รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

“Delta หลบไป” จับตาประเด็นการเมืองทั่วโลก!

เผยแพร่ 02/09/2564 13:26
อัพเดท 09/07/2566 17:32

Economic & Markets Review

ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แม้ว่า ตลาดการเงินจะเผชิญปัจจัยกดดันจากปัญหาการระบาดของ COVID-19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจริงตามคาด รวมถึง ความกังวลประเด็นการทยอยลดคิวอีของเฟด แต่สุดท้าย ตลาดการเงินโดยรวมก็สามารถจบเดือนแห่งความวุ่นวายในภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) โดย ตลาดหุ้นโลก (ดัชนี MSCI ACWI) ปิดบวก 2.5% นำโดย ตลาดหุ้นในฝั่งตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) ที่สามารถปรับตัวขึ้นได้กว่า 2.6% จากความหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอินเดีย หลังการระบาดของ Delta ที่หนุนให้ตลาดหุ้นอินเดีย (ดัชนี Sensex) ปรับตัวขึ้นกว่า 10% ในขณะที่ ตลาดฝั่ง EM ASIA ยังเผชิญแรงกดดันจากปัญหาเศรษฐกิจจีนชะลอตัวและความกังวลต่อท่าทีของรัฐบาลจีนที่ออกมาตรการคุมเข้มภาคธุรกิจขนาดใหญ่ ที่กดดันให้ ตลาดหุ้นจีนปรับตัวขึ้นน้อยกว่าตลาดอื่นๆ ส่วนในฝั่งตลาดพัฒนาแล้ว (Developed Markets) นำโดยตลาดหุ้นสหรัฐฯยังคงที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง โดยได้แรงสนับหนุนหลักจากผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ของบริษัทจดทะเบียนที่แข็งแกร่ง (85% ของบริษัทบนดัชนี S&P500 รายงานผลกำไรดีกว่าคาด) กอปรกับถ้อยแถลงของเฟดที่ไม่ได้รีบร้อนในการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในงานประชุมสัมมนา Jackson Hole ล่าสุด อย่างไรก็

อย่างไรก็ดี แม้ว่าตลาดหุ้นทั่วโลกจะปรับตัวสูงขึ้น แต่สินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะ น้ำมันดิบ กลับปรับตัวลดลงกว่า -5% จากความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยเฉพาะในประเทศจีนและ สหรัฐอเมริกาที่ล่าสุดดัชนีความเชื่อมั่นภาคการผลิตและบริการหรือ PMI ปรับตัวลดลงทั้งคู่

ประเด็นที่น่าสนใจคือ แม้ว่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือนสิงหาคม ทว่า สกุลเงินในฝั่ง EM Asia กลับสามารถปรับตัวแข็งค่าขึ้นได้เช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่เริ่มมีความหวังการฟื้นตัวเศรษฐกิจหลังจากปัญหาการระบาด COVID-19 ที่เริ่มลดความรุนแรงลงและการเร่งจ่ายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ค่าเงินบาทที่พลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นกว่า 1.9% หลังจากที่รัฐบาลเตรียมผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ทำให้บรรดานักลงทุนต่างชาติต่างกลับเข้ามาซื้อสินทรัพย์ไทย ตามความคาดหวังการฟื้นตัวเศรษฐกิจในระยะถัดไป 

Figure1: ผลตอบแทนของตลาดหุ้นทั่วโลก

 Figure1: ผลตอบแทนของตลาดหุ้นทั่วโลก ในเดือนที่ผ่านมา และ นับตั้งแต่ต้นปี (YTD) ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2564

Figure2: ผลตอบแทนของดัชนีหุ้นในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม

 Figure2: ผลตอบแทนของดัชนีหุ้นในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ในเดือนที่ผ่านมา และ นับตั้งแต่ต้นปี (YTD) ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2564

Figure3: ผลตอบแทนของตราสารหนี้ทั่วโลก และความเคลื่อนไหวของบอนด์ยีลด์ 10ปี

 Figure3: ผลตอบแทนของตราสารหนี้ทั่วโลก และความเคลื่อนไหวของบอนด์ยีลด์ 10ปี ในเดือนที่ผ่านมา และ นับตั้งแต่ต้นปี (YTD) ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2564

Commodities

Figure4: ผลตอบแทนของสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงินหลัก

 Figure4: ผลตอบแทนของสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงินหลัก ในเดือนที่ผ่านมา และ นับตั้งแต่ต้นปี (YTD) ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2564

Investment Strategy

สำหรับในเดือนกันยายน เรายังคงแนะนำให้นักลงทุนเดิน “เกมส์รับ” และเพิ่มการถือครองเงินสด ในระดับ20%-25% ของพอร์ตโฟลิโอ เพื่อรอจังหวะเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยงที่น่าสนใจเมื่อตลาดปรับฐานลงมา โดยปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในเดือนนี้ ได้แก่ 1. ปัจจัยการเมืองทั้งฝั่งสหรัฐฯ เยอรมนีและญี่ปุ่น 2. ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐที่สำคัญ โดยเฉพาะภาคการจ้างงาน ในช่วงก่อนการประชุมเฟดวันที่ 21-22 กันยายน ซึ่งอาจเป็นตัวแปรสำคัญต่อจังหวะเวลา (Timing) ในการประกาศลดคิวอีของเฟด และ 3. ประเด็นความถูกแพงของระดับราคาหุ้น (Valuation)

โดย “การระบาดของ COVID-19” เรามองว่าจุดที่แย่ที่สุดน่าจะผ่านไปแล้ว ทำให้ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา นักลงทุนกลับมาเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ ที่ปรับตัวขึ้นมา อีก 3-4% ในเดือนสิงหาคม ทำให้ ระดับ Valuation ของตลาด วัดจาก Forward P/E อยู่ที่ 22.4 เท่า เมื่อเทียบค่าเฉลี่ย 10 ปี ถือว่าราคาปัจจุบันอยู่ในระดับค่อนข้างแพง จึงมีโอกาสสูงขึ้นที่ตลาดหุ้นในฝั่งสหรัฐฯจะเผชิญแรงเทขายทำกำไรได้ ในขณะที่ตลาด Developed Market อื่นๆ เช่น ยุโรปและญี่ปุ่น ยังคงเทรดที่ระดับ Forward P/E ประมาณ 17-18 เท่า ถือว่ามี Discount พอสมควรเมื่อเทียบกับตลาดสหรัฐ และแนวโน้มเศรษฐกิจของทั้งยุโรปและญี่ปุ่นก็ยังน่าจะขยายตัวได้ดีในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ของปีนี้ จากอานิสงค์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจการคลังของรัฐบาลและนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของ ECB และ BOJ

นอกจากนี้ เรามองว่า อีกตลาดที่น่าสนใจ ก็คือ ตลาดหุ้นจีน เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นจีนร่วงลงค่อนข้างแรง จากทั้งภาพเศรษฐกิจชะลอตัวลง รวมถึง การคุมเข้มภาคธุรกิจของจีนที่มีความเจาะจงรายอุตสาหกรรม อย่าง บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ซึ่งเรามองว่า ประเด็นดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อหุ้นจีนในตลาด Offshores ทั้ง H-Shares และ หุ้นจีนในตลาดสหรัฐฯ หรือ ADRs มากกว่า หุ้นจีน Mainland อย่าง A-Shares ดังนั้น มุมมองการลงทุนในระยะยาว เรามองว่านโยบายการคุมเข้มและจัดระเบียบบริษัทยักษ์ใหญ่ของรัฐบาลในครั้งนี้ จะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจภายในประเทศสามารถเติบโตได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืนยิ่งขึ้น ทำให้การลงทุนในหุ้นจีน A-Shares ผ่านกองทุนรวมที่มีการคัดเลือกหุ้นพื้นฐานที่แข็งแกร่งและเติบโตสูง จะสร้างผลตอบแทนที่น่าสนใจในระยะยาวได้เช่นกัน

อนึ่ง สินทรัพย์ที่เรามองว่า นักลงทุนควรหลีกเลี่ยงก็คือ พันธบัตรรัฐบาล โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว เนื่องจาก แนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกที่จะเริ่มดีขึ้นหลังการระบาดของ Covid-19 รวมถึง การทยอยลดมาตรการคิวอีในช่วงสิ้นปีนี้ จะดูดสภาพคล่องในระบบของสหรัฐฯให้ลดลง จะส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ระยะยาวมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลให้ นักลงทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวเผชิญการขาดทุน (Mark to Market loss) ได้

ดังนั้น เราจึงแนะนำให้นักลงทุนที่รับความเสี่ยงต่ำ พักเงินไว้ในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน รวมถึงเงินฝากต่างประเทศ และสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงระดับกลาง เรามองว่ากองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในหุ้นกู้เอกชน โดยเฉพาะในตลาดตราสารหนี้จีน รวมถึงตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 หรือ Additional Tier 1 ของธนาคารกลางในยุโรปและสหรัฐ ยังให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจและมีความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ที่ลดลง ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและกำไรของบริษัทที่กลับมาเติบโตหลังวิกฤติ Covid-19

Risk Factors to keep eyes on

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรติดตามในเดือนนี้ ได้แก่ ประเด็นการลดคิวอีของเฟด จะกลับมาอยู่ในโฟกัสของนักลงทุนอีกครั้ง หลังถ้อยแถลงของประธาน FED ในการประชุมสัมมนา Jackson Hole ที่ระบุถึงความเป็นไปได้ในการปรับลดคิวอีในช่วงปลายปีนี้ เรามองว่าตลาดการเงินอาจมีความผันผวนสูงขึ้น โดยเฉพาะในวันที่มีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญเช่น Non Farm Payroll ของฝั่งสหรัฐ ก่อนถึงการประชุม FOMC เดือนนี้ระหว่างวันที่ 21-22 กันยายน

นอกเหนือจากประเด็นดังกล่าว เรามองว่า ประเด็นการเมืองจะเริ่มกลับมาส่งผลกระทบในระยะสั้นต่อตลาดการเงินได้ โดยเฉพาะการเมืองในฝั่งสหรัฐฯ ที่จะเริ่มเข้าสู่ช่วงการพิจารณางบประมาณพร้อมกับการพิจารณาขยายเพดานหนี้ (Debt Ceiling) โดยจากข้อมูลในอดีตที่สหรัฐฯเผชิญปัญหาเพดานหนี้ในปี 2013 และ 2013 พบว่า ในช่วง 1 เดือนก่อนที่สภา คองเกรสจะบรรลุข้อตกลงขยายพดานหนี้นั้น ตลาดการเงินมีแนวโน้มผันผวนสูงขึ้น และฟันด์โฟวล์มักไหลไปเข้าบอนด์หลบความผันผวนที่เกิดขึ้น ส่วนเงินดอลลาร์ก็อ่อนค่าลงจากความกังวลว่ารัฐบาลสหรัฐฯ อาจผิดนัดชำระหนี้หรือถูกหั่นเครดิตเรทติ้งได้ หากสุดท้ายการเจรจาขยายเพดานหนี้ล้มเหลว

ประเด็นการเมืองในฝั่งเอเชียและยุโรปก็จะกลับมาร้อนแรงขึ้นเช่นกัน หลังจากที่นายกรัฐมนตรี Yoshihide Suga เตรียมประกาศยุบสภาล่างในช่วงกลางเดือนกันยายน เพื่อที่จะปูทางสู่การเลือกตั้งในเดือนตุลาคม เนื่องจากคะแนนความนิยมของนายกฯ Suga ณ ปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำ สะท้อนว่าประชาชนญี่ปุ่นต้องการการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ

ส่วนในฝั่งยุโรป ทางประเทศเยอรมนีก็เตรียมการเลือกตั้งครั้งสำคัญ ในวันที่ 26 กันยายน ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงการเมืองเยอรมนี เนื่องจากผลโพลล่าสุดระบุว่า ขั้วการเมืองเดิมของเยอรมนี ที่ประกอบไปด้วยพรรค CDU/CSU (พรรคการเมืองของผู้นำเยอรมนี นาง Angela Merkel) และ พรรค SPD มีคะแนนรวมกันเพียง 45% ยังไม่พอจะจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากในสภา ทำให้แนวโน้มการจัดตั้งรัฐบาลอาจต้องอาศัยพรรคร่วมรัฐบาลถึง 3 พรรค อาทิ รูปแบบ Kenya Coalition (CDU/CSU + SPD + Green ที่นั่งจากโพลรวมกันได้ 62%) หรือ Jamaica Coalition (CDU/CSU + FDP + Green ที่นั่งจากโพลรวมกันได้ 50%) ซึ่งการจัดตั้งรัฐบาลผสมที่มีพรรคร่วมถึง 3 พรรค อาจทำให้เสถียรภาพทางการเมืองของเยอรมนีลดลง และการขับเคลื่อนนโยบายเป็นไปได้ยากขึ้น หรือแม้กระทั่งการเลือกผู้นำคนใหม่ (German Chancellor) ก็อาจเป็นเรื่องที่ตกลงกันลำบาก เนื่องจากสองพรรคใหญ่ อย่าง CDU/CSU และ SPD ต่างมีคะแนนเสียงจากผลโพลที่ใกล้เคียงกันมาก

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ประเด็นการเมืองทั่วโลก จะเริ่มกลับมาเป็นประเด็นสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินได้ในเดือนกันยายน แทนที่ ปัจจัยเสี่ยงเดิมๆ อย่าง ปัญหาการระบาดของ COVID-19 และ ประเด็นการลดคิวอีของเฟด

Figure5: ผลตอบแทนของสินทรัพย์แต่ละประเภทในช่วง 1 เดือน

 Figure5: ผลตอบแทนของสินทรัพย์แต่ละประเภทในช่วง 1 เดือน ก่อนที่สหรัฐฯ จะผ่านวิกฤติเพดานหนี้ได้ ในปี 2011 และ ปี 2013 (ที่มา GlobalX และ Bloomberg )





ความคิดเห็นล่าสุด

หนูสามารถลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ที่ถือครองได้เลยและสามมารถเทรดขายออกในสินทรัพย์ที่มีในหน่วยลงทุนใช่ไหมค่ะ
แล้วแต่ความเสี่ยงของนักลงทุนเลยครับ ว่ารับได้ขนาดไหน  ถ้าพอร์ตเราเสี่ยงเกินไป เช่น ลงหุ้น 70%+ เวลาเรามองเห็นว่า ปัจจัยเสี่ยงเยอะ ก็ลดสินทรัพย์เสี่ยงลงมาบ้าง เพื่อสะสมเงินสด ไว้รอซื้อตอนราคาย่อตัว ครับ กลับกัน ถ้าพอร์ตเสี่ยงไม่เยอะ แต่เรารับความเสี่ยงได้มาก ก็ทยอยซื้อสินทรัพย์เสี่ยงได้ครับ ทั้งนี้ โดยรวมผมคงมองว่า สินทรัพย์เสี่ยงยังให้ผลตอบแทนที่ดีอยู่ แต่เราต้องทนผ่านความผันผวนไปให้ได้ครับ
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย