ดอลลาร์สหรัฐจบการลงทุนในวันพุธด้วยการแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ และสามารถพากราฟ USD/JPY ที่เคยลงไปแตะจุดต่ำสุด 109.00 ให้สามารถกลับขึ้นมาอยู่ที่ 109.50 กราฟ EUR/USD ที่เคยวิ่งขึ้นไปยัง 1.1900 ในช่วงเปิดตลาดลงทุนสหรัฐฯ ก็ร่วงลงมาวิ่งอยู่ที่จุดต่ำสุด 1.1836 ก่อนตลาดลงทุนฝั่งลอนดอนปิด
นานมากแล้วที่เราไม่ได้เห็นความผันผวนเช่นนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นล้วนมาจากความตื่นเต้นของนักลงทุนที่ใกล้ได้เห็นตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐอเมริกาประจำเดือนกรกฎาคม แต่ก่อนที่จะถึงวันพรุ่งนี้ เมื่อวานเราได้ทราบตัวเลขคาดการณ์การจ้างงานอกภาคการเกษตรจากเอกชนหรือ ADP ไปก่อนแล้ว ซึ่งตัวเลขที่ออกมาค่อนข้างผิดหวังเพราะ ADP คาดว่าการจ้างงานในเดือนกรกฎาคมมีการชะลอตัวเกิดขึ้น ในตอนแรกข่าวร้ายนี้ส่งให้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงไปก่อน แต่ดอลลาร์ก็สามารถกลับขึ้นมาได้หลังจากได้เห็นตัวเลขดัชนี PMI ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตจาก ISM เติบโตขึ้น ซึ่งตัวเลขของเดือนก่อนหน้าเคยหดตัว ตัวเลข PMI ในครั้งนี้เพิ่มขึ้นจาก 60.1 เป็น 64 จุด ในขณะที่ตัวเลขซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 49.3 จุดขึ้นมาเป็น 53.8 จุด
สำหรับการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) ในรอบนี้ นักลงทุนค่อนข้างคาดหวังอยู่พอสมควร มิเช่นนั้นเราคงจะไม่ได้เห็นภาพตลาดผันผวนขนาดนี้ตั้งแต่วันพุธ มีกระแสลือกันมาว่าตัวเลขแรงงานฯ ที่จะประกาศในวันพรุ่งนี้จะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 1 ล้านตำแหน่ง นักลงทุนทราบดีว่าตัวเลขการจ้างงานในวันพรุ่งนี้มีความหมายเพียงใด และจะมีความหมายกับดอลลาร์สหรัฐมากเพราะการประชุมใหญ่ของเฟดที่แจ็คสัน โฮล จะเกิดขึ้นในช่วงสิ้นเดือนนี้และทางธนาคารกลางจะเอาตัวเลขของวันพรุ่งนี้ไปประเมินนโยบายทางการเงินด้วยแน่นอน
หากข้อมูลตัวเลขการจ้างงานในวันพรุ่งนี้ออกมาเพิ่มขึ้น ดอลลาร์สหรัฐจะแข็งค่าเพราะนักลงทุนจะเชื่อว่าการประกาศลดวงเงินเข้าซื้อพันธบัตรจะต้องเกิดขึ้นหลังจากเดือนสิงหาคมอย่างแน่นอน แต่ถ้าตัวเลข NFP ออกมาน่าผิดหวัง ดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่า และนักลงทุนจะคาดการณ์ว่าการประกาศลดวงเงินฯ จะเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 4 เป็นต้นไป เมื่อคืนนี้รองประธานธนาคารกลางสหรัฐนายริชาร์ด คาร์ลิด้าก็ได้ออกมาแง้มบอกใบ้ว่าเฟดอาจประกาศลดวงเงินซื้อพันธบัตรรัฐบาลภายในปีนี้หากเงื่อนไขการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปตามที่เฟดต้องการ
ยิ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดรุนแรงขึ้น เราก็ยิ่งเห็นได้ชัดเจนถึงความแตกต่างในการวางนโยบายการเงินของธนาคารกลางในแต่ละประเทศ การที่ธนาคารพาณิชย์ในนิวซีแลนด์ออกมาเรียกร้องให้ธนาคารกลางของตนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทำให้ดอลลาร์นิวซีแลนด์แข็งค่า ก่อนที่จะโดนข่าวจากฝั่งดอลลาร์สหรัฐกลบ ถึงกระนั้นดอลลาร์นิวซีแลนด์ก็เป็นเพียงสกุลเงินเดียวที่สามารถแข็งค่าสู้กับดอลลาร์สหรัฐได้จนตลาดลงทุนปิด เทียบกันกับทางฝั่งยุโรปที่หลังจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตัดสินใจทำให้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อ เราก็ได้เห็นภาพที่ตัวเลขยอดค้าปลีกขึ้นไม่ถึงตัวเลขคาดการณ์ และได้เห็นดัชนี PMI ภาคบริการหดตัว
ในวันนี้นอกจากจะมีการประกาศตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐฯ นักลงทุนจะให้่ความสนใจกับการประชุมเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) สิ่งที่ BoE คิดเหมือนกันกับธนาคารกลางสหรัฐฯ ก็คือพวกเขาเชื่อว่าเงินเฟ้อเป็นเพียงผลกระทบจากนโยบายการเงินชั่วคราว แต่สิ่งที่ทั้งสองธนาคารกลางต่างกันก็คือ BoE กลับมองว่าเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นหมายถึงกำลังซื้อที่สูงพอต่อการลดวงเงินเพื่อเข้าซื้อพันธบัตรภายในช่วงสิ้นปีนี้ ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่า BoE จะเพิ่มตัวเลขการเติบโตของตัวเองและเปลี่ยนแปลงตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของเงินเฟ้อ
คำถามสำคัญสำหรับการประชุมของ BoE ในวันนี้คือพวกเขาจะยังคงนโยบายการเงินเอาไว้เหมือนเดิมหรือไม่ท่ามกลางการระบาดของโควิดเดลตาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ข่าวดีก็คือจากตัวเลขข้อมูลที่ออกมานับตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคมพบว่ายอดผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง ดังนั้นจึงมีความเป็นได้ที่ท่าทีของ BoE ในวันนี้จะค่อนข้างมั่นใจกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แต่ผู้มีสิทธิ์วางนโยบายการเงินอาจแบ่งเป็นสองกลุ่มเมื่อต้องเถียงกันเรื่องการลดวงเงินเพื่อซื้อพันธบัตร หากผลการประชุมมีแนวโน้มจะลดวงเงิน สกุลเงินปอนด์จะได้โอกาสแข็งค่าขึ้นสู้กับดอลลาร์สหรัฐบ้าง
ส่วนตัวเลขอัตราดอกเบี้ยนั้นเชื่อว่า BoE จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในการประชุมวันนี้ ธนาคารกลางต้องการได้ข้อมูลที่ทำให้เชื่อได้ว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้ดีอย่างมีนัยสำคัญจริงๆ ซึ่งข้อมูลนี้ต้องมาก่อนที่จะนำเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยมาเป็นเรื่องสมควรพิจารณา