สรุปราคาทองคําวันศุกร์ที่ผ่านมาปิดดิ่งลง 41.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ -2.3% เป็นการปิดร่วงลงรายวันที่มากที่สุดนับตั้งแต่กลางเดือนมิ.ย. พร้อมกับปิดปรับตัวลดลงในรายสัปดาห์ที่มากที่สุด ในรอบ 2 เดือน ก่อนที่เข้านี้ราคาทองคําจะดิ่งลงต่อทําระดับต่ำสุดบริเวณ 1,680.23 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยราคาทองคําได้รับแรงกดดันจากการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของ สหรัฐที่พุ่งขึ้น 943,000 ตําแหน่งในเดือนก.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 845,000 ตําแหน่ง ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวลงเกินคาดสู่ระดับ 5.4% ในเดือนก.ศ. ทั้งนี้ ตัวเลขใน ตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งเกินคาดส่งผลกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)จะเริ่มถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการเงิน เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้” ทั้งนี้ ตลาด คาดว่าเฟดอาจ “ประกาศอย่างเป็นทางการ เกี่ยวกับการลดวงเงินการเข้าซื้อสินทรัพย์รายเดือนตามมาตรการ QE อย่างเร็วสุดในการประชุมนโยบายการเงินที่กําลังจะมาถึงนี้ ก่อนที่จะเริ่มต้น ดําเนินการสิต OE ภายในสิ้นปี 2021 หรือ ต้นปี 2022 การคาดการณ์ดังกล่าว หนุนดัชนีดอลลาร์ให้แข็งค่าขึ้น 0.58% พร้อมกับหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีให้ดีดตัวสู่ ระดับ 1.30% ปัจจัยที่กล่าวมา กดดันให้ทองคําดิ่งลงหลุดแนวรับสําคัญจนกระตุ้นแรงขายตามทางเทคนิคเพิ่มเติม นั้นส่งผลให้ราคาทองคําร่วงลงอย่างหนักจนทดสอบระดับต่ําสุดบริเวณ 1,758.66 ตอลลาร์ต่อออนซ์ในวันศุกร์ พร้อมกับปรับตัวลงต่อในช่วงเช้าวันนี้ในตลาดเอเชีย ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองลดลง -2.33 ต้น สําหรับวันนี้ติดตามการเปิดเผยตําแหน่งงานว่างเปิด ใหม่ และถ้อยแถลงของนายโธมัส บาร์ทิน ประธานเฟดริชมอนด์ และนายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟดแอตแลนตา
หากราคาทองคําไม่สามารถกลับขึ้นยืนเหนือ 1,758-1,760 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทําให้มีแนวโน้ม อ่อนตัวลงสู่บริเวณ 1,717-1,705 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตามในโซนแนวรับ ต้องจับตาแรงซื้อ เก็งกําไรที่อาจเพิ่มสูงขึ้น แต่หากสามารถยืนแนวต้านดังกล่าวได้ราคาอาจดีดตัวขึ้นทดสอบโซน แนวต้านถัดไปโซน 1,778 ดอลลาร์ต่อออนซ
คําแนะนํา ราคายังไม่ผ่านโซน 1,758-1,760 ดอลลาร์ต่อ ออนซ์ รอเปิดสถานะซื้อในบริเวณ 1,717-1,705 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ (ตัดขาดทุนหากหลุดโซน 1,705 ดอลลาร์ต่อ ออนซ์) เน้นการลงทุนระยะสั้นและไม่ควรถือสถานะหลาย
https://th.investing.com/currencies/xau-usd
กระทู้พูดคุยเกี่ยวกับราคาทองคำ SPOT
https://th.investing.com/currencies/xau-usd-commentary
บทความนี้จัดทำขึ้นโดย YLG Bullion International
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 02-687-9888 กด 1 หรือเว็บไซต์ ylgbullion.co.th