หลังจากที่รายงานตัวเลขคาดการณ์การจ้างงานนอกภาคการเกษตรจาก ADP ออกมาน้อยกว่าที่ประเมินเอาไว้มาก (167,000 ตำแหน่งเทียบกับ 2.3 ล้านตำแหน่งที่คาดการณ์) ทำให้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนมูลค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ในขณะเดียวกันตัวเลขดัชนี PMI ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคการผลิตจาก ISM ก็ลดลงจาก 43.1 เหลือ 42.1 ทั้งหมดนี้คือสัญญาณการชะลอตัวของการฟื้นฟูในภาคแรงงานของสหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคมแต่เพราะตลาดหุ้นและกราฟราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีที่สามารถปรับตัวขึ้นได้มากกว่า 7% จึงทำให้นักลงทุนบางส่วนไม่เชื่อว่าข้อมูลตัวเลขที่ออกมาจะแย่ได้ถึงขนาดที่หลายๆ คนเป็นกังวล
ถึงแม้นักลงทุนควรเป็นกังวลว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) ที่กำลังจะออกในวันพรุ่งนี้ว่าอาจเพิ่มขึ้นไม่ถึงตัวเลขคาดการณ์แต่ตลาดก็ยังพอมีความหวังอยู่บ้างเพราะยอดผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ เริ่มมีการชะลอตัวในขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ก็เริ่มเข้าที่เข้าทางมากขึ้น เชื่อว่าภายในสัปดาห์หน้าเราอาจจะได้เห็นข่าวดีจากสภาคอนเกรสเกี่ยวกับรายละเอียดของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการและถึงมาตรการที่ออกมาอาจจะไม่ถูกใจผู้คนมากเท่าไหร่แต่ก็เพียงพอที่จะดันตลาดหุ้นสหรัฐฯ กราฟราคาพันธบัตรรัฐบาลและดอลลาร์ขึ้นไปได้ วันพรุ่งนี้จึงมีความเป็นไปได้ที่ตลาดอาจจะเลือกเพิกเฉยต่อตัวเลขนอนฟาร์มที่ออกมาแย่กว่าที่คาดการณ์และหันไปให้ความสำคัญกับข่าวดีในสัปดาห์หน้าแทน กราฟอาจจะสวิงตามข่าวนอนฟาร์มในระยะเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะกลับมาตั้งทรงเป็นขาขึ้นได้ดังเดิม
นอกเหนือจากการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรแล้วอีกข่าวหนึ่งที่ตลาดจะให้ความสนใจเป็นอย่างมากในวันนี้คือการประกาศนโยบายทางการเงินจากธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) และรายงานอัตราเงินเฟ้อรายไตรมาส หลังจากที่การประกาศออกมาปรากฎว่า BoE ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ดังเดิมไม่ต่างจากธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) เพราะจากตารางด้านล่างนี้ได้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจในวงกว่างหลังจากที่มีการประชุมกันไปเมื่อครั้งที่แล้ว จนถึงตอนนี้ยอดผู้ติดเชื้อโควิดในสหราชอาณาจักรถือว่าสามารถควบคุมได้ดีแม้จะมีรายงานผู้ติดเชื้อสูงสุดใหม่เพิ่มขึ้นเป็นวันที่ 2 นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนเมื่อวันจันทร์
เราเชื่อว่าในถ้อยแถลงจาก BoE วันนี้พวกเขาจะรู้สึกวางใจได้มากขึ้นเพราะเมื่อเทียบตัวเลขของสหราชอาณาจักรกับสหรัฐฯ แล้วพบว่ายอดผู้ติดเชื้อในสหราชอาณาจักรคงที่กว่าของสหรัฐฯ อยู่มาก ที่สำคัญสถานการณ์เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆ ท่ามกลางความไม่แน่นอนซึ่งจะทำให้เป็นเรื่องยากที่ BoE จะสามารถคำนวณระยะเวลาการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจออกมาได้อย่างแม่นยำ BoE คงจะยังไม่เปลี่ยนแปลงมาตรการผ่อนคลายทางการเงินและคงไม่พูดถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแบบ V Shape อีกแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจรจาระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปที่มีความคืบหน้าน้อยมาก ในถ้อยแถลงจาก BoE ในวันนี้หากว่าพวกเขายังแสดงความเป็นกังวลและคาดการณ์เศรษฐกิจจะเติบโตได้ช้ากราฟ GBP/USD อาจจะร่วงลงไปยัง 1.30 แต่ถ้า BoE ยังมองว่าอัตราการฟื้นตัวและเติบโตยังดีเหมือนเดิมกราฟ GBP/USD มีโอกาสขึ้นก่อนที่การประกาศตัวเลขนอนฟาร์มของสหรัฐฯ จะมาถึง
สกุลเงินยูโรและปอนด์ยังสามารถปรับตัวขึ้นได้แม้ว่าข้อมูลตัวเลขของดัชนี PMI ในโซนยุโรปออกมาสลับกันทั้งขึ้นและลง ตัวเลขในภาคการบริการของเยอรมันและฝรั่งเศสที่ลดลงถูกชดเชยจากข้อมูลตัวเลขในยูโรโซน ถึงกระนั้นสกุลเงินยูโรก็ยังถือเป็นสกุลเงินที่แข็งแกร่งที่สุดสกุลเงินกลุ่ม G10 อยู่ดี มีราคาเทรดที่สามารถขึ้นไปยืนเหนือ 1.19 ได้แม้จะปรับตัวลดลงมาเล็กน้อยก็ตามแต่เพราะตัวเลขกิจกรรมในภาคการผลิตของสหราชอาณาจักรออกมาต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์เอาไว้ การอัปเดตสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจาก BoE จึงถูกจับตาเป็นพิเศษในวันนี้
สกุลเงินทั้งสามที่พึ่งพามูลค่าจากสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลักอย่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และแคนาดาเมื่อวานนี้ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ กราฟ AUD/USD ทะยานขึ้นสู่จุดสูงสุดในรอบ 18 เดือนในขณะที่กราฟ USD/CAD ร่วงลงสู่จุดต่ำสุดในรอบ 4 เดือน สกุลเงินออสเตรเลียดอลลาร์ยังสามารถปรับตัวสูงขึ้นได้เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐแม้ธนาคารพาณิชย์ภายในประเทศจะปรับตัวเลขดัชนี PMI ในเดือนกรกฎาคมลงและข้อมูลตัวเลขของดัชนีในภาคบริการจากมหาลัยไซซินของจีนจะออกมาลดลงก็ตาม สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในรอบที่ 2 ที่เมืองเมลเบิร์นยังไม่ดีขึ้นแม้จะมียอดผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้นต่ำกว่า 700 ราย แคนาดาดอลลาร์แข็งมูลค่าขึ้นเพราะตัวเลขของการนำเข้าและส่งออกฟื้นตัวกลับมาเป็นอย่างมากในขณะที่นิวซีแลนด์มีรายงานตัวเลขการจ้างงานเพิ่มขึ้นจาก 4% เป็น 4.2% แม้ว่านักวิเคราะห์จะหวังให้สามารถขึ้นถึง 5.8% ได้