ระยะสั้น Rebound แต่ต่อไปยังผันผวน Top Pick เลือก ADVANC, BDMS, MCS
การปรับตัวลดลงแรง 2 วันต่อเนื่อง จนลงมาสู่บริเวณ 1535 จุด ซึ่งเป็นฐาน ราคาสำคัญ เป็นไปได้ว่าจะทำให้การดีดตัวกลับขึ้นมาของ SET Index แต่เชื่อ ว่าน่าจะเป็น Technical Rebound ในระยะสั้น เพราะประเมินจากปัจจัย แวดล้อมทางพื้นฐานแล้วยังมีหลายปัจจัยที่จะสร้างแรงกดดัน ไม่ว่าจะเป็น จำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 ที่เดินหน้าทำ New High เงินบาทที่อ่อนค่าต่อ การเปิด Short ในตลาด Future ของนักลงทุนต่างชาติในระดับสูง นอกจากนี้ หากพิจาณาสัญญาณทาง Technical ก็พบว่าหุ้น Cap. ใหญ่มีสัญญาณลบ ภายใต้องค์ประกอบดังกล่าวทำให้เชื่อว่า SET Index ยังมีความเสี่ยงต่อการที่ จะปรับตัวลดลงได้อยู่ แนวรับถัดไปที่ 1510
แม้ระยะสั้นจะRebound แต่ในช่วงต่อไป SET Indexยังมีโอกาสปรับฐานอยู่ พอร์ตจำลองวานนี้ Stop profit หุ้น SAPPE ให้นำเงินที่ได้ 5% สำรองเป็น เงินสดเพิ่มเป็น 20% Top Pick เลือก ADVANC, BDMS และ MCS
ตลาดหุ้นต่างประเทศ ฟื้น หนุนตลาดหุ้นไทย Rebound ฟื้นตัวช่วงสั้น
ตลาดหุ้นต่างประเทศ ทั้งสหรัฐและยุโรป ปิดบวกแรง 1-2% (ดังรูป) เช่นเดียวกับราคา Commodity โดยเฉพาะ ราคาน้ำมันดิบ เชื่อว่าเป็น Technical Rebound หลังจากวันจันทร์ปรับฐานแรงจากความกังวล Covid สายพันธุ์ Delta ทำให้หลาย ประเทศทั่วโลกกลับมาพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น
ASPS ประเมินตลาดหุ้นต่างประเทศและสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ ในช่วงที่เหลือของสัปดาห์ น่าจะผันผวนสูงต่อ เพราะ Factor กดดัน COVID ยังมีอยู่ แนวโน้มผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น ทำให้หลายประเทศเริ่มกลับมาคุมเข้มกิจกรรมเศรษฐกิจมากขึ้น และเชื่อว่าตลาด น่าจะรอและติดตาม 22 ก.ค. การประชุมธนาคารกลางยุโรป ECB และ 23 ก.ค. รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือน มิ.ย. ของสหรัฐ และยุโรป
ส่วนไทย ASPS ประเมิน SET Index คาดได้ Sentiment บวกและคาดจะปรับขึ้นตาม ตลาดหุ้นต่างประเทศ ประเมิน Rebound สั้นๆ ประเมินการปรับขึ้นน่าจะจำกัด หาก พิจารณาปัจจัยพื้นฐาน 1.) วันนี้รายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ เช้านี้ ทำ All time high ที่ 1.3 หมื่นราย 2.) เงินบาทอ่อนค่า เช้านี้ 32.8 บาท/ดอลลาร์เป็นปัจจัยกดดัน Flow จากต่างชาติ ฯลฯ โดยในประเทศวันนี้ให้น้ำหนัก กระทรวงพาณิชย์จะรายงานยอด ส่งออก และนำเข้าไทย เดือน มิย. คาดแนวโน้มจะออกมาขยายตัวต่อเนื่อง เพราะหาก ดูยอดการค้าของจีนทั้งยอดส่งออกและนำเข้าและที่ประกาศออกมาช่วงกลางสัปดาห์ที่ แล้ว ขยายตัวสูงมาก ซึ่งไทยมีตลาดส่งออกไปจีนอันดับ 1 ราว 12%ของตลาดส่งออก รวม ทำให้เชื่อว่าหุ้นกลุ่มส่งออกจะยังได้ Sentiment บวก โดยเฉพาะกลุ่มส่งออก อาหารแนะนำ NER, STA, TU, TFG, กลุ่มยายนต์ SAT, ส่งออกโครงสร้างเหล็ก MCS, ส่วนกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ KCE, DELTA, HANA ราคาหุ้นสูงกว่า Fair Value แนะนำเพียง เก็งกำไร
ไทยนำเข้าวัคซีนเพิ่มใน 4Q64 เป็นเพียง Sentiment บวกระยะสั้น การฉีดและจัดหาวัคซีน COVID-19 ของทั่วโลก และไทยมีความคืบหน้าต่างๆที่สำคัญ คือ
-
ความคืบหน้าการฉีดวัคซีนทั่วโลก : ปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 โดย ราว 23.5% ของประชากร ขณะที่ไทย ล่าสุดมีจำนวนผู้ฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส จำนวน 11.07 ล้านราย หรือคิดเป็น 15.9% ของประชากรทั้งประเทศ ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนว่าการฉีดวัคซีนของไทยค่อนข้างล่าช้า เมื่อเทียบกับ ค่าเฉลี่ยโลก และถ้าพิจารณาในแต่ละพื้นที่พบว่า กรุงเทพฯและปริมณฑลมี อัตราการฉีดวัคซีนเข็มแรก 35.4% ส่วนจังหวัดอื่นๆมีอัตราการฉีด 9.8% โดย ยังไม่มีจังหวัดใดมีอัตราการฉีดในระดับที่จะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd immunity) หรือไม่ต่ำกว่า70% ยกเว้นภูเก็ต ASPS คาดการฉีดวัคซีนที่ล่าช้า มีโอกาสส่งผลให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวล่าช้ากว่าเศรษฐกิจโลกตามไปด้วย ถ้า ไทยไม่เร่งการฉีดวัคซีนให้เร็วขึ้น
-
ความคืบหน้าการจัดหาวัคซีน (Supply วัคซีน) : ตามแผนการจัดหาวัคซีน ของไทย ภาครัฐตั้งเป้าหมายจัดหาวัคซีนไม่น้อยกว่า 150 ล้านโดสภายในปี 2565 ซึ่งจะเพียงพอแก่ประชากรไทยทั้งประเทศที่มีราว 70 ล้านคน (1 คน ฉีด 2 โดส) อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาตามแผนนำเข้าวัคซีน จะพบว่าวัคซีนที่ไทย นำเข้ามาไปกระจุกอยู่ในช่วง 4Q64 สอดคล้องกับความคืบหน้าล่าสุด เมื่อวาน นี้ ที่ไทยเซ็นสัญญาจัดซื้อวัคซีน Pfizer จำนวน 20 ล้านโดส โดยมีกำหนดเข้า มาใน 4Q64 ซึ่งความคืบหน้าดังกล่าว แม้จะพอช่วยสร้าง Sentiment เชิงบวก จำนวนผู้ฉีดวัคซีนของไทยรายจังหวัด ที่มา: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | 4 กลยุทธ์การลงทุน B Y RES EARCH D IVISION ต่อตลาดหุ้นในระยะสั้นได้บ้าง แต่ ASPS ประเมินในระยะกลาง-ยาว ตลาดจะ ถูกกดดันต่อ เพราะวัคซีนส่วนใหญ่ไปกระจุกช่วง 4Q64 ซึ่งอาจไม่สอดคล้อง (Mismatch) กับสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่ยังหนักหน่วงใน
การฉีดวัคซีนที่ล่าช้า และการจัดหาวัคซีนที่อาจ Mismatch กับการระบาดของไทย ASPS ประเมิน SET INDEX ในช่วงที่เหลือของเดือน ก.ค. และ ส.ค 64 ถูกกดดันจาก ผู้ติดเชื้อยังเพิ่มขึ้น และภูมิคุ้มกันหมู่จากการฉีดวัคซีนให้ได้ 70% ของประชากรมี โอกาสจะเลื่อนและไปเกิด 1H65 คาดยังมีโอกาสกดดันการฟื้นตัวหุ้นกลุ่มเปิดเมือง เช่น ท่องเที่ยว, ขนส่ง, ค้าปลีก, ก่อสร้าง, บันเทิง, ศูนย์การค้า เป็นต้น
หลบตลาดผันผวนกับหุ้น Dividend ADVANC MCS และหุ้น Defensive BDMS
แม้วันนี้ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสรีบาวน์ตามตลาดหุ้นโลกที่ฟื้นตัว รวมถึงอาจมีแรง Cover Short จากต่างชาติบ้าง หลังจากต่างชาติ Short สัญญา SET50 Futures 3 วันติด สูง ถึง 4.5 หมื่นสัญญา
อย่างไรก็ตามภาพตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในภาวะผันผวนจากปัจจัย COVID-19 ที่กลับมา ระบาดทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งปกติตลาดหุ้นในเดือน ส.ค. มักจะเป็นหนึ่งในเดือน ที่ผันผวนมาก โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี -1.2% (ต่ำสุดเป็นอันดับ 2 เมื่อ เทียบกับเดือนอื่นๆ) โดยเฉพาะในเดือน ส.ค. 56 ตลาดมีความกังวลประเด็น Tapering QE ปรับตัวลงถึง -9% ในเดือนเดียว
หนึ่งในกลยุทธ์รับมือความผันผวนที่ดีของตลาดคือ หุ้นปันผลสูง โดยหุ้นปันผลสูงมักจะ Outperform ตลาดได้ ในเวลาที่ตลาดหุ้นปรับฐานแรงเสมอ ในอดีต SET Index ปรับ ฐานแรง 11 ครั้ง แต่ SETHD (ตัวแทนหุ้นปันผลสูง) ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าถึง 9 ใน 11 ครั้ง
อีกทั้งปัจจุบันใกล้เข้าสูงช่วงการจ่ายปันผลระหว่างกาลพอดี โดยปีที่แล้วมีบริษัท ประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาล 146 บริษัท คิดเป็นสัดส่วนผลตอบแทนต่อ SET Index ราว 6 จุด ทำให้อาจเห็นการเข้าสะสมหุ้นปันผลมากขึ้นในช่วงนี้
สรุปคือ ทั้งตลาดหุ้นที่ยังอยู่ในภาวะผันผวน บวกกับกำลังเข้าสู่ช่วงการจ่ายปันผล ระหว่างกาลพอดี ทำให้การเติมหุ้นพื้นฐานแข็งแกร่งปันผลสูงลงในพอร์ตการลงทุน น่าจะช่วยลดความผันผวนของพอร์ต และยังเสริมให้มีโอกาส Outperform ตลาด สูง โดยพอร์ตจำลองของฝ่ายวิจัยฯ แนะนำ 4 หุ้นพื้นฐานแข็งแกร่ง แนวโน้มกำไร ฟื้นตัว และที่สำคัญคือมีปันผลสูง MCS, ADVANC, NER, LALIN
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities