ลด 50%! ชนะตลาดในปี 2025 ด้วย InvestingProรับส่วนลด

ผลตอบแทนพันธบัตรฯ พุ่งท่ามกลางภาพรวมเศรษฐกิจที่ไม่ชัดเจนของยุโรป

เผยแพร่ 17/03/2564 15:00
US500
-
DJI
-
IXIC
-
DE10YT=RR
-
US10YT=X
-
IT10YT=RR
-
AZN
-

ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีกลับมาขึ้นยืนเหนือ 1.6% ได้อีกครั้งเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา นี่คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นไปแล้วเมื่อคืนและเหลือการประชุมอีกหนึ่งครั้งในวันนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์กันว่าตัวเลขผลตอบแทนฯ จะสามารถขึ้นแตะ 2% ได้UST 10Y 300 Minute Chart

ในขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ สูงขึ้นเรื่อยๆ สร้างความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ เมื่อหันกลับไปดูฝั่งยุโรปกลับพบว่าผลตอบแทนพันธบัตรของยุโรปนั้นกลับปรับตัวลดลง ช่องว่างระหว่างสองตลาดสะท้อนให้เห็นภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง

ผลตอบแทนพันธบัตรฯ เพิ่มขึ้น = การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

การประชุมของธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (ECB) เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้ข้อสรุปว่าธนาคารกลางจะเพิ่มวงเงินในการเข้าซื้อพันธบัตรภายใต้โครงการซื้อพันธบัตรฉุกเฉินเพื่อป้องกันโรคระบาด (PEPP) เพื่อหวังว่าอย่างน้อยจะช่วยเร่งภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจขึ้นมาได้มากกว่านี้

ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันจันทร์เผยว่าอันที่จริงแล้ว ECB ได้ตัดสินใจซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มในวงเงิน 14,000 ล้านยูโรจากเดิม 11,900 ล้านยูโรไปตั้งแต่ก่อนการประชุมเสียอีก นางอิสซาเบล ชนาเบล (Isabel Schnabel) สมาชิกคณะกรรมการของ ECB ได้เร่งออกโรงเตือนนักลงทุนในตลาดว่าผลกระทบของการซื้อสินทรัพย์ดังกล่าวอาจเริ่มส่งผลกระทบตั้งแต่สัปดาห์นี้

แม้จะมีการช่วยเหลือครั้งที่สองจาก ECB แล้วแต่ล่าสุดเมื่อวันจันทร์ยังพบว่าผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเยอรมันอายุ 10 ปีซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อในยุโรปยังคงอยู่ในระดับติดลบต่ำกว่า 0.33% นี่คือตัวเลขที่ปรับตัวลดลงมาจากตัวเลขของวันศุกร์แล้ว ส่วนผลตอบแทนฯ ของอิตาลี อายุ 10 ปีนั้นก็ปรับตัวลดลงมาวิ่งต่ำกว่า 0.60% ซึ่งก่อนหน้านี้เคยวิ่งอยู่ที่ 0.65% ก่อนการประชุมของ ECB เสียอีก

เมื่อเปรียบเทียบการช่วยเหลือเศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเงินช่วยเหลือของสหรัฐฯ สร้างผลกระทบเชิงบวกได้มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า $1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในครั้งนี้นอกจากจะมีเงินให้กับประชาชนโดยตรง $1,400 แล้วยังมีงบที่ถูกกระจายไปยังส่วนต่างๆ อย่างเช่นเงินช่วยเหลือผู้ว่างงานและการกระตุ้นความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอย

แทนที่ตลาดจะกังวลเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อเพราะผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่นักลงทุนกลับมีความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของอเมริกามากขึ้น ดัชนีดาวโจนส์ซึ่งเป็นดัชนีที่วัดภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวขึ้นต่อจนสามารถขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดใหม่ได้เป็นครั้งที่สี่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่าน ดัชนีหลักตัวอื่นๆ อย่างเอสแอนด์พี 500 และแนสแด็กก็สามารถฟื้นตัวขึ้นมาจากการพักฐานในวันศุกร์ที่แล้วด้วย แต่หากเฟดยังยืนกรานว่ายังไม่กังวลเรื่องผลตอบแทนพันธบัตรฯ ที่ยังคงตั้งท่าจะขึ้นต่อเรื่อนๆ ก็อาจทำให้นักลงทุนตัดสินใจขายพันธบัตรรัฐบาลต่อเนื่อง

กลับมาที่ยุโรปอีกครั้ง นอกจากสหภาพยุโรปจะประสบปัญหาการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่กระเตื้องขึ้นมาแล้ว ตอนนี้พวกเขาอาจต้องเจอปัญหาซ้ำซ้อนที่จะมาชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจเข้าไปอีกเมื่อวัคซีนต้านโควิดจากบริษัทแอสตราเซเนกา (NASDAQ:AZN) ถูกระงับให้หยุดฉีดในหลายๆ ประเทศเนื่องจากพบว่าผู้ป่วยบางรายมีอาการลิ่มเลือดอุดตันGermany 10Y 300 Minute Chart

จากภาพรวมที่เกิดขึ้นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมนักลงทุนในยุโรปถึงทิ้งพันธบัตรรัฐบาลฯ ของตัวเองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยและหันไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น

อันที่จริงสหรัฐอเมริกาก็ไม่ใช่ว่าจะพบกับภาพที่สดใสขนาดนั้น อย่าลืมว่าการเติบโตของพันธบัตรรัฐบาลหมายถึงความกังวลของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นตามมาด้วย นอกจากนี้ยังมีข่าวว่าโจ ไบเดนกำลังเตรียมการยกเลิกมาตรการลดภาษีของทรัมป์ที่ออกมาในปี 2017 เตรียมเพิ่มภาษีของบริษัทหรือนิติบุคคลขึ้นจาก 21% เป็น 28% และเตรียมเพิ่มอัตราภาษีเงินได้สำหรับกลุ่มผู้ที่มีรายได้มากกว่า 400,000 เหรียญต่อปี (12 ล้านบาทต่อปี)

การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะเกิดขึ้นในสองวันนี้จึงมีความสำคัญมาก การคาดการณ์ความสามารถในการเติบโตทางเศรษฐกิจจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและความเป็นไปได้ของอัตราเงินเฟ้อ บางทีหากเฟดแย้มว่าอาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ก่อนสิ้นปี 2023 ข้อความนั้นอาจกลายเป็นตัวชะลอความเชื่อมั่นของนักลงทุน

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย