หุ้นในตลาดลงทุนยุโปรปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเช้าของวันพุธ รายงานผลประกอบการที่เป็นบวกสามารถเอาชนะความกลัวของตลาดที่มีต่อภาวะเงินเฟ้อได้ชั่วคราว แต่สำหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯ นั้นดัชนีทั้งสี่ล้วนแล้วแต่เปิดตลาดติดลบ รัสเซล 2000 ปรับตัวลดลงมากกว่า 1.2% แนสแด็กติดลบเกิน 2% ดาวโจนส์ -1.4% สุดท้ายเอสแอนด์พี 500ปรับตัวลดลง 1.34%
ก่อนที่ตลาดลงทุนฝั่งสหรัฐฯ จะเปิด ดัชนี STOXX 600 ของยุโรปดีดตัวกลับขึ้นมาจากระดับติดลบเกือบ 2% สาเหตุของการดีดขึ้นครั้งนี้เป็นเพราะนักลงทุนโยกเงินจากกลุ่มเติบโตเข้าไปยังกลุ่มวัฎจักร นอกจากนี้หุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะตลาดติดว่าความต้องการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานหลังจากเศรษฐกิจกลับมาเปิดเต็มตัวจะทำให้มีความต้องการแร่ต่างๆ อย่างเช่นเหล็ก ทองแดง ไม้แปรรูปเพิ่มขึ้น
แต่สิ่งที่ตลาดลงทุนกำลังกลับมาให้ความสนใจก็คือการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งดูเหมือนว่าจะยิ่งบีบให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องรีบรัดกุมนโยบายทางการเงินมากขึ้น วันนี้นักลงทุนจึงได้ตั้งตารอดูตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนเมษายนของสหรัฐอเมริกาที่จะประกาศออกมาในช่วงหัวค่ำว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรกับตลาด ก่อนหน้านั้นตัวเลข CPI ของเยอรมันและฝรั่งเศสได้มีการประกาศออกมาแล้วซึ่งตรงกันกับตัวเลขที่นักวิเคราะห์คาดการณ์
หุ้นของธนาคารเยอรมัน ‘Commerzbank’ (DE:CBKG) กระโดดขึ้น 7% หลังจากรายงานผลประกอบการสามารถเอาชนะตัวเลขคาดการณ์ได้ หลังจากนั้น Commerzbank ก็ได้ประกาศตัวเลขคาดการณ์ผลกำไรในไตรมาสถัดไปทันที
ในขณะเดียวกันหุ้นของบริษัทผู้ผลิตแอลกอฮอล์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ‘Diageo’ (LON:DGE) ประกาศว่าการทำเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมเป็นสินค้าออร์แกนิคมีกำไรเพิ่มขึ้น 14% ความได้เปรียบนี้ทำให้บริษัทมีโอกาสต่อยอดแผนการคืนเงินต้นทุน นี่คืออานิสงส์จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ข่าวดีนี้ทำให้หุ้นของบริษัทกระโดดขึ้น 3% สร้างจุดสูงสุดใหม่ได้นับตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2019
หุ้นเอเชียปรับตัวลดลงสู่จุดต่ำสุดในรอบเจ็ดสัปดาห์ สาเหตุของขาลงครั้งนี้ก็ไม่ใช่เรื่องอื่นใดนอกจากความต้องการหลีกเลี่ยงภาวะเงินเฟ้อ ในขณะเดียวกันราคาสินค้าโภคภัณฑ์อย่างเช่นทองแดงและไม้แปรรูปก็ปรับตัวขึ้นซึ่งเป็นตัวยืนยันการมาถึงของปัญหาเงินเฟ้อได้เป็นอย่างดี
ดัชนี MSCI ของตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิกที่ไม่นับรวมประเทศญี่ปุ่นปรับตัวลดลง 1.5% ลงมายังจุดต่ำสุดของวันที่ 26 มีนาคม นี่คือขาลงต่อเนื่องจากวันอังคาร 1.6% นอกจาก MSCI เอเชียแปซิฟิกแล้ว ตลาดหุ้นอื่นๆ ก็ได้รับผลกระทบจากความกังวลเงินเฟ้อด้วยเช่นกัน ตลาดหุ้นออสเตรเลียปรับตัวลดลง 0.7% KOSPI เกาหลีใต้ปรับตัวลดลงมา 1.5% Nikkei ญี่ปุ่นปรับตัวลดลง 1.6% หุ้นบลูชิพของประเทศจีนมีราคาเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย สุดท้ายตลาดหุ้น{{38017|ไต้หวัน}ร่วงลง 4.1% จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19
ขาลงที่เกิดกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อวานนี้ส่วนใหญ่เกิดจากหุ้นที่ได้ประโยชน์จากช่วงฟื้นตัวเช่นกลุ่มพลังงาน การเงินและอุตสาหกรรมถูกเทขายมากขึ้น แต่นักลงทุนก็ไม่ได้เชื่อในขาลงซะทีเดียว การที่ดัชนีแนสแดก 100 ปรับตัวลดลงแค่ 0.1% แสดงให้เห็นว่ายังมีคนเชื่อว่าตลาดจะสามารถกลับขึ้นไปเป็นขาขึ้นได้ สิ่งที่ตลาดกำลังรอมากที่สุดตอนนี้คือท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่มีต่อภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบัน
สาเหตุที่นักลงทุนบางส่วนยังเชื่อในขาขึ้นมาจากภาพรวมผลประกอบการของบริษัทเอกชนต่างๆ ข้อมูลจาก Refinitiv IBES ระบุว่ากำไรของบริษัทที่รายงานผลประกอบการไตรมาสที่หนึ่งเพิ่มขึ้นมากถึง 90.2% มากกว่าตัวเลขคาดการณ์ 83.1%
แม้ว่านักวิเคราะห์หลายฝ่ายจะเห็นตรงกันว่าเฟดต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อสกัดกั้นภาวะเงินเฟ้อ แต่ฝั่งผู้วางนโยบายการเงินก็ยังคงทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อน เลล เบรนนาร์ด หนึ่งในสมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟดยังคงย้ำคำเดิมว่าช่วงเวลาเช่นนี้เฟดจะต้องนิ่งเอาไว้ให้ได้ จนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นกลับขึ้นมาได้ตรงตามเป้าหมาย
กราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปียังคงพยายามที่จะกลับเข้าสู่แนวโน้มขาขึ้นตามเดิม
นักลงทุนยังคงไม่แน่ใจว่าภาวะเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ ตัวเลข CPI ในวันนี้จะเป็นตัวกำหนดว่าพวกเขาควรจะขายดอลลาร์ทิ้งหรือไม่
แท่งเทียนขาขึ้นของกราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐหดตัวลงทันทีเมื่อขึ้นมาเจอกับแนวต้านจากเส้นเทรนด์ไลน์ขาขึ้นที่ลากมาตั้งแต่จุดต่ำสุดวันที่ 6 มกราคม เราจะยังมองว่ากราฟมีโอกาสปรับตัวขึ้นตราบใดที่ตัวดัชนียังไม่หลุดจุดต่ำสุดล่าสุดลงไป ถึงกระนั้นก็ยังมีแนวรับรออยู่ที่ 89.68 จุดเพื่อความไม่ประมาท
ราคาทองคำหลังจากขึ้นมาชนกรอบขาขึ้นด้านบนแล้วก็ยังไม่ยอมขยับตัวขึ้นต่อ และยังไม่ยอมที่จะปรับตัวลดลงต่ำกว่า $1,820 ด้วย
ราชาแห่งสกุลเงินดิจิทัลบิทคอยน์ยังคงวิ่งอยู่ในกรอบไซด์เวย์
หลังจากที่พยายามสร้างขาขึ้นรอบใหม่หลายต่อหลายครั้งแต่ก็ยังไม่สำเร็จ จนทำให้ฝั่งผู้ศรัทธาบิทคอยน์เริ่มเหนื่อยไปตามๆ กัน ตอนนี้นักวิเคราะห์เริ่มมองแล้วว่ากราฟบิทคอยน์อาจกำลังสร้างรูปแบบลิ่มลู่ขึ้น (Rising Wedge) หากหลุดกรอบนี้ลงมาจะเข้าทางรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) ที่รออยู่แล้วเลยหรือไม่ ถ้าเกิดภาพนี้เกิดขึ้นจริง เราอาจมีโอกาสเห็นบิทคอยน์ที่ราคา $30,000
น้ำมันดิบ WTI ยังคงทรงตัวอยู่เหนือ $65 ต่อบาร์เรล ข่าวที่ทำให้ราคาน้ำมันยังปรับตัวอยู่ในขาขึ้นได้ตอนนี้คือการโจมตีท่อส่งน้ำมันของแฮกเกอร์ ตอนนี้เริ่มส่งผลให้บางพื้นที่ของสหรัฐอเมริกาขาดแคลนน้ำมันแล้ว
ราคาน้ำมันอาจสามารถยืนเหนือรูปแบบธงลู่ลงได้สำเร็จ รูปแบบธงนี้แสดงให้เห็นถึงความพยายามของแรงฝั่งซื้อที่ต้องการพาราคาน้ำมันขึ้นไปยังจุดสูงสุดเมื่อวันที่ 8 มีนาคมได้ ที่น่าสนใจคืออินดิเคเตอร์ ROC กำลังสร้างรูปแบบ double-top หากหลุดเส้น neckline ลงมา มีโอกาสที่ราคาน้ำมันจะเปลี่ยนแนวโน้มได้
ข่าวเศรษฐกิจสำคัญ
- ถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางอังกฤษในวันพฤหัสบดี
- การประกาศตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในวันพฤหัสบดี
- การประกาศดัชนีราคาผู้ผลิตของสหรัฐในวันพฤหัสบดี
- การประกาศตัวเลขยอดค้าปลีกในวันศุกร์
สรุปความเคลื่อนไหวก่อนเปิดตลาด
ตลาดหุ้น
- ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ฟิวเจอร์สปรับตัวเล็กน้อย
- ดัชนี STOXX 600 ปรับตัวขึ้น 0.6%
- ดัชนี MSCI เอเชียแปซิฟิกปรับตัวลดลง 1%
- ดัชนี MSCI ตลาดเกิดใหม่ปรับตัวลดลง 0.5%
ตลาดสกุลเงิน
- ดัชนีดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้น 0.1% .
- กราฟ EUR/USD ปรับตัวลดลง 0.1% หรือ 1.2139
- กราฟ GBP/USD เปลี่ยนแปลงราคาเล็กน้อย = 1.4147
- กราฟ USD/CNY ปรับตัวลดลง 0.2% หรือ 6.44 ต่อดอลลาร์
- กราฟ USD/JPY ปรับตัวลดลง 0.2% หรือ 108.79 ต่อดอลลาร์
ตลาดพันธบัตรรัฐบาล
-
กราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีปรับตัวลดลงมายัง 1.61%
- กราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 2 ปีปรับตัวลดลงมายัง 0.16%
- กราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมันอายุ 10 ปีปรับตัวลดลงมาหนึ่งจุดเบสิสคิดเป็น -0.17%
- กราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นหนึ่งจุดเบสิสคิดเป็น 0.083%
- กราฟผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหราชอาณาจักรอายุ 10 ปีปรับตัวลดลงหนึ่งจุดเบสิสคิดเป็น 0.821%
ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวขึ้น 1.1% คิดเป็น $65.97 ต่อบาร์เรล
- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวขึ้น 1% คิดเป็น $69.24 ต่อบาร์เรล
- ราคาทองคำอ่อนค่าลง 0.2% คิดเป็น $1.833.72 ต่อออนซ์