น เราขอแนะนำกองทุน ProShares UltraShort Yen (NYSE:YCS) เอาไว้ในการพิจารณาอีกหนึ่งตัว กองทุนนี้เป็น Inverse ETF หรือกองทุนที่เน้นเฉพาะทำกำไรในฝั่งขาลง มีการปรับเงื่อนไขการลงทุนให้สอดคล้องความสามารถในการทำกำไรรายวัน (เช่น -2x) ของการเทียบ JPY/USD

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย