เหลียวหลัง
• เงินบาทปิดแข็งค่าเล็กน้อยที่ 31.70 ต่อดอลลาร์ USD/THB หลังซื้อขาย ในกรอบ 31.55-31.85 โดยระหว่างสัปดาห์เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 2 เดือนท่ามกลางปริมาณธุรกรรมที่ค่อนข้างหนาแน่น ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้น 6.6 พันล้านบาท แต่ซื้อพันธบัตรสุทธิ 1.3 พันล้านบาท
• เงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินหลัก โดยเงินยูโร แตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 1 ปี ครึ่งหลังสหภาพยุโรป(อียู) บรรลุข้อตกลงเรื่องกองทุนฟื้นฟูขนาด 7.5 แสนล้านยูโร นับเป็นก้าวสําคัญสู่เอกภาพทางด้านการคลังของยุโรป ขณะที่จํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสหรัฐฯ สูงขึ้นในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที้ 18 ก.ค. ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้น ครั ้งแรกนับตั้งแต่ช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 28 มี.ค.
แลหน้า
• เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 31.40-31.75 ต่อ ดอลลาร์ ตลาดจะให้ความสนใจกับการประชุมธนาคารกลาง สหรัฐฯ(เฟด)วันที่ 28-29 ก.ค. โดยนักลงทุนคาดว่าเฟดจะให้คํามั่นที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0-0.25% ต่อไป และประเมินเศรษฐกิจในเชิงลบมากขึ้นท่ามกลางความกังวลว่า สหรัฐฯควบคุมการแพร่ระบาด ของ COVID-19 ไม่อยู่ นอกจากนี้ ตลาดจะจับตาข้อมูลจีดีพีไตรมาส 2 ของสหรัฐฯ รวมถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับการใช้มาตรการด้านการคลัง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่าง สหรัฐฯกับจีนอาจมีผลต่อบรรยากาศการลงทุนด้วยเช่นกัน หลังจีนสั่งปิดสถานกงสุลสหรัฐฯในเมืองเฉิงตูเพื่อตอบโต้ สหรัฐฯซึ่งสั่งปิดสถานกงสุลของจีนในเมืองฮูสตัน
อนึ่ง การเหวี่ยงตัวขึ้นของราคาทองคําสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จากหลากหลายปัจจัยหนุน นําโดยการลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่แท้จริง(Real Yields)ของสหรัฐฯจะเพิ่มความผันผวนให้กับค่าเงินบาทได้อีกทางหนึ่ง
• สําหรับปัจจัยในประเทศ ธปท.กล่าวว่าการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ได้มุ่งหวังที่จะบิดเบือนค่าเงินเพื่อสร้างความ ได้เปรียบทางการค้าและการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท เป็นไปได้ ทั้ง 2 ทิศทางตามเงินทุนเคลื่อนย้ายที่ผันผวน ทางด้าน ก.พาณิชย์รายงานยอดการส่งออกเดือนมิ.ย. หดตัว 23.17% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนําเข้าลดลง 18.05% ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 1.61 พันล้านดอลลาร์ และสําหรับในช่วงครึ่งปีแรกการส่งออกลดลง 7.09% ส่วน การนําเข้าหดตัว 12.62% และเกินดุลการค้า 1.07 หมื่นล้านดอลลาร์ เราประเมินว่าการส่งออกเผชิญแรงกดดันจากภาวะ ซบเซาของอุปสงค์ในประเทศคู่ค้า อีกทั่งการนําเข้าที่ฟื้นตัวช้า ยังคงสะท้อนแนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศและ การส่งออกที่อ่อนแอ
บทความนี้มาจากศูนย์วิจัยกรุงศรี สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ www.krungsri.com