วันที่ 30 กรกฎาคมเมื่อหกปีก่อนคือวันที่ราคาน้ำมันดิบ WTI เคยผ่านระดับ 100 เหรียญต่อบาร์เรลสหรัฐฯ และเมื่อหกปีก่อนหน้านั้นในวันที่ 3 กรกฎาคม 2008 น้ำมันดิบ WTI ก็เคยขึ้นไปแตะจุดสูงสุดในรอบสิบสองปี ตอนนั้นราคาน้ำมันดิบ WTI สปอตเคยยืนเหนือ $145 เหรียญต่อบาร์เรลมาแล้ว เมื่อหันกลับมามองที่ปัจจุบัน ราคาของ WTI แทบจะไม่ผ่านระดับ 40$ ขึ้นไปได้เลย มีปัจจัยอะไรที่หน่วงราคาน้ำมันดิบอยู่ตอนนี้?
เมื่อราคาน้ำมันตกต่ำ เรามักจะพูดถึงการเฟ้อขึ้นของสินค้าที่หมายความว่ามีการผลิตมากกว่าการบริโภค เรียกอีกอย่างก็คืออุปทานสูงกว่าอุปสงค์จึงทำให้ราคาลดต่ำลง น้ำมันถูกนำไปเก็บและผู้ผลิตจำเป็นต้องลดราคาสำหรับสินค้า เพียงแต่ในกรณีนี้เรื่องราวไม่ได้อธิบายง่าย ๆ เพียงเท่านั้น
มีผู้บริโภคบางกลุ่มกักเก็บสินค้าไว้ด้วยเช่นกัน
กราฟของอุปสงค์และอุปทานไม่สามารถอธิบายราคาของน้ำมันโดยตรงได้เสมอไปเพราะบางครั้งค่าอุปสงค์จะสูงกว่าจำนวนการนำน้ำมันไปใช้จริง ค่าอุปสงค์จะมากกว่าความเป็นจริงเนื่องจากตัวเลขดังกล่าวจะรวมถึงน้ำมันส่วนที่ถูกซื้อเพื่อกักตุนด้วย
ตัวอย่างหนึ่งก็คือประเทศจีนเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันจำนวนมากที่สุดในโลก ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจของจีนต้องใช้น้ำมันจำนวนมากแต่ก็มีน้ำมันจำนวนมากเช่นกันที่ถูกซื้อโดยภาครัฐและภาคเอกชนซึ่งพวกเขาจำต้องเชื่อฟังรัฐบาลคอมมิวนิสต์อย่างไม่มีเงื่อนไข เพราะมีน้ำมันจำนวนมากพอที่ถูกนำเข้าเพื่อกักตุน จีนจึงมีแนวโน้มไม่ตกลงจะจ่ายเงินจำนวนมากเพราะไม่ใช่ส่วนที่จำเป็น และในทำนองเดียวกัน หากจีนสามารถซื้อในราคาต่ำกว่าได้ จีนก็มีแนวโน้มที่จะซื้อน้ำมันไปกักตุนมากขึ้น
ทฤษฎีปริมาณน้ำมันต่ำสุดเทียบกับทฤษฎีความต้องการน้ำมันสูงสุด
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาน้ำมันสามารถไต่ระดับขึ้นไปสูงมากขนาดนั้นในปี 2008 เป็นเพราะมีทฤษฎีหนึ่งกล่าวถึงปริมาณน้ำมันต่ำสุดซึ่งเป็นที่เชื่อกันอย่างแพร่หลายในขณะนั้นทฤษฎีดังกล่าวเกิดขึ้นโดยนายแมทธิว ซิมมอนส์จากหนังสือ “Twilight in the Desert” ในปี 2006 ของเขาที่กล่าวว่ามีน้ำมันใต้ดินจำนวนน้อยกว่าที่เราคิดไว้มาก โดยซิมมอนส์กล่าวอย่างเจาะจงไว้ว่า ซาอุดิอาระเบียมีการกักตุนน้ำมันน้อยกว่าที่ประเทศกล่าวไว้ เมื่อสินค้าสำคัญบางอย่างกำลังขาดแคลนสินค้านั้นก็จะราคาสูงขึ้น น้ำมันจึงราคาพุ่งสูงทันทีแต่ปรากฏว่าสิ่งที่ซิมมอนส์คาดการณ์นั้นไม่เป็นจริง
ในปัจจุบันทฤษฎีปริมาณน้ำมันต่ำไม่แพร่หลายแต่ผู้คนเชื่อในทฤษฎีความต้องการน้ำมันสูงต่างหาก และการคาดการณ์ระยะยาวที่นิยมที่สุดในตลาดราคาน้ำมันคือจะมีความต้องการของน้ำมันลดลงต่ำในทศวรรษที่จะมาถึงโดยอ้างอิงจากการคาดการณ์เกี่ยวกับความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมนี้
บางกลุ่มเชื่อว่ายานพาหนะไฟฟ้าจะยึดครองตลาดจากรถยนต์ธรรมดาและรถบรรทุกต่าง ๆ ภายในปี 2040 หรือ 2050 จะมีการใช้พลังงานหมุนเวียนรูปแบบต่างๆ และเกิดโรงพลังงานนิวเคลียร์จนทำให้ความต้องการของการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติตกยุค และพลาสติกรวมถึงปุ๋ยต่างๆ จะใช้น้ำมันในการผลิตน้อยลงด้วยการรีไซเคิลและนวัตกรรมใหม่อื่น ๆ แม้เราจะไม่สามารถแน่ใจได้ว่าทฤษฎีดังกล่าวจะเป็นจริงมากน้อยเพียงไหน แต่ก็มีคนเชื่อมากพอที่จะทำให้ราคาน้ำมันลดลง
ความกังวลเกี่ยวกับการถดถอยทางเศรษฐกิจฉุดรั้งราคาน้ำมันไว้
ในต้นฤดูร้อนของปี 2008 เมื่อราคาน้ำมันดิบ WTI แตะระดับสูงสุดสัญญาณการถดถอยทางเศรษฐกิจก็เกิดขึ้นแล้วภายในเวลาอันสั้นแต่มีคนไม่มากนักที่คาดการณ์ถูก
ราคาน้ำมันเคยชินกับการอยู่ในระดับที่สูงเสียเป็นส่วนมากเพราะมีการการันตีราคาในอนาคต แต่เพียงสองเดือนให้หลังเศรษฐกิจโลกก็ล้มลง ในวันที่ 3 กรกฎาคมปีนั้น เมื่อราคาน้ำมันดิบแตะระดับสูงสุดไม่มีใครคาดการณ์เรื่องการล้มลงไว้เลย หมายถึงทั้งอุตสาหกรรมน้ำมัน ผู้ซื้อน้ำมันดิบรายใหญ่ (เช่นโรงกลั่น) และเทรดเดอร์ไม่ได้มองเห็นเรื่องนี้ล่วงหน้ามาก่อน
ในปี 2018 และ 2019 การคาดการณ์เศรษฐกิจเกี่ยวกับเศรษฐกิจถดถอยว่ากำลังจะมาถึงและคำเตือนนี้อ้างอิงจากความกังวลจากการสงครามค้าระดับโลกหรือกราฟอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้น (Inverted Yield Curve) แต่ในความเป็นจริงการถดถอยครั้งนี้นั้นเกิดจากการแพร่กระจายของโรคระบาดและการป้องกันโรคที่ทำให้เกิดการกลับตัวทางเศรษฐกิจในขณะที่ไม่มีใครตั้งตัวได้เลย
OPEC ไม่สามารถควบคุมสมดุลตลาดได้อย่างที่เคยเป็น
ในเดือนกรกฎาคมปี 2014 มูลค่าของน้ำมันดิบ WTI ในตอนนั้นยังมีราคาสูงกว่า $100 เพราะยังไม่มีใครเชื่อจริงๆ ว่าตลาดน้ำมันจะสามารถล้มลงมาได้ ขนาดนาย Ali al-Naimi รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของซาอุดิอาระเบียในตอนนั้นได้ออกมาพูดเองเลยว่าเขาพร้อมจะเห็น OPEC ผลิตน้ำมันเกินความต้องการและผู้คนก็ยังเชื่อว่าราคาน้ำมันจะไม่มีทางล้มลงเด็ดขาด
แต่ภายในไม่ถึงหกเดือนต่อมาราคาน้ำมันดิบ WTI ก็ลดระดับลงมาต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของราคาเดิม และเมื่อ OPEC และกลุ่มย่อย OPEC+ ได้พยายามที่จะเพิ่มมูลค่าน้ำมันอยู่หลายครั้งแต่ความพยายามของพวกเขาก็ได้ผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แม้แต่ในช่วงก่อนการระบาดของไวรัสโคโรนาการแตะเลขสามหลักของราคาน้ำมันดูเป็นไปไม่ได้เลยแม้ OPEC+ จะพยายามมากเท่าใด
ตัวเลขการผลิตนั้นแท้จริงแล้วซับซ้อน
การเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดในวงการผลิตน้ำมันในช่วงปีที่ผ่านมานั้นเกิดขึ้นเพราะความนิยมในการผลิตน้ำมันใต้ผิวดินของสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันสหรัฐฯ ผลิตน้ำมันอยู่ที่ราว 11 ล้านบาร์เรลต่อวันซึ่งตัวเลขดังกล่าวเคยอยู่ที่ 13.1 ล้านบาร์เรลต่อวันก่อนที่ปัญหาการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสจะส่งผลกับเศรษฐกิจ โดยเทียบกับตัวเลขดังกล่าวในปี 2014 ที่สหรัฐฯ ผลิตได้ 8.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน และ 5 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2008
ในขณะเดียวกัน การผลิตน้ำมันของเวเนซุเอลาได้ลดลงอย่างชัดเจน โดยสาเหตุส่วนใหญ่นั้นเป็นเพราะว่าประเทศดังกล่าวไม่สามารถผลิตน้ำมันได้เอง การผลิตจากเวเนซุเอลาลดลงเหลือเพียง 280,000 บาร์เรลต่อวันจากค่าเฉลี่ย 2.3 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2014 และ 2.34 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2008
ประเทศอิหร่านก็ไม่ได้ผลิตน้ำมันมากนักเนื่องจากถูกคว่ำบาตรจากหลายประเทศ ตัวเลขการผลิตปัจจุบันอยู่ที่ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับ 2.76 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2014 และ 3.88 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2008
โดยสรุปแล้ว
ทั่วโลกสามารถผลิตน้ำมันได้มากขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ให้ประสิทธิภาพดีและมีบ่อน้ำมันใหม่ๆ เกิดขึ้น ความกังวลหนึ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นในตอนนี้คือโลกจะขาดแคลนน้ำมันแต่กลับเป็นความกังวลของผู้ซื้อและผู้ขายน้ำมันว่าความต้องการน้ำมันจะไม่เพียงพอต่อตลาดและได้เป็นเช่นนั้นมาตั้งแต่ปี 2014 และนั่นคือสาเหตุที่ราคาน้ำมันไม่เคยกลับขึ้นมาแตะสามหลักได้อีกเลยใน 6 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามบทเรียนที่ดีที่สุดในรอบสิบสองปีนี้คือ “มนุษย์เราไม่สามารถคาดเดาอนาคตได้”