บทวิเคราะห์ราคาทองคำ ภาคเช้า ทองคำได้แรงหนุนจากดัชนี CPI

เผยแพร่ 12/08/2564 09:20
อัพเดท 09/07/2566 17:32
XAU/USD
-
GC
-

สรุป ราคาทองคําวานนี้ปิดทะยานขึ้น 22.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคําได้รับแรงหนุนหลังการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อในฝั่งผู้บริโภคของสหรัฐ ปรับตัว ขึ้น 0.5% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายเดือน และเมื่อเทียบรายปี ดัชนี CPI พุ่งขึ้น 5.4% ในเดือนก.ค. ใกล้เคียงกับสอดคล้องกับการคาดการณ์ แต่ดัชนี CPI พื้นฐานปรับตัวขึ้นเพียง 0.3% ในเดือน ก.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งต่ํากว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 0.4% สะท้อนให้เห็นว่าเงินเฟ้อของสหรัฐเริ่มชะลอตัวลง ซึ่งช่วย “ลดการคาดการณ์” ของนักลงทุนที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)จะเร่งปรับลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) สถานการณ์ดังกล่าวกดดันดัชนีดอลลาร์ให้อ่อนค่า พร้อมกับกดดันอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ อายุ 10 ปีให้ปรับตัวลดลงจากระดับสูงสุดในรอบ 4 สัปดาห์ที่ 1.372% สู่ระดับต่ําสุดที่ 1.308% ประกอบกับดีมานด์ในการประมูลพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีเมื่อคืนนี้เป็นไปอย่างแข็งแกร่ง จึงเป็นปัจจัยกดดันบอนด์ยีลด์เพิ่ม ปัจจัยที่กล่าวมาช่วยหนุนให้ราคาทองคําพุ่งขึ้นจากระดับต่ําสุดในระหว่างวันที่ 1,724.32 ดอลลาร์ต่อออนซ์สู่ระดับสูงสุด 1,754.22 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไร ก็ดี ยังต้องระวังแรงขายทํากําไรที่อาจสลับออกมาเนื่องจากยังมีความเห็นในเชิง Hawkish จากเจ้าหน้าที่เฟดออกมาเป็นระยะ ล่าสุดวานนี้นายโรเบิร์ต แคปแลน ประธานเฟดดัลลัส กล่าวว่า เฟดควรทําการ “ประกาศอย่างเป็นทางการ เกี่ยวกับไทม์ไลน์ในการปรับลดวงเงิน QE ในเดือนหน้า และเริ่มทําการปรับลด QE ในเดือนต.ค. ซึ่งปัจจัยดังกล่าวสกัดช่วงบวกราคาทองคําไว้ ด้าน กองทุน SPDR ถือครองทองคําไม่เปลี่ยนแปลง สําหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PP) และจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐ

หลังจากราคาทองคําพยายามกลับขึ้นไปทดสอบโซน 1,760-1,778 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ยังไม่สามารถยืนเหนือบริเวณ ดังกล่าวได้ แสดงถึงแรงซื้อในระดับจํากัด ราคามีแนวโน้มอ่อนตัวลงทดสอบแนวรับ 1,738-1,733 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แต่ ถ้าไม่สามารถยืนได้ จะเกิดแรงขายออกมา โดยแนวรับถัดไปจะอยู่ที่ 1,717 ดอลลาร์ต่อออนซ

คําแนะนํา ซื้อขายทํากําไรระยะสั้นจากการแกว่งตัว โดย บริเวณแนวต้านโซน 1,760-1,778 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หาก ราคาทองคําไม่สามารถยืนเหนือโซนดังกล่าวได้แนะนําแบ่ง ทองคําออกขายเพื่ อรอซื้อในโซนแนวรับ 1,733-1,717 ดอลลาร์ต่อออนซ

ดูกราฟราคาทองคำ SPOT XAU/USD

https://th.investing.com/currencies/xau-usd

กระทู้พูดคุยเกี่ยวกับราคาทองคำ SPOT

https://th.investing.com/currencies/xau-usd-commentary

บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 02-687-9888 กด 1 หรือเว็บไซต์ ylgbullion.co.th

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย