เข้าสู่สัปดาห์ที่เรียกได้ว่ามีข่าวเยอะที่สุดของเดือนกรกฎาคมอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อคืนนี้ซึ่งตลาดฟอเร็กซ์และตลาดหุ้นสามารถเริ่มสัปดาห์ด้วยการปิดบวกได้แม้ว่าตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตในแต่ละรัฐยังคงเพิ่มสูงขึ้น ตอนนี้นักลงทุนไม่สนใจข่าวโควิด-19 แล้วเพราะพวกเขาเชื่อมั่นอย่างแรงกล้ากับความหวังยาต้านโควิดจากบริษัท Pfizer (NYSE:PFE) และ Biotech (NASDAQ:BNTX) ที่ตอนนี้ยา 2 ใน 4 ตัวได้รับสถานะ fast-track จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) เป็นที่เรียบร้อย ด้วยสถานะใหม่จะทำให้บริษัททั้งสองสามารถขอสิทธิ์ในการทดลองวัคซีนในผู้ป่วยอาสาสมัคร 30,000 คนได้ภายในสิ้นเดือนนี้และถ้าผลการทดสอบประสบความสำเร็จก็จะสามารถเริ่มขั้นตอนการผลิตวัคซีนได้ภายในสิ้นปีนี้
คงไม่มีใครจะไม่รู้สึกไม่ยินดีกับข่าวดีนี้แต่การยินดีนั้นก็ควรยืนอยู่บนความเป็นจริงในปัจจุบันว่าการสั่งให้ประชาชนอยู่แต่ในบ้านคือสิ่งจำเป็นเพื่อลดการติดต่อของเชื้อโควิด-19 ให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐที่เป็นฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศอย่างฟลอริด้าที่ตอนนี้มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นภายในวันเดียว 15,300 คนเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาแซงหน้าตัวเลขสถิติที่นิวยอร์กเคยทำไว้ในช่วงต้นๆ ของการแพร่ระบาด สำหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในตอนนี้พวกเขาตีความคำว่า “ความเป็นจริง” ต่างออกไปจากโลกภายนอก แทนที่ข่าวยอดผู้ติดเชื้อโควิดจะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงแต่ไม่เลยกลายเป็นว่าทุกครั้งที่หุ้นปรับตัวลดลงมานั่นคือโอกาสการเข้าซื้อเพิ่ม
สำหรับสัปดาห์นี้ข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่จะออกมาน่าจะเป็นข้อมูลตัวเลขที่ดีขึ้นเพราะอัตราเงินเฟ้อและการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นเมื่อเดือนที่แล้วและตัวเลขยอดขายปลีกมีโอกาสจะเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมสูงมากเพราะเดือนมิถุนายนส่วนใหญ่เริ่มกลับมาจับจ่ายใช้สอยตามปกติเช่นเดียวกันกับตัวเลขการอนุญาตก่อสร้างและที่อยู่อาศัยเริ่มสร้างที่เชื่อว่าจะต้องมีทิศทางที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตามข่าวดีนี้อาจเริ่มเปลี่ยนทิศทางได้ภายในเดือนนี้หลังจากดัชนีวัดบรรยากาศของผู้บริโภคในเดือนกรกฎาคมจากมหาลัยมิชิแกนเผยว่าการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อจะทำให้ความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอยลดลง ที่สำคัญไปกว่านั้นตอนนี้เราได้เข้าสู่การรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 2 ปี 2020 ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ กันแล้วซึ่งว่ากันว่าตัวเลขของไตรมาสนี้จะเป็นตัวเลขที่ออกมาเลวร้ายที่สุด กราฟ USD/JPY ปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 วันแต่จะขึ้นได้ยาวนานแค่ไหนขึ้นอยู่กับรายงานผลประกอบการในตลาดหุ้นและข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
การรายงานตัวเลขยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ในวันพฤหัสบดีนี้ถือเป็นหนึ่งในข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจที่ต้องจับตามอง แต่ในสัปดาห์นี้ไม่ได้มีเฉพาะตัวเลขยอดค้าปลีกเท่าไหร่แต่ยังมีเหตุการณ์สำคัญอื่นๆ อีกประมาณ 10 เหตุการณ์ซึ่งเราได้ลิสต์รายชื่อออกมาให้กับคุณผู้อ่านแล้วดังนี้
1. (สหรัฐฯ) ตัวเลขยอดค้าปลีก
2. (ยูโรโซน) การประกาศนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (ECB)
3. (แคนาดา) การประกาศนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางแคนาดา (BoC)
4. (ประเทศจีน) รายงานตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 2
5. (เยอรมัน) ผลสำรวจทางเศรษฐกิจโดยศูนย์วิจัยทางเศรษฐกิจของยุโรป (ZEW)
6. (สหราชอาณาจักร) รายงานอัตราการจ้างงาน
7. (สหรัฐฯ) รายงานตัวเลขยอดค้าปลีก
8. (ออสเตรเลีย) รายงานอัตราการจ้างงาน
9. (นิวซีแลนด์) ดัชนีผู้จัดการจัดซื้อ (PMI)
10. (นิวซีแลนด์) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
11. (สหรัฐฯ) รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจจากธนาคารกลางสหรัฐฯ
สำหรับการรายงานของธนาคารกลางต่างๆ เราคาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสัปดาห์นี้ สกุลเงินยูโรมีโอกาสขึ้นต่อได้มากที่สุดเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ เพราะมีโอกาสน้อยมากที่ ECB จะประกาศผ่อนคลายนโยบายทางการเงิน รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมันออกมาพูดเมื่อวานนี้ว่าเศรษฐกิจของยูโรโซนได้ผ่านจุดที่แย่ที่สุดมาแล้วในขณะที่ฝรั่งเศสมีรายงานว่าความเชื่อมั่นของการบริโภคในประเทศอยู่ห่างจากระดับปกติเพียง 5% เท่านั้น เราหวังว่าสกุลเงินยูโรจะสามารถรักษาขาขึ้นต่อไปได้จนกระทั่งถึงก่อนฟังผลตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ยจาก ECB ในวันพฤหัสบดี
สกุลเงินปอนด์ในตอนนี้เป็นสกุลเงินเดียวที่สถานการณ์ไม่ได้เปรียบมากเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ข้อมูลส่วนใหญ่ของสหราชอาณาจักรยังเป็นข้อมูลของเดือนพฤษภาคมอยู่ซึ่งเป็นเดือนที่สหราชอาณาจักรยังไม่ฟื้นตัวดีนักจากโควิด ปิดท้ายความการสร้างความประหลาดใจจากสกุลเงินที่ผูกมูลค่าเอาไว้กับสินค้าโภคภัณฑ์อย่างออสเตรเลียดอลลาร์ น่าประลาดใจมากที่ออสเตรเลียดอลลาร์ยังสามารถทำผลงานได้ดีทั้งๆ ที่พึ่งจะมีข่าวเกี่ยวกับการท่องเที่ยวระหว่างออสเตรเลียกับจีนซึ่งดูแล้วมีความเป็นไปได้ที่ความตึงเครียดทางความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศกำลังเพิ่มสูงขึ้น