August investment outlook Lockdown: มองปัจจัยเชิงลบล่าสุดที่เกิดขึ้นและมีผลท่าให้สมมติฐานของเรา ก่อนหน้านี้เปลี่ยนแปลงไปก็คือการที่เมื่อวานนี้ทาง ศบค.ได้มีมติให้ขยาย ระยะเวลามาตรการ Lockdown ออกไปถึงวันที่ 18 ส.ค.เป็นอย่างน้อย แถมยังมี การเพิ่มพื้นที่สีแดงเข้มจากเดิม 13 จังหวัดขึ้นถึงเท่าตัวเป็น 29 จังหวัด มองปัจจัย ดังกล่าวจะทําให้ระดับการเคลื่อนย้ายของผู้คนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง จากเดิมที่เราประเมินไว้ และอาจนํามาสู่ Downside risk ของ GDP รวมถึง ประมาณการกําไรของบจ.ได้ แม้อาจมี Sentiment เชิงบวกเล็กๆจา คลายให้ร้านอาหารในห้างสามารถเปิดจําหน่ายเพื่อบริการ Delivery แต่เหตุการณ์ Lockdown ที่ยืดเยื่อเช่นนี้ย่อมไม่เป็นผลดีต่อ Sentiment การลงทุนในระยะสั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของสภาพคล่องที่เริ่มหดหายไปจากตลาด สะท้อนผ่าน การมีส่วนร่วมของนักลงทุนทั่วไปที่ลดลง และระดับปริมาณเงินในประเทศหรือ M2 ที่ขยายตัวล่าสุดนับตั้งแต่ปี 2008 (รูปที่ 1) August: ด้วยเหตุนี้ ประเมินภาพดลาดหุ้นไทยเดือนสิงหาคมมีโอกาสย่อตัว ลงก่อนในช่วงต้นเดือน เพื่อสะท้อนความเสี่ยงของการ Lockdown ที่ยาวนาน และขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น นอกจากนั้นปัจจัยต่างประเทศที่อาจเข้ามากดดัน ตลาดในช่วงต้นเดือนอีกก็คือ ดัชนีภาคการผลิตทั่วโลกที่เริ่มแผ่วลง (รายละเอียด ด้านล่าง) อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งเดือนหลัง คาดอาจมี Sentiment เชิง บวกขึ้นมาบ้าง หากในที่ประชุมผู้นําธนาคารกลางโลกที่เมือง Jackson Hole ไม่ได้มีการส่งสัญญาณเข้มงวดนโยบายการเงินใดๆออกมา โดยเฉพาะจากทางฝั่ง ของ Fed Strategy: ในเชิงกลยุทธ์ สาหรับพอร์ตที่ทยอยสะสมหุ้นมาก่อนหน้านี้ที่บริเวณ ดัชนีต่ํากว่า 1550 จุดลงมา มองว่าสามารถถือครองหุ้นไว้ก่อนได้ ส่วนการเข้า สะสมครั้งใหม่ อาจรอจังหวะการย่อตัวแถวบริเวณแนวรับประจําเดือนนี้ที่ เราให้ไว้ที่ 1480-1500 จุด น่าจะเป็นกลยุทธ์ที่ปลอดภัยกว่า เนื่องจากเป็น ระดับที่ Valuation อยู่ต่ําแล้ว โดยซื้อขายเพียงแค่ Forward PE 15.5 เท่าเท่านั้น ต่ํากว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังที่ 17.2 เท่าอยู่พอสมควร PMI: จีนรายงานดัชนีผู้จัดซื้อภาคการผลิตประจําเดือนก.ค.อ่อนแอกว่าที่ตลาด คาดไว้ และถือเป็นระดับต่ําสุดนับตั้งแต่เดือนก.พ.ปีที่แล้ว (รูปที่ 2) บ่งชี้ถึง โมเมนตัมทางภาคการผลิตที่ลดลง ภาพดังกล่าวเมื่อมาประกอบกับสถานการณ์ Covid-19 ที่ระบาดรุนแรงต่อเนื่องในระดับโลก ทําให้เราประเมินว่าสินค้า อุตสาหกรรมส่งออกของเราบางประเภทที่อยู่ใน Supply chain ของภาค การผลดเหล่านี้อาจเผชิญกับความเสี่ยงมากขึ้นในช่วงถัดไป ในทางกับกัน สินค้ากลุ่มอาหารและอุตสาหกรรมการเกษตรมีแนวโน้มจะกลับมาได้รับ ความนิยมอีกครั้ง จากพฤติกรรมการ WFH ที่กลับมามากขึ้น ด้วยเหตุนี้ มองว่าต่อจากนี้ไป ธีมการลงทุนหุ้นกลุ่มส่งออกจะต้องเริ่ม Selective มากขึ้น
แนวรับ 1,503 แนวต้าน 1,535 | บทวิเคราะห์วันนี้ • AMR (ราคาเป้าหมาย 9.76 บาท) ผู้เชี่ยวชาญงานวิศวกรรมวางระบบคมนาคม และระบบ SI มากกว่า 20 ปี • ERW (ถือ ราคาเป้าหมาย 2.80 บาท) ผลกระทบจาก COVID-19 รุนแรงและยาวนานขึ้น • ANAN: Stock comment (ถือ ราคาเป้าหมาย 1.18 บาท) ANAN เตรียมยื่นอุทธรณ์โครงการ “Ashton Asoke” ดําเนินการอย่างถูกต้อง
• Theme: ส่าหรับธีมการลงทุนที่น่าสนใจประจําเดือนสิงหาคมนี้ ได้แก่ 1) การกลับมาอีกครั้งของมาตรการ Covid-19 restrictions ทั่วโลกในรูปแบบต่างๆ ทั้งการแนะนําให้กลับมาใส่หน้ากากอนามัย การบังคับการฉีดวัคซีน การสนับสนุน มาตรการ WFH และการจํากัดการสัญจรต่างๆ ภายหลังแนวโน้มการระบาดของสาย พันธุ์เดลต้าทวีความรุนแรงต่อเนื่อง คาดปัจจัยดังกล่าวส่งผลบวกต่อหุ้นที่ได้ อานิสงส์จากการที่คนใช้เวลาอยู่กับบ้านมากขึ้นอีกครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าใน กลุ่มส่งออกของเราจําพวกอาหารและอุตสาหกรรมการเกษตร มองตัวหุ้นที่ราคายังมี Valuation น่าสนใจ ณ ขณะนี้ได้แก่ PM, SUN, XO ) กลุ่ม Logistics ที่ยังคงมี Valuation ถูก ได้แก่ NCL, WICE
3) กลุ่มเครื่องดื่มที่มียอดการส่งออกช่วยหนุนการเติบโต และมี Upside จากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้แก่ ICHI, SAPPE
4) กลุ่มบรรจุภัณฑ์ที่ Laggard และยังคงมีแนวโน้มการเติบโตของกาไรที่ดี ได้แก่ SFLEX, SFT, UTP
5) กลุ่มการแพทย์ที่ได้อานิสงส์ทางอ้อมจาก Covid-19 ที่รุนแรงต่อเนื่องได้แก่ BDMS, CHG
6) กลุ่มยาและอาหารเสริมที่ได้ประโยชน์จากการที่คนหันมาตระหนักกับสุขภาพมากขึ้น ได้แก่ IP, MEGA 7) กลุ่ม Commodities ต้นน้ํา ซึ่งน่าจะได้ประโยชน์จากราคาน้ํามันที่อยู่สูงต่อไป
ได้แก่ PTTEP AMR: เข้าซื้อขายในกระดาน SET Index วันนี้เป็นวันแรก บริษัทเป็นผู้เชี่ยวชาญใน งานวิศวกรรมออกแบบและการเชื่อมต่อระบบไอทีโซลูชัน รวมถึงให้บริการงานดูแล รักษาและซ่อมบารุงระบบเทคโนโลยีแบบครบวงจร โดยเงินทุนที่ได้จากการระดมทุน ในครั้งนี้ จะช่วยให้บริษัทสามารถลงทุนในการพัฒนาธุรกิจด้านระบบคมนาคมขนส่ง และเมืองอัจฉริยะ ใช้สาหรับการวิจัยและพัฒนาด้านการให้บริการและต่อยอด เทคโนโลยี และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบธุรกิจ ประเมินราคาเป้าหมายปี 2565 ที่ 9.76 บาท ถึงระดับ P/E ที่ 26 เท่า ซึ่งเป็นระดับคัดลดจากค่า P/E เฉลี่ย ย้อนหลังของบริษัทที่ประกอบธุรกิจใกล้เคียงกันในตลาดต่างประเทศที่อยู่ที่ 32 เท่า
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Trinity Securities