รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

10 เรื่องน่ารู้ … หุ้น SNNP ที่ไม่มีใครบอกคุณ

เผยแพร่ 20/07/2564 08:58
อัพเดท 09/07/2566 17:32

เจเล่ เบนโตะ โลตัส กำลังจะเข้าตลาดในวันพรุ่งนี้ ใครสนใจเป็นเจ้าของหุ้นขนมและเครื่องดื่มเหล่านี้ อยากให้อ่านข้อมูลที่วิตามินหุ้นเตรียมมาให้ อยากให้เข้าใจว่าจุดแข็งคืออะไร และความเสี่ยงอยู่ที่ตรงไหน ถ้าพร้อมแล้วเชิญรับชมกันได้เลยครับ

1️. จากพ่อค้าส่งขนมสู่เจ้าของแบรนด์สี่พันล้าน

คุณวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล เริ่มต้นช่วยแม่ขายส่งขนมข้างโรงหนังปารีส ย่านตลาดมหานาค ในชื่อ “ศรีวิวัฒน์” หรือ “ตั้งกิมเฮง” ต่อมากิจการดี ขยับขยายมาเป็นยี่ปั๊วส่งขนมแถบชานเมืองและภาคกลางในชื่อ “ศรีเจริญพาณิชย์”

จุดอ่อนของค้าส่ง คือ ไม่มีแบรนด์ของตัวเอง เลยเริ่มสร้างแบรนด์ทั้งเม็ดก๋วยจี๊ตราระฆัง เวเฟอร์ตราคุณหนู บิสกิตตราช้าง แต่สินค้าหลายตัวก็ไม่ประสบความสำเร็จนัก เรียกได้ว่าล้มลุกคลุกคลานมาไม่น้อยจนกว่าจะมาปังกับ เจเล่ เบนโตะ โลตัส

มีการพัฒนาจากพ่อค้า ระบบเถ้าแก่ ทำการจ้างผู้บริหารมืออาชีพเข้ามาทำงานแบบเป็นระบบมากขึ้น

นอกจากนี้คุณวิวรรธน์เองยังเป็นประธานกรรมการบริหารบริษัท เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (BK:SSP) โดยคุณวรุตม์ CEO เป็นลูกเขย และมีคุณธัณฐภรณ์ ลูกสาวบริหารงาน

2️. Business Model = โรงงานผลิต + สร้างแบรนด์ + กระจายสินค้า

รูปแบบการทำธุรกิจเรียบง่ายมีโรงงานผลิตในไทย 4 แห่ง กัมพูชา 1 แห่ง และกำลังสร้างโรงงานอีก 1 แห่งที่เวียดนาม แต่ละโรงงานก็ทำสินค้าแต่ละประเภทแยกกันไป ตอนนี้มี Utilization 60-75% เมื่อก่อนเคยขึ้นไปถึง 80-90% โดยเฉพาะโรงงานที่ผลิตเบนโตะ

สินค้าเน้นตลาด mass แต่เดิมหน้าตาจะไม่สวย หีบห่อธรรมดาๆ แต่ภายหลังเน้นสร้างแบรนด์มากขึ้น บรรจุภัณฑ์สวยงาม ดูสะอาด ดูดีขึ้น และใช้ดาราชื่อดังมาเป็น presenter ทั้งหมาก ปริญ คิมเบอร์ลี่ ต่อ ธนภพ

เรื่อง presenter เป็นจุดนึงที่ต้องฝากให้คิด เพราะใช้คนดังที่ซ้ำกับแบรนด์อื่นที่มีเม็ดเงินโฆษณามากกว่า ไม่แน่ใจว่า Top of Mind ของดาราคนนั้นจะใช่แบรนด์ของ SNNP หรือเปล่า และ Relevancy ของดาราแต่ละคนกับแบรนด์มีมากน้อยแค่ไหน

ต่อมามีบริษัทลูกชื่อ สิริโปร ช่วยกระจายสินค้า โดยมีศูนย์กระจายสินค้า 11 แห่ง หน่วยรถเงินสด 170 คัน (cash van) ครอบคลุม 70,00 ร้านค้า (direct coverage)

3️. SNNP = Snack + Beverage

SNNP ขายขนมขบเคี้ยว และเครื่องดื่ม เป็นสินค้าหลัก โดย สัดส่วนรายได้

54% Snack แบรนด์หลัก คือ เบนโตะ และโลตัส (ขาไก่)

41% Beverage แบรนด์หลักคือ เจเล่ และมีเครื่องดื่มอย่าง น้ำวิตามิน Aqua-Vitz น้ำมะพร้าว Magic Farm

5% เป็นการจัดจำหน่ายโดยบริษัทลูกชื่อ สิริโปร

แต่ถ้าเราแบ่งเป็นแบรนด์ เจเล่ขายดีสุด 35% รองมาคือ เบนโตะ 31% และโลตัส 15%

ในแง่ของ GPM Snack จะสูงกว่า Beverage อยู่นิดหน่อย แปลว่าถ้าจะดีต้องเน้นขาย เบนโตะให้ได้เยอะๆ แต่สถานการณ์ปัจจุบันตรงกันข้าม เพราะเจเล่ขายดีกว่า

4️. ร้านโชว์ห่วย และ CLMV คือ โฟกัส

ถ้าแบ่งช่องทางการขายในประเทศ 80% ต่างประเทศ 20% มีขายกว่า 35 ประเทศ แต่ที่เน้น คือ เวียดนาม และกัมพูชา โดยสัดส่วนเวียดนามสูงกว่าและโตเร็ว จึงเป็นเหตุผลที่ SNNP จะไปตั้งโรงงานที่นั่นเพิ่มเติม

ในประเทศขายเจเล่ มากกว่าเบนโตะอยู่นิดหน่อย แต่ถ้าเป็นต่างประเทศขายเบนโตะ และโสตัสมากกว่า

แล้วถามว่า จีน ขายด้วยมั้ย ขายสิ ตอนนี้ตั้งตัวแทนนำเข้าและจัดจำหน่ายแล้ว แต่ยังไม่โฟกัสเท่า CLMV

ตัดภาพกลับมาที่ในประเทศ 52% ขาย Modern Trade (MT) โลตัส บิ๊กซี ท๊อปส์ 7-11 และ 48% ขาย Traditional Trade คือ ร้านโชว์ห่วยต่างๆ

ที่บอกว่า SNNP เน้น TT ก็เพราะว่าเป็นตลาดที่เหมาะกับสินค้าของบริษัท และตั้งสิริโปรขึ้นมาเพื่อจัดจำหน่ายให้โดยเฉพาะ

5️.สิริโปร จากบริษัทย่อย สู่กิจการร่วมค้า

เดิม SNNP ให้ DKSH, ตะวันแดง และ Durbell จัดจำหน่ายสินค้าให้ ซึ่งต้องถือว่าเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่เข้าถึงร้านค้าได้ลึก และครอบคลุมทุกภาค แต่เมื่อกรกกฎาคม 2562 เปลี่ยนมาตั้ง บริษัทลูก คือ สิริโปร จัดจำหน่ายให้ ผลที่ตามมาคือ

เป็นบริษัทในเครือ ควบคุมได้ เน้นได้ว่าจะขายสินค้าอะไรบ้าง ขายที่ไหน

แต่แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายมหาศาลทั้งตั้งศูนย์กระจายสินค้า ค่ารถ ค่าเซลล์ ค่าเสื่อม ทำให้ SG&A บวมมาก ต้นทุนการเงินเพิ่มขึ้นมาก ในปี 2562, 2563 และกระทบกับ NPM เหลือไม่ถึง 2%

และการเข้าถึงร้านค้าต่างๆ ไม่ลึกเท่าเจ้าเดิมที่เคยทำให้ แปลว่า Distribution จะยังไม่ดีเท่า ข้อสังเกต คือ บริษัทเลือกที่จะบอกแต่ Weighted Distribution แต่ไม่บอก Numeric Distribution แปลว่า เข้าร้านใหญ่ได้ แต่อาจจะยังเข้าร้านได้ไม่เยอะเหมือนเดิม ซึ่งถ้าจริงจะทำให้ยอดขาย TT ลดลง

ต่อมา Q1’64 บริษัทเพิ่มทุนให้ บุญรอด เข้ามาถือหุ้น 30% ต่อไปน่าจะมีสินค้าในเครือนี้มาขายเพิ่มขึ้น แต่ว่างบการเงินจะเปลี่ยนไป จากเดิมรวมงบรับรู้หมดทั้งรายได้ ค่าใช้จ่าย แต่ตั้งแต่ 17 มีนาคม เป็นต้นมาจะกลายเป็นกิจการร่วมค้า รับรู้เพียงส่วนแบ่งกำไร (จริงๆ คือ ส่วนแบ่งขาดทุน เพราะสิริโปรยังขาดทุนอยู่)

==================

6️. ผลประกอบการ รายได้ลด กำไรลด

  • ปี 2561 รายได้ 4,887 ล้านบาท กำไรสุทธิ 252 ล้านบาท

  • ปี 2562 รายได้ 4,749 ล้านบาท กำไรสุทธิ 105 ล้านบาท

  • ปี 2563 รายได้ 4,435 ล้านบาท กำไรสุทธิ 94 ล้านบาท

Q1’63 รายได้ 1,085 ล้านบาท กำไรสุทธิ 15 ล้านบาท

Q1’64 รายได้ 1,238 ล้านบาท กำไรสุทธิ 178 ล้านบาท

อธิบายให้เห็นภาพในแต่ละปี เป็นแบบนี้

  • ปี 2561 เหตุการณ์ปกติ ไม่มี COVID ออกสินค้าใหม่ มีแคมเปญปกติ จ้าง 3rd party จัดจำหน่ายให้

  • ปี 2562 เลิกจ้าง 3rd Party แล้วให้ Siripro จัดจำหน่ายตอนกลางปี จะมีช่วงรอยต่อรายได้หาย และใช้เวลากระจายสินค้า SG&A จะเพิ่มขึ้นมากทั้งค่ารถและค่าคน >> รายได้ลด กำไรลดมากกว่า

  • ปี 2563 เจอ COVID ยอดขายตกเยอะ Bento ตกหนักกว่า เพราะนักท่องเที่ยวหาย SG&A ยังเยอะอยู่ กำไรลด

  • ปี 2564 COVID ยังอยู่ มีรายการพิเศษ 128 ล้านบาท จากการเพิ่มทุนขายหุ้นให้บุญรอด 30%

7️.GPM เพิ่ม NPM ลด

  • ปี 2561 GPM 25% NPM 5.1%

  • ปี 2562 GPM 25.4% NPM 1.76%

  • ปี 2563 GPM 25.7% NPM 1.67%

Q1’63 GPM 25.6% NPM 1.6%

Q1’64 GPM 26.3% NPM 13.9% (NPM ปกติ 4-5%)

GPM เพิ่มขึ้นทุกปี เพราะว่าปรับปรุงกระบวนการผลิตได้ดี มีการทำ Sku Rationalization สินค้าไหนขายน้อย อัตรากำไรน้อย ตัดทิ้ง ทำเหมือน ICHI, OSP และทำ Premiumization ขายห่อใหญ่ ราคาขายสูงขึ้น แต่ต้นทุนขึ้นน้อยกว่า

NPM ลดลงตลอด เกิดจากการปรับโครงสร้างตั้งสิริโปรขึ้นมา ค่าใช้จ่ายมหาศาล แต่ว่าปี 2564 จะเริ่มกลับมาดีขึ้น เพราะกลายเป็นกิจการร่วมค้าแล้ว คือ มาร์จื้นดีขึ้น แต่กำไรที่เป็นตัวเงินไม่แน่ใจ

จุดที่น่าสนใจคือ ถ้าเทียบกับเพื่อนที่ขายน้ำ ขายขนม ในตลาด ส่วนมากมี มาร์จิ้นสูงกว่า SNNP

8️. ขาย IPO ได้เงินมาคืนหนี้ และลงทุนเวียดนาม

ได้เงินจาก IPO มา 2,200 ล้านบาท

  • เอาไปใช้หนี้ประมาณ 1,800 – 2,100 ล้านบาท

  • เอาไปลงทุนโรงงานที่เวียดนาม 60-450 ล้านบาท

  • ที่เหลือเป็นเงินทุนหมุนเวียน

9️. IPO 9.20 บาท P/E 83.2 เท่า

P/E สูงมาก แต่เป็นเพราะว่ากำไรปีที่แล้วต่ำมาก และมีขาดทุนใน Q2’63 ด้วย แต่ถ้าถามว่า กำไรของ SNNP ควรเป็นเท่าไหร่ อันนี้ตอบยากนิดนึง เพราะว่า สิริโปรที่เคยมาฉุดตรง SG&A จะหายไป แต่รายได้ก็จะลดลงตาม และมาร์จิ้นจะดีขึ้น เราต้องรอให้เห็น Q2’64 ภาพจะชัดขึ้น แต่ผมให้ไอเดียไว้แบบนี้ครับ

ในอดีต SNNP ทำกำไรได้ประมาณไตรมาสละ 50-60 ล้านบาท โดยเฉลี่ย

ในอนาคตสมมติ รายได้กลับไปอยู่ในระดับ 4,500-4,800 ล้านบาทได้ เราก็เอา NPM ของ Q2 ที่กำลังจะออกมาประเมินได้ ซึ่งถ้าเราย้อนไปที่ปี 2561 ยังไม่มีสิริโปร NPM 5% ในอนาคตก็ไม่ควรจะน้อยกว่านั้น

10. มีสตอรี่ที่ตลาดชอบ รายได้อยากโตเท่าตัว และขยายไปต่างประเทศ

ปีนี้จะออกสินค้ากัญชง ตลาดน่าจะสนใจว่าจะเป็นอย่างไร

ปี 2026 อีก 5 ปี SNNP บอกว่ายอดขายจะเป็น 8,000 ล้านบาท คือ Double Business และสัดส่วนมาจาก CLMV เพิ่มขึ้น 20% เป็น 30%

และจะเริ่มบุกตลาดไปจีนต่อในอนาคต

ฟังดูแล้วตลาดน่าจะชอบ และคอยติดตามว่าจะทำได้แค่ไหน CLMV ดูดีเพราะไปตั้งโรงงานเองด้วย มาร์จิ้นมีโอกาสลดลง ถ้าขายสินค้าได้เยอะ กำไรจะมา แต่ถ้ากลับกัน ขายได้น้อย ค่าเสื่อมจะกินกำไรแทน ถ้ากำไรไม่มาตามคาด ตลาดก็จะเปลี่ยนใจไม่ชอบได้ ต้องติดตาม

เพื่อนๆ คนไหนสนใจ ลองพิจารณากันดูครับ การลงทุนมึความเสี่ยง วิตามินหุ้นเพียงให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเท่านั้น โปรดพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนลงทุนครับ

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกทาง Stock Vitamins - วิตามินหุ้น

ความคิดเห็นล่าสุด

👍🏻
ขอบพระคุญมากครับ ชอบๆ ข้อมูลเเน่นมาก ติดตามตลอดครับ
ขอบคุณข้อมูลมากครับผม เดี๋ยวพรุ่งนี้จะลองไปส่องดูครับ
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย