เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 30.85-31.20 ต่อดอลลาร์

เผยแพร่ 07/07/2563 14:12
อัพเดท 09/07/2566 17:32
USD/THB
-

เงินบาทปิดอ่อนค่าที่ 31.13 ต่อดอลลาร์ USD/THBหลังซื้อขายในกรอบ 30.87-31.14 โดยเงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 2 สัปดาห์ ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 4.4 พันล้านบาท แต่ซื้อพันธบัตร 9 ร้อยล้านบาท

เงินดอลลาร์อ่อนค่าเทียบกับสกุลเงินสําคัญส่วนใหญ่ยกเว้น เงินเยน ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯและยุโรปสดใสเกิน คาดส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อสินทรัพย์เสี่ยง อย่างไรก็ตาม ตลาดยังกังวลเกี่ยวกับจํานวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่สูงขึ้น ต่อเนื่องในสหรัฐฯและแนวโน้มที่บางรัฐอาจต้องดําเนิน มาตรการล็อกดาวน์รอบใหม่

แลหน้า

เงินบาทสัปดาห์ปิดงวดครึงปี มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 30.85-31.20 ต่อดอลลาร์ หลังข้อมูลการจ้างงานนอกภาค เกษตรของสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 4.8 ล้านตําแหน่งในเดือนมิ.ย. ดีกว่าที่ตลาดคาดไว้และเป็นสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนอัตราการว่างงานลดลงสู่ระดับ 11.1% ในเดือนมิ.ย. จาก 13.3% ในเดือนพ.ค. อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ประธานธนาคาร กลางสหรัฐฯ(เฟด)กล่าวว่าเศรษฐกิจยังเผชิญกับความไม่ แน่นอนสูงอย่างมีนัยสําคัญ

ขณะที่เฟดเปิดเผยรายงานการ ประชุมโดยบ่งชี้ว่าเฟดสนับสนุนการส่งสัญญาณชี้นําทิศทาง นโยบายล่วงหน้าแบบชัดเจน (Forward Guidance) ให้แก่ สาธารณชน ทั้งเรื่องอัตราดอกเบี้ยและการซื้อพันธบัตร โดยเฟดประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่ สงครามโลกครั้งที่ 2 และเฟดจะยังไม่ถอนมาตรการกระตุ้น ในเร็วๆนี้ เรามองว่าในภาวะที่ตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่ ปรับตัวดีกว่าที่นักลงทุนคาดไว้และเฟดยังคงให้คํามั่นเรื่อง การสนับสนุนเศรษฐกิจและตลาดการเงินอย่างเต็มที่อาจทําให้การปรับฐานของสินทรัพย์เสี่ยงล่าช้าออกไปและจํากัดการแข็งค่าของเงินดอลลาร์

สําหรับปัจจัยในประเทศ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ใน เดือนมิ.ย.ลดลง 1.57% จากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ลดลงน้อย กว่าเดือนก่อนหน้า ขณะที่ก.พาณิชย์ให้ เหตุผลว่าเกิดจาก มาตรการบางส่วนของภาครัฐโดยเฉพาะการลดค่าไฟฟ้าและ น้ำประปาสิ้นสุดลง รวมทั้งราคาสินค้าหมวดพลังงานและ อาหารสดแม้จะลดลงต่อเนื่องแต่ลดลงในอัตราที่ช้าลง ส่วน ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน(Core CPI) ซึ่งไม่รวมอาหารสด และพลังงาน ในเดือนมิ.ย.ลดลง 0.05% จากช่วงเดียวกันปี 62 ซึ่งเป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 10 ปี 8 เดือน เรามองว่า แม้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปได้ ผ่านจุดตํ่ำสุดไปแล้วแต่เงินเฟ้อ พื้นฐานที่ทรุดลงสะท้อนปัญหาด้านกําลังซื้อ โดยประสิทธิผลของมาตรการด้านการเงินและการคลังจะเป็นตัวแปรสําคัญ ต่อการพยุงเศรษฐกิจและคุณภาพการฟื้นตัวในระยะถัดไป

อัพเดตอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท | แปลงค่าเงิน

ปรับแต่งการแสดงอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อติดตั้งบนเว็บไซต์ของคุณได้ที่ Investing.com ประเทศไทย.

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย