รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

บทวิเคราะห์ตลาดเดือนสิงหาคม: “ยังคงเน้นเกมส์รับ” หลัง Delta ยังระบาดหนัก

เผยแพร่ 03/08/2564 14:59
อัพเดท 09/07/2566 17:32

Economic & Markets Review

ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แม้ว่า ตลาดการเงินโดยรวมจะอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) แต่จะเห็นได้ว่า มีเพียงสินทรัพย์เสี่ยงในฝั่งตลาดพัฒนาแล้ว (Developed Markets) ที่สามารถปรับตัวขึ้นได้ โดยหุ้น DM ปรับตัวขึ้นกว่า +0.8% ในขณะที่สินทรัพย์เสี่ยงในฝั่งตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets) กลับปรับตัวลดลงหนัก โดยหุ้น EM ดิ่งลงกว่า -5.4% สอดคล้องกับมุมมองของเราในเดือนก่อนหน้าที่มองว่า ปัจจัยการระบาดของ Delta อาจทำให้แต่ละภูมิภาคเผชิญความรุนแรงของการระบาด รวมถึงแนวโน้มการฟื้นตัวที่แตกต่างกันไป

ซึ่งจะเห็นได้ว่า ประเทศหลักของฝั่ง DM อาทิ สหรัฐฯ หรือ ยุโรป ยังมีแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนผ่านการที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและการบริการ (Manufacturing & Services PMIs) ของ DM ปรับตัวสูงขึ้น สะท้อนถึงภาวะการขยายตัวของกิจกรรมในภาคการผลิตและการบริการ ขณะที่ดัชนี PMI ทั้งภาคการผลิตและการบริการในฝั่ง EM กลับปรับตัวลดลงต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ตลาดหุ้นฝั่ง EM ยังได้รับแรงกดดันจากแรงเทขายหุ้นจีน ท่ามกลางความกังวลว่ารัฐบาลจีนจะเข้ามาควบคุมภาคธุรกิจมากขึ้น หลังทางการจีนดำเนินการสอบสวนประเด็น Anti-Trust กับบริษัทเทคฯ ขนาดใหญ่ อย่าง Alibaba, Tencent, Meituan รวมถึงการถอนถอดแอพพลิเคชั่น Didi ออกจาก App Store หลังบริษัท Didi ได้จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ และ ล่าสุด การเข้าควบคุมธุรกิจสอนพิเศษออนไลน์ ที่กำหนดให้บริษัทจะต้องแปรสภาพเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร หากดำเนินการสอนในหลักสูตรมาตรฐาน ซึ่งปัญหาการคุมเข้มธุรกิจจีนดังกล่าว ได้ส่งผลให้ นักลงทุนต่างเทขายหุ้นจีนอย่างหนัก โดยตลาดหุ้นจีน H-shares ดิ่งลงกว่า -10.7% ส่วน หุ้นจีน A-shares ก็ปรับตัวลดลง -4.7% ทางด้านตลาดหุ้นฮ่องกง ก็ปรับตัวลงกว่า -7.9% เช่นกัน

ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงกลุ่มอุตสาหกรรม (Sector) จะพบว่า ผู้เล่นในตลาดก็มีความระมัดระวังมากขึ้นจริง ดังจะเห็นได้จากการที่หุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรม Defensive สามารถปรับตัวขึ้นได้ดี อาทิ หุ้นกลุ่ม Healthcare +1.9% เช่นเดียวกับ หุ้น/สินทรัพย์กลุ่ม Yield-play อย่าง หุ้น utilities +1.9% และ REITs +3.3%

อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสนใจว่า หุ้นในกลุ่มเทคฯ กลับสามารถปรับตัวขึ้นกว่า 1.9% ได้เช่นกัน โดยส่วนหนึ่งมาจากอานิสงส์ของบอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลงกว่า -25bps สู่ระดับ 1.22% จากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยของผู้เล่นในตลาด หลังสถานการณ์การระบาด COVID-19 ทั่วโลกทวีความรุนแรงมากขึ้น และเฟดก็ยังคงเดินหน้าใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อ ซึ่งบอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ที่ทรงตัวในระดับต่ำนั้นทำให้การลงทุนในหุ้นเทคฯ ยังไม่ดูแพงจนเกินไป นอกจากนี้ รายงานผลประกอบการของหุ้นกลุ่มเทคฯ โดยรวมก็ดีกว่าที่ตลาดคาด (ผลกำไรหุ้นเทคฯ บน S&P500 ที่ประกาศผลกำไรมาแล้วประมาณ 46 บริษัทจาก 80 บริษัท โดยรวมออกมาดีกว่าที่ตลาดประเมินไว้กว่า 16% )

Figure1: ผลตอบแทนของตลาดหุ้นทั่วโลก ในเดือนที่ผ่านมา และ นับตั้งแต่ต้นปี (YTD)


Figure2: ผลตอบแทนของดัชนีหุ้นในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ในเดือนที่ผ่านมา และ นับตั้งแต่ต้นปี (YTD)


Figure3

Figure3: ผลตอบแทนของตราสารหนี้ทั่วโลก และความเคลื่อนไหวของบอนด์ยีลด์ 10ปี ในเดือนที่ผ่านมา และ นับตั้งแต่ต้นปี (YTD)


Figure 4(1)


Figure 4 (2)

 

Figure4: ผลตอบแทนของสินค้าโภคภัณฑ์และค่าเงินหลัก ในเดือนที่ผ่านมา และ นับตั้งแต่ต้นปี (YTD)

Economic & Markets Outlook

สำหรับในเดือนสิงหาคม เรามองว่า นักลงทุนควรเดินหน้าปรับ “เกมส์รับ” เตรียมรับแรงกระแทก จาก 1. ปัญหาการระบาดของ COVID-19 และ 2. งามสัมมนาวิชาการของเฟดที่ Jackson Hole

โดย เรามองว่า ปัญหา “การระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Delta” มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในฝั่งประเทศที่ยังไม่สามารถเร่งแจกจ่ายวัคซีนที่มีคุณภาพสูงได้ ขณะเดียวกัน ก็ต้องติดตามสถานการณ์การระบาดในสหรัฐฯ ยุโรป และจีน หลัง ศูนย์ควบคุมเเละป้องกันโรคสหรัฐฯหรือ CDC รายงานว่า สายพันธุ์เดลต้า สามารถแพร่กระจายได้ง่ายพอๆ กับโรคอีสุกอีใส (Chickenpox) ซึ่งล่าสุดส่งผลให้หลายรัฐเริ่มกลับมาบังคับการใส่หน้ากากอนามัยอีกครั้ง โดยหาก หากการระบาดของเดลต้าทวีความรุนแรงมากขึ้นและสถานการณ์การระบาดเลวร้ายกว่าคาด อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดกังวลแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมากขึ้น และทำให้ ผู้เล่นในตลาดเลือกที่จะเทขายสินทรัพย์เสี่ยงลง

นอกจากนี้ งานสัมมนาวิชาการของเฟด (Jackson Hole Symposium) ระหว่างวันที่ 26-28 สิงหาคม ก็อาจเป็นอีกปัจจัยที่ต้องจับตามอง เนื่องจากเฟดอาจใช้เวทีงานสัมมนาดังกล่าว ในการเปิดเผยถึงแผนการทยอยลดการอัดฉีดสภาพคล่องหรือการลดคิวอี (QE Tapering) โดยในช่วงสัปดาห์ของงานสัมมนาดังกล่าว ตลาดการเงินอาจมีความผันผวนสูงขึ้นได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ เฟดแสดงความมั่นใจต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯและประกาศชัดเจนถึงแนวทาง รวมถึงช่วงเวลาการทยอยลดคิวอี

ท่ามกลางความผันผวนที่อาจเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงทั้งปัญหาการระบาดของ COVID-19 รวมถึง โอกาสที่เฟดจะส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น หรือ ลดคิวอี เราจึงมองว่า นักลงทุนควรอยู่ในโหมด Defensive ลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนลง เพื่อเตรียมพร้อมทยอยซื้อสะสมสินทรัพย์เสี่ยงหากตลาดการเงินมีการปรับฐาน นอกจากนี้ นักลงทุนอาจสะสมหุ้นสไตล์ Defensive มากขึ้น อาทิเช่น หุ้นในกลุ่ม Healthcare หรือ สินทรัพย์ในธีม Yield-play เพื่อรับมือในช่วงตลาดผันผวน

นี่คือโฆษณาของบุคคลที่สาม ไม่ใช่ข้อเสนอหรือคำแนะนำจาก Investing.com ดูการเปิดเผยข้อมูลที่นี่หรือ หรือลบโฆษณา

อย่างไรก็ดี แม้ว่า ตลาดอาจผันผวน แต่เรายังคงเชื่อมั่นในแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในฝั่งยุโรป ดังนั้น นักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ ก็ควรหาจังหวะทยอยสะสมหุ้นยุโรป ที่จะได้รับอานิสงส์จากทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป และธีมการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม Cyclical เนื่องจากหุ้นยุโรปมีสัดส่วนอุตสาหกรรม Cyclical ที่สูง เมื่อเทียบกับตลาดอื่นๆ

อนึ่ง สำหรับ นักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้สูงและมีเป้าหมายการลงทุนในระยะยาวเกินกว่า 5 ปี ก็อาจใช้จังหวะที่ตลาดมีการปรับฐานและปิดรับความเสี่ยง ในการทยอยสะสมหุ้น Growth & Innovation เพราะในระยะยาวหุ้นในกลุ่มดังกล่าวจะมีผลกำไรที่แข็งแกร่งและหนุนให้ราคาหุ้นปรับตัวโดดเด่นได้ แต่นักลงทุนต้องพึงระลึกไว้ว่า ในปีนี้ หุ้นกลุ่ม Growth & Innovation อาจเผชิญความผันผวนสูงและอาจให้ผลตอบแทนที่ไม่ดีนัก เนื่องจาก ปัจจัยสำคัญต่อหุ้นกลุ่มดังกล่าว อย่าง บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อได้ ซึ่งบอนด์ยีลด์ 10ปี ในระดับสูง อาจกดดันราคาหุ้นกลุ่ม Growth & Innovation ได้

และที่สำคัญ แม้ตลาดอาจปิดรับความเสี่ยงและกดดันให้ บอนด์ยีลด์ 10ปี ทั่วโลกปรับตัวลดลงมาได้บ้าง แต่เรามองว่า บอนด์ ก็อาจไม่ใช่หลุมหลบความผันผวนที่ดี เพราะยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจกดดันให้บอนด์ยีลด์ระยะยาวปรับตัวสูงขึ้นได้ อาทิ แนวโน้มการทยอยลดคิวอีของเฟด ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงงานสัมมนาวิชาการที่ Jackson Hole ดังนั้น หากนักลงทุนยังไม่พร้อมจะรับความเสี่ยง การเพิ่มสัดส่วนเงินสด หรือ พักเงินไว้ใน กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน รวมถึงเงินฝากต่างประเทศ เพื่อรอจังหวะตลาดปรับฐานหรือรอความชัดเจนของปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว

Risk Factors to keep eyes on

ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรติดตามในเดือนนี้ ประกอบไปด้วยปัจจัยเดิม คือ ปัญหาการระบาดของ Delta ที่อาจกลับมาสร้างปัญหาต่อแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกได้ หากสุดท้าย การระบาดของ Delta ทวีความรุนแรงมากขึ้น จนหลายประเทศต้องกลับมาใช้มาตรการ Lockdown ที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อควบคุมสถานการณ์ โดยเรามองว่า ต้องจับตา ปัญหาการระบาดในสหรัฐฯ ยุโรป และจีน เป็นสำคัญ

นอกเหนือจากประเด็นดังกล่าว แนวโน้มการทยอยลดคิวอีของเฟด ก็จะเริ่มเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ตลาดจับตามอง หลังเฟดได้เปิดเผยในการประชุมเฟดล่าสุดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินได้เริ่มมีการพูดคุยถึงแนวทางการปรับลดคิวอี ซึ่งบางส่วนก็เห็นด้วยกับการลดคิวอีในปีนี้ รวมถึงมองว่า เฟดควรเร่งลดการอัดฉีดสภาพคล่องผ่านการซื้อ ตราสาร MBS ก่อน ซึ่งการพูดคุยกันดังกล่าวของบรรดาคณะกรรมการนโยบายการเงินเฟด สะท้อนให้เห็นว่า เฟดเริ่มมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น จนทำให้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมาก อย่าง การอัดฉีดสภาพคล่องมีความจำเป็นน้อยลง ดังนั้น หากเฟดมีการส่งสัญญาณพร้อมทยอยลดคิวอีในช่วงปลายเดือนสิงหาคม ซึ่งอาจเร็วกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดการเงินลดความเสี่ยงลงและทำให้ราคาสินทรัพย์ผันผวนสูงขึ้นได้

Figure5: คาดการณ์ ปริมาณการซื้อสินทรัพย์หรือการทำคิวอีจาก Goldman Sachs และ ผู้เล่นในตลาด (ที่มา Goldman Sachs)



ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย