วิเคราะห์ตลาดการเงินประจำวัน ( 21 ก.ค.)

เผยแพร่ 21/07/2563 12:00
USD/THB
-

การฟื้นตัวชั่วคราวของเศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังสะดุดจากความเสี่ยงของการแพร่ระบาดระลอกที่สอง แม้ว่ายอดค้าปลีกและการเริ่มต้นสร้างบ้านปรับตัวดีขึ้นในเดือนมิถุนายน แต่เครื่องชี้บางตัวสะท้อนว่าการแพร่ระบาดระลอกใหม่เริ่มส่ง ผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง 10.8% ร่วงลงเกิน 10% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม ล่าสุดดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนกรกฏาคมร่วง ลงสู่ระดับ 73.2 ขณะที่จำนวนชั่วโมงทำงานเริ่มทรงตัว

ส่วนผู้ขอรับสิทธิสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 กรกฎาคม มีจำนวน 1.31 ล้านราย สูงกว่าที่ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะมีจำนวน 1.25 ล้านคน ถือเป็นสัปดาห์ที่ 17 ที่มีจำนวนผู้ ขอรับสิทธิเกินกว่า 1 ล้านคน ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดบ่งชีว้่าสหรัฐฯเผชิญหลายปัจจัยเสี่ยงที่บั่นทอนการฟื้นตัว ทั้ง (i) การแพร่ระบาดระลอกที่สองที่รุนแรง มากขึ้น จำนวนผู้ติดเชือ้รายใหม่ต่อวันแตะระดับกว่า 7 หมื่นราย หลายเมืองกลับมาใช้มาตรการปิดเมืองอีกครั้ง (ii) อัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับสูงอาจเพิ่มขึ้นอีก จากปัญหาสภาพคล่อง ภาระหนี้ธุรกิจจะล้มละลายและต้องเลิกจ้างพนักงาน เช่น ธุรกิจค้าปลีก และสายการบิน และ (iii) ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯกับจีนเพิ่มขึ้น โดยล่าสุดรัฐบาลสหรัฐฯจะระงับการออกวีซ่าแก่พนักงานของบริษัทจีนที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ขณะที่รัฐบาลจีนตอบโต้โดยขึ้น บัญชีนักการเมืองระดับสูงของสหรัฐฯ ที่แทรกแซง กิจการภายในจีน

ECB เตือนความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจยุโรปเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ขณะที่่สหภาพยุโรปยังไร้ข้อสรุปในการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเขตยูโรโซนเดือนพฤษภาคมลดลง 20.9% YoY ต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยลดลงมากทั้งในฝรั่งเศส (-24.0%) เยอรมนี (-23.1%) และอิตาลี (-20.3%) ส่วนธนาคารกลางยุโรป (ECB) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและวงเงินในการซื้อพันธบัตร ตามโครงการ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) ที่ระดับ 1.35 ล้านล้านยูโร โดยจะซื้อพันธบัตรตามโครงการนี้จนถึงเดือนมิถุนายน 2564 ประธาน ECB ระบุว่าจะยังคงไม่ใช้เงินโครงการ PEPP ทั้งหมดตามจำนวนดังกล่าวและยืนยันว่าจะสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัส

เศรษฐกิจในภูมิภาคยุโรปยังคงอ่อนแอ ทั้งยังมีอุปสรรคอีกหลายประการ ได้แก่ (i) สถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยังรุนแรง ขณะที่พบการระบาดระลอกสองแบบเป็นกลุ่มก้อนในหลายประเทศ จำเป็นต้องใช้มาตรการปิดเมืองในพื้นที่แพร่ระบาดอีกครั้ง (ii) ภูมิภาคยุโรปยังต้องเผชิญความเสี่ยงจากอุปสงค์ในประเทศทีอ่อนแอ ทั้งยังมีความเสี่ยงที่ธนาคารพาณิชย์จะเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อภายหลังจากมาตรการค้ำประกันเงินกู้ของรัฐบาลหมดอายุลง ส่งผลให้ระดับหนี้พุ่งสูงขึ้น และ (iii) ความขัดแย้งเกี่ยวกับกองทุนฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรป (วงเงิน 7.5 แสนล้านยูโร) ซึ่งสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) บางประเทศไม่เห็นด้วยกับการจัดสรรเงินให้เปล่า (วงเงิน 5 แสนล้านยูโร) แต่ต้องการให้จัดสรรเป็นเงินกู้แทน ส่งผลให้ความช่วยเหลือเป็นไปด้วยความ ล่าช้า อันจะเพ่ิมความเสีย่ งต่อภูมิภาคยุโรปมากยิ่งขึน

เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มฟื้นตัวเร็วกว่าประเทศอื่นแต่การระบาดซ้ำในหลายประเทศอาจกระทบต่อการส่งออกในระยะต่อไป ในไตรมาส 2 GDP ขยายตัว 3.2% YoY สูงกว่าที่คาดการณ์ว่าจะขยายตัว 2.5% การฟื้นตัวนำโดยการผลิตภาคอุตสาหกรรม (4.4%)และการก่อสร้าง (7.8%) ส่วนภาคบริการยังขยายตัวต่ำ (1.9%) สำหรับยอดการส่งออกในเดือนมิถุนายนนั้นเพิ่มขึ้น 4.3% แม้ว่ายอดการค้าปลีกในเดือนมิถุนายนยังหดตัว 1.8% แต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่หดตัวถึง 2.8% หากเปรียบเทียบกับประเทศอื่น จีนมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวได้เร็วกว่า เนื่องจาก (i) การใช้การลงทุนเป็นตัวขับเคลื่อนโดยสภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) ได้กำหนดเป้าหมายสำหรับการออกพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่นที่4.6% ของ GDP (สูงกว่า 4 ล้านล้านหยวน) บ่งชีว้่าการออกพันธบัตรดังกล่าวจะขยายเป็นสองเท่าของปีก่อน ซึ่งจะหนุนโครงสร้างพื้นฐาน (ii) ภาวะการจ้างงานปรับตัวดีขึ้นโดยอัตราการว่างงานเดือนมิถุนายนลดลงมาที่5.7% โดยเฉพาะแรงงานย้ายถิ่นในเมืองนั้น ได้กลับเข้ามาทำงานแล้วเกือบทงั้หมด ต่ำกว่าในช่วงก่อนการระบาดเพียง 3% เท่านั้น เทียบกับเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่แรงงานกลุ่มนี้ ลดไปถึง 30% อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ด้านต่างประเทศที่มีต่อสินค้าส่งออกของจีนยังคงอ่อนแอ อีกทั้งยังอาจได้รับผลกระทบซ้ำเติมจากการระบาดระลอกสอง

บทความนี้มาจากศูนย์วิจัยกรุงศรี สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ www.krungsri.com

อัพเดตอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท USD/THB | แปลงค่าเงิน

ปรับแต่งการแสดงอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อติดตั้งบนเว็บไซต์ของคุณได้ที่ Investing.com ประเทศไทย.

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย