ลด 50%! ชนะตลาดในปี 2025 ด้วย InvestingProรับส่วนลด

5 ปัจจัยเสี่ยงที่ควรพิจารณาในขาลงของตลาดน้ำมัน

เผยแพร่ 20/08/2564 13:58
DX
-
CL
-
NG
-
GPR
-

ถือเป็นช่วงเวลาที่กดดันสำหรับนักลงทุนในตลาดน้ำมันดิบอยู่พอสมควร พวกเขาต้องทนเห็นราคาน้ำมันปรับตัวลดลงมาตั้งแต่วันพุธ โดยที่ไม่มีโอกาสจะสู้กลับได้เลยตราบใดที่สถานการณ์โควิดเดลตาและการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐยังคงกดดันตลาดอย่างต่อเนื่องCrude Oil WTI Weekly Chart

นอกจากปัจจัยที่กล่าวมานี้ ยังมีประเด็นไหนอีกบ้างที่สามารถกดดันราคาน้ำมันได้? ในบทความนี้เรามี 5 ประเด็นที่เชื่อว่าจะสามารถกดดันหรือทำให้ตลาดน้ำมันผันผวนได้ต่อเนื่องในอนาคตอันใกล้

1. ความต้องการและราคาน้ำมันในสหรัฐอเมริกา

รายงานจากองค์กรข้อมูลด้านพลังงานของสหรัฐอเมริกา (EIA) เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเปิดเผยว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังลดลง แต่ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงกับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ปริมาณน้ำมันที่ถูกนำไปกลั่นมี 92% ซึ่งถือว่าสูงมาก อย่างไรก็ตามกลับมีปัจจัยบ่งชี้ที่บอกว่าความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงอาจลดลงในเร็วๆ นี้

ข้อมูลจาก GasBuddy ในสัปดาห์นี้เผยว่าปริมาณการใช้งานน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงต่ำที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม แม้แต่ตัวเลขการใช้งานน้ำมันเชื้อเพลิงในวันอังคารที่ผ่านมาก็ลดลงจนมีตัวเลขอยู่ที่ 3.4% ซึ่งถือว่าต่ำกว่าตัวเลขของวันอังคารในสัปดาห์ก่อนหน้า และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่นับเฉพาะวันอังคารของสี่สัปดาห์ล่าสุด 2.3% ข้อมูลเหล่านี้ EIA จะเป็นคนประกาศอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า

สาเหตุที่ปริมาณการใช้งานน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงเป็นเพราะตอนนี้ช่วงหน้าร้อนของสหรัฐอเมริกาใกล้จะถึงจุดสิ้นสุดแล้ว ซึ่งหมายความว่าผู้คนจะลดการเดินทางลง กลับไปใช้ชีวิตตามปกติมากขึ้น นักลงทุนจะได้เห็นตัวเลขการใช้งานน้ำมันลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงกลางเดือนกันยายน

2. IEA ปรับลดตัวเลขความต้องการน้ำมันดิบในปี 2021 ลง

การระบาดระลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาทำให้องค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ปรับลดตัวเลขความต้องการน้ำมันในปี 2021 ลงมา เพราะการระบาดระลอกนี้ได้ทำร้ายกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเดินทางที่กำลังฟื้นตัว 

นอกจาก IEA แล้ว ที่น่าสังเกตก็คือทั้ง EIA และกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) ยังไม่ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์ความต้องการน้ำมันในปี 2021 ตัวเลขที่ IEA ประเมินไว้ตอนนี้คือ 96.2 ล้านบาร์เรล EIA ประเมินเอาไว้ที่ 97.7 ล้านบาร์เรล และกลุ่ม OPEC ประเมินเอาไว้ที่ 96.6 ล้านบาร์เรล แม้แต่เหล่าธนาคารใหญ่ๆ ที่เคยประเมินราคาน้ำมันดิบว่าจะสามารถขึ้นถึง $80 ต่อบาร์เรลในไตรมาสที่ 3 ก็ยังไม่ยอมเปลี่ยนตัวเลขคาดการณ์ของตัวเอง

นักลงทุนน้ำมันควรให้ความสำคัญกับการประเมินตลาดน้ำมันของบรรดาธนาคารยักษ์ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโกลด์แมน แซคส์ เพราะนักวิเคราะห์ของโกลด์แมนประเมินว่าด้วยตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังในตอนนี้ ที่ถูกเพิ่มเข้ามาเยอะพอสมควร ไม่มีทางดันให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นถึง $80 ต่อบาร์เรลได้ ขนาดว่าได้กำลังการผลิตเพิ่มมาจากกลุ่ม OPEC+ 400,000 บาร์เรลต่อวันในเดือนสิงหาคมมาช่วยแล้ว ความกังวลที่นักลงทุนมีต่อการแพร่ระบาด ก็ยังเหนือกว่าความเชื่อมั่นในการใช้พลังงานน้ำมันอย่างเต็มที่


3. การดึงเกมของกระทรวงมหาดไทยสหรัฐฯ

หลังจากที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนขึ้นมารับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ กระทรวงมหาดไทยสหรัฐฯ ก็ได้มีคำสั่งระงับการเช่าพื้นที่ของภาครัฐเพื่อขุดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งการระงับครั้งนี้ยังไม่มีระยะเวลากำหนดว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ หรือจนกว่าภาครัฐจะทำการตรวจสอบเงื่อนไขข้อกำหนดโดยละเอียดอีกรอบว่ากระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางไหนบ้าง อันที่จริงเคยมีข่าวว่ารายละเอียดเงื่อนไขฉบับใหม่จะถูกประกาศภายในช่วงต้นฤดูร้อนนี้ แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีข่าวใดๆ เพิ่มเติมทั้งนั้น สถานการณ์ล่าสุดคือศาลพึ่งระงับการพิจารณาเรื่องนี้ไปเมื่อเดือนมิถุนายน 

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาสถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา (API) และบริษัทในแวดวงที่เกี่ยวข้องได้ยื่นเรื่องฟ้องต่อศาลว่าการกระทำของกระทรวงมหาไทยที่จงใจยืดระยะเวลาออกไปอย่างไม่มีกำหนดไม่เป็นธรรม ซึ่งดูเหมือนว่าการรวมพลังกดดันครั้งนี้จะได้ผล เพราะกระทรวงมหาดไทยได้ออกมาชี้แจงว่าจะกลับมาเปิดขายแบ่งที่ดินสำหรับขุดเจาะพลังงานธรรมชาติใหม่อีกครั้ง 

อย่างไรก็ตามการประกาศของกระทรวงมหาไทยไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะดำเนินการให้ทันที โดยปกติแล้วการปล่อยขายที่ดินใหม่ของภาครัฐจะจัดขึ้นเพียงสี่ครั้งต่อปีเท่านั้น และสำหรับการปล่อยเช่าพื้นที่นอกประเทศจะจัดการขายประมูลปีละสองครั้ง ซึ่งสำหรับตอนนี้่ยังไม่มีวันและเวลาที่ชัดเจนว่ากระทรวงมหาดไทยจะจัดการปล่อยขายครั้งใหม่นี้เมื่อไหร่ เท่ากับว่ายังไม่มีอะไรแน่นอนเหมือนเดิม

4. ความต้องการน้ำมันในประเทศจีนและอินเดีย

ข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในพื้นที่ทางเอเชียและประเทศจีนช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้มาก ตัวเลขกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การบริโภค และการลงทุนในเดือนกรกฎาคมล้วนแล้วแต่ออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ และเพราะประเทศจีนถือเป็นผู้นำเข้าน้ำมันที่มากที่สุดของโลก การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีน จึงส่งผลกระทบต่อความต้องการน้ำมันทั่วโลก รวมถึงกดดันราคาน้ำมันให้ปรับตัวลดลงด้วย

เวลาประเมินตัวเลขทางเศรษฐกิจของประเทศจีน นักลงทุนต้องทำความเข้าใจเป็นอันดับแรกว่าตัวเลขที่ทางการจีนประกาศออกมาอาจจะไม่ใช่ตัวเลขจริงเสมอไป เพราะประเทศจีนมักจะพยายามไม่พูดถึงความรุนแรงที่เกิดจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ดังนั้นเมื่อได้เห็นตัวเลขจากจีน ให้ประเมินเอาไว้ก่อนว่าความเป็นจริงอาจจะร้ายแรงกว่านั้นสองเท่า

นอกจากประเทศจีนแล้ว ประเทศอินเดียก็ถือเป็นผู้นำเข้าน้ำมันเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และข้อมูลการนำเข้าน้ำมันที่ออกมาถือว่ามีความน่าเชื่อถือได้มากกว่าจีน ข้อมูลล่าสุดในเดือนกรกฎาคมระบุว่าการท่องเที่ยวโดยเครื่องบินโดยสารภายในประเทศเพิ่มขึ้น 60% ชี้เห็นสัญญาณการฟื้นตัวและความต้องการน้ำมันอย่างมีนัยสำคัญ แม้จะมีปัญหาการระบาดของโควิดอยู่ก็ตาม

5. ความกดดันจากพายุเฮอริเคน

ข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์อากาศคาดว่าจะมีเมฆฝุ่นซาฮาราขนาดใหญ่ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และโจมตีฟลอริดาในต้นสัปดาห์หน้า ซึ่งพายุฝุ่นดังกล่าวสามารถระงับการก่อตัวและความรุนแรงของพายุโซนร้อนและเฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติกได้ ช่วงนี้ถือเป็นระยะเวลาที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดพายุเฮอริเคนในมหาสมุทรแตแลนติกอยู่ตลอด แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีข่าวว่ามีพายุเข้ามาสร้างผลกระทบให้กับการผลิตน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติในอ่าวแม็กซิโก ความดีความชอบนี้ต้องยกให้กับเมฆฝุ่นซาฮารา

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย