วิกฤตหุ้นยอดนิยมแบบ Nifty Fifty

เผยแพร่ 08/09/2563 11:44
อัพเดท 09/07/2566 17:32
GOOGL
-
AAPL
-
NFLX
-
GOOG
-

ในช่วงนี้ที่ตลาดหุ้นอเมริกาปรับตัวขึ้นมาสูงมากเมื่อเทียบกับตอนที่เกิดวิกฤตช่วงเดือนมีนาคม 2020

นักลงทุนต่างเข้ามาซื้อขายหุ้นด้วยความเชื่อมั่นว่าราคาจะยังคงปรับตัวขึ้นได้อีก

แม้ว่าหุ้นหลายตัวจะทำจุดสูงสุดอย่างต่อเนื่อง หรือหุ้นบางตัวกำไรยังน้อยมาก แต่ราคาขึ้นทุกวันจนค่าพีอีทะลุฟ้าไปแล้ว

ในปรากฎการณ์นี้ ไม่ได้เป็นครั้งแรกที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์หุ้นอเมริกา

ถ้าย้อนหลังกลับไปในช่วงปี 1970-1972 ช่วงนั้นตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นเยอะมาก

สมัยนี้มีหุ้น FAANG (Facebook, Apple (NASDAQ:AAPL), Amazon, Netflix (NASDAQ:NFLX), Google (NASDAQ:GOOGL)) ตอนช่วงนั้นก็มีหุ้นที่เรียกว่า “Nifty Fifty” ซึ่งเป็นกลุ่มหุ้น 50 ตัวที่เป็นหุ้นที่มีงบการเงินแข็งแกร่งมาก มาร์จิ้นสูง การเติบโตดี ธุรกิจขยายไปทั่วโลกและจ่ายปันผลอย่างต่อเนื่อง

นักลงทุนในตลาดเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าหุ้นกลุ่มนี้ซื้อแล้วถือยาวได้ตลอดไป เพราะเป็นหุ้นที่สุดยอด ไม่มีที่ติ

#โดยไม่สนใจว่าราคาหุ้นจะแพงแค่ไหนก็ตาม เรียกได้ว่าหลับหู หลับตาซื้อแล้วถือยาว รับรองรวยแน่

ในช่วงปี 1972 ค่าเฉลี่ยพีอีของดัชนี S&P อยู่ที่ 19 เท่า ในขณะที่พีอีของหุ้นกลุ่ม Nifty Fifty อยู่ที่ 42 เท่า

ตัวอย่างหุ้นในกลุ่มนี้พร้อมค่าพีอี ได้แก่

หุ้น Xerox พีอี 49 เท่า

หุ้น Avon พีอี 65 เท่า

หุ้น Disney พีอี 71 เท่า

หุ้น Polaroid พีอี 91 เท่า

แต่หลังจากนั้นในปี 1973 ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง ดัชนี S&P ลดลง 17% และลดลงอีก 30% ในปี 1974 จึงทำให้หุ้นทั้งสี่ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง

หุ้น Xerox ราคาลดลง 71%

หุ้น Avon ราคาลดลง 86%

หุ้น Disney ราคาลดลง 82.45%

หุ้น Polaroid ราคาลดลง 91%

จริงๆแล้วหุ้นในกลุ่มนี้ยังมีหุ้นดังๆรวมอยู่ด้วย เช่น IBM, McDonald’s, Coca-Cola, Merck, American Express, PepsiCo, Pfizer ซึ่งหุ้นทั้งหมดก็ปรับตัวลดลงอย่างหนักในปี 1973

มองกลับมาที่ตลาดหุ้นอเมริกาตอนนี้ หุ้นที่มีอนาคตดี งบการเงินแข็งแกร่ง มีบริการขยายไปทั่วโลก มองยังไงก็มีแต่ข้อดี แต่ตอนนี้ราคาสูงเกินพื้นฐานไปมาก

นักลงทุนควรจะต้องเข้าใจหลักการที่ว่าหุ้นซุปเปอร์สต๊อกที่ราคาแพงมาก ก็ไม่ใช่หุ้นที่ดีที่พวกเราควรจะลงทุน เพราะความเสี่ยงจะสูงมากเหมือนตัวอย่างหุ้น Nifty Fifty

อย่าลืมว่าการลงทุนไม่ง่าย ไม่ใช่แค่ซื้อตามหุ้นที่กำลังขึ้น แล้วเราจะได้กำไรไปตลอด

วอร์เรน บัฟเฟตต์สอนเราเสมอว่า ข้อแรก “อย่าขาดทุน” ข้อที่สอง “จงกลับไปดูข้อแรก แล้วทำมันอย่างเคร่งครัด”

ถ้าถามผมว่าจะเกิดวิกฤตแบบครั้งก่อนไหม ผมคงไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่อย่างที่แชร์ไว้หลายครั้ง

ถ้าเราลงทุนในหุ้นที่ดีด้วยราคาที่มีส่วนลดมากๆ รับรองเลยว่าหุ้นตัวนั้นจะสามารถฝ่าคลื่นวิกฤตไปได้อย่างแน่นอน ได้ผลตอบแทนแบบเปลี่ยนชีวิต และทำให้เรานอนหลับฝันดีด้วยครับ

Happy Investing!!! ##หุ้นอเมริกา #NiftyFifty

บทวิเคราะห์จาก เพจ Billionaire VI

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย