เงินบาทสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 31.55-32.00 ต่อดอลลาร์

เผยแพร่ 20/07/2563 10:26
USD/THB
-

เหลียวหลัง

เงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 31.71 ต่อดอลลาร์ USD/THB หลังซื้อขายในกรอบ 31.24-31.76 โดยเงินบาทยังคงเผชิญแรงขายอย่างต่อเนื่อง และแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 6 สัปดาห์ ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทย 1.2 พันล้าน บาท และ 1.8 พันล้านบาทตามลําดับ

เงินดอลลาร์แตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 4 เดือนเมื่อ เทียบกับเงินยูโรซึ่งได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ว่าสหภาพ ยุโรป(อียู) อาจจะตกลงกันได้ ในเรื่องมาตรการฟื้นฟูทาง เศรษฐกิจสําหรับประเทศสมาชิกที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจาก COVID-19 ทางด้านธนาคารกลางญี่ปุ่น(บีโอเจ)และธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี)มีมติคงนโยบายตามคาด

แลหน้า

เงินบาทสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 31.55-32.00 ต่อ ดอลลาร์ โดยตลาดจะให้ความสนใจกับมาตรการกระตุ้นทางการคลังเพิ่มเติมทั้งในสหรัฐฯและยุโรป โดยสภาคองเกรส ของสหรัฐฯจะหารือเกี่ยวกับร่างกฎหมายเยียวยาความเสียหายจากวิกฤติไวรัส

ขณะที่การประชุมผู้นําอียูยังคงดําเนินต่อไปโดยยังไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องกองทุนฟื้นฟู มูลค่า 7.5 แสนล้านยูโร เนื่องจากกลุ่มประเทศที่ร่ำรวยในยุโรปเหนือต้องการจํากัดความช่วยเหลือในรูปแบบของเงินให้เปล่าไว้ที่ 3.5 แสนล้านยูโร อย่างไรก็ดี ตลาดมีความหวังว่า ผู้นําอียูจะพยายามบรรลุข้อตกลงกันในเดือนส.ค.นอกจากนี้ ข้อมูลจีดีพีไตรมาส 2 ของจีนซึ่งแข็งแกร่งกว่าที่ตลาดคาดไว้ รวมถึงข่าวเชิงบวกเกี่ยวกับการพัฒนาวัคซีนอาจหนุนสกุลเงิน ที่มีความเชื่อมโยงสูงกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ เงินดอลลาร์ออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการลงทุนในสินทรัพย์เสี!ยงมีแนวโน้มเป็นไปอย่างระมัดระวังท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดในสหรัฐฯซึ่งยังคงย่ำแย่

สําหรับปัจจัยในประเทศ ธปท.คาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจ จะกลับเข้าสู่ระดับก่อนการระบาดของ COVID-19 ได้ในปี 65 และต้องรักษาขีดความสามารถในการดําเนินนโยบายไว้ใช้ หากสถานการณ์เลวร้ายลงจากความไม่แน่นอนสูง ขณะที่ทางการจะดูแลไม่ให้เงินบาทผันผวนมากเกินไปและกําลังศึกษามาตรการ Yield Curve Control นอกจากนี้ ธปท.ระบุ ในจดหมายเปิดผนึกชี้แจงการเคลื่อนไหวของอัตราเงินเฟ้อ ออกนอกกรอบเป้าหมายว่านโยบายการเงินยังต้องผ่อนคลายต่อไป โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)คาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี!ย 12 เดือนข้างหน้าจะอยู่ที่ -0.9% ซึ่งต่ำกว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน เรามองว่าเงินบาทยังคงมีทิศทางอ่อนค่าในระยะนี้ท่ามกลางปัจจัยความไม่แน่นอนซึ่ง รวมถึงการรับมือความเสี!ยงของการแพร่ระบาดรอบสองและความคลุมครือของการจัดสรรทีมเศรษฐกิจชุดใหม

บทความนี้มาจากศูนย์วิจัยกรุงศรี สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ www.krungsri.com

อัพเดตอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท | แปลงค่าเงิน

ปรับแต่งการแสดงอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อติดตั้งบนเว็บไซต์ของคุณได้ที่ Investing.com ประเทศไทย.

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย