เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 30.95-31.40 ต่อ ดอลลาร์

เผยแพร่ 03/08/2563 11:40
อัพเดท 09/07/2566 17:32
USD/THB
-

เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 31.22 ต่อดอลลาร์ หลังซื้อขายในกรอบ 31.19-31.56 โดยเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 3 สัปดาห์ท่ามกลางแรงขายดอลลาร์อย่างต่อเนื่องในตลาดโลก และราคาทองคําที่พุ่งสูงขึ้น ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ ในตลาดหุ้นไทย 76 ล้ านบาท แต่ซื้อพันธบัตรสุทธิ 4.6 พันล้านบาท ขณะที่ในเดือน ก.ค. เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวน และอ่อนค่าลงราว 1% สวนทางสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค

• เงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินหลัก โดยเงินยูโร แตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 2 ปี และเงินเยนซื้อขายที่ระดับแข็งค่าสุดในรอบ 4 เดือนครึ่ง ขณะที่ธนาคารกลาง สหรัฐฯ(เฟด)มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงกรอบเป้าหมายดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ 0-0.25% และระบุว่าทิศทางเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับ กับสถานการณ์วิกฤติไวรัส นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์ยังถูก กดดันจากข่าวที่ว่าประธานาธิบดีทรัมป์ เสนอแนวคิดเรื่องการ เลื่อนการเลือกตั้งออกไปจากกําหนดเดิมในวันที่ 3 พ.ย. ถึงแม้สมาชิกสภาคองเกรสคัดค้านแนวคิดดังกล่าว ส่วนจีดีพี ของสหรัฐฯหดตัวลง 32.9% ในไตรมาส 2 ซึ่งถือเป็นการ ลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการจัดเก็บตัวเลขนี้ในปี 2490

เงินบาท USD/THB สัปดาห์นี้มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 30.95-31.40 ต่อ ดอลลาร์ โดยตลาดจะติดตามข้อมูลเศรษฐกิจสําคัญจากสหรัฐฯหลายรายการ อาทิ ดัชนีภาคการผลิตและบริการ รวมถึงการจ้างงานนอกภาคเกษตร นอกจากนี้ นักลงทุนจะให้ความสนใจกับการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ(บีโออี)ใน วันที่ 6 ก.ค. และความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้น ทางการคลังชุดใหม่ของสหรัฐฯ อนึ่ง แม้ว่าจะเกิดแรงซื้อคืน ดอลลาร์ทางเทคนิคเมื่อท้ายสัปดาห์ก่อน แต่ในภาพรวม แนวนโยบายของเฟดและประเด็นทางการเมืองในสหรัฐฯอาจ จํากัดการฟื้นตัวของค่าเงินดอลลาร์ ทั้งนี้ประธานเฟดแสดง ความกังวลต่อยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯที่ยังคง เพิ่มขึ้น โดยเฟดให้คํามั่นว่าจะใช้ทุกมาตรการที่สามารถทําได้ และจะคงดอกเบี้ยไว้เป็นเวลานานตราบเท่าที่จําเป็นเพื่อ ประคองเศรษฐกิจ

• สําหรับปัจจัยในประเทศ คาดว่าคณะกรรมการนโยบาย การเงิน(กนง.)จะมีมติคงดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% ซึ่งเป็นระดับ ต่ำสุดเป็ นประวัติการณ์ในการประชุมวันที่ 5 ส.ค. โดยเรา มองว่ากนง.จะเน้นย้ำความไม่แน่นอนต่อทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะถัดไปและพร้อมจะใช้ เครื่องมือที่ เหมาะสมเพิ่มเติมหากจําเป็น แม้ว่าเศรษฐกิจได้ ผ่านจุด ต่ำสุดไปแล้วในไตรมาส 2/63 แต่สถานการณ์ยังคงเปราะบาง และผลกระทบเชิงลบจาก COVID-19 มีแนวโน้มลากยาว ขณะที่ความเสี่ยงด้านขาลงของเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับสูง

บทความนี้มาจากศูนย์วิจัยกรุงศรี สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ www.krungsri.com

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย