เมื่อมองไปที่แนวโน้มของดัชนีดาวโจนส์ คำถามยอดฮิตที่นักลงทุนทั้งฝั่งซื้อและขายมักจะถามกันก็คือว่า “ตอนนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังฟื้นตัวอย่างช้าๆ หรือฟื้นตัวอย่างรวดเร็วกันแน่?” แต่ละฝั่งต่างก็มีข้อโต้แย้งของกันและกัน ฝั่งขึ้นบอกว่าการเปิดพื้นที่ทางเศรษฐกิจทำให้การเติบโตกลับมาเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในขณะที่ฝั่งขายก็บอกว่าเพราะการเปิดพื้นที่ทางเศรษฐกิจนี่ละที่ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดด้วยเช่นกัน
ตลอดช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมารัฐเท็กซัสและฟลอริด้าคือ 2 รัฐแรกที่กลับมาจำกัดการเปิดพื้นที่ทางเศรษฐกิจอีกครั้งแม้ว่าผู้ว่าการทั้งสองรัฐจะเป็นคนจากฝ่ายรีพับบลิกันเองก็ตาม ฟอร์ริด้าถือเป็นรัฐสำคัญที่ส่งผลต่อฐานเสียงของทรัมป์และถือเป็นชัยภูมิทางการเมืองที่ฝ่ายรีพับบลิกันไม่อาจสูญเสียให้กับฝั่งเดโมแครตได้ หากว่ายังมีมาตรการล็อกดาวน์ในพื้นที่บางส่วนของรัฐอยู่จะส่งผลต่อความเร็วในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
นี่คือปัจจัยพื้นฐานที่เราคิดว่านักลงทุนในตลาดกำลังคิดเมื่อพิจารณาจากรูปแบบการวิ่งของราคา
ดัชนีดาวโจนส์ไม่สามารถวิ่งกลับขึ้นไปแตะขอบด้านบนของกรอบราคาขาขึ้นที่สร้างมาตั้งแต่เดือนมีนาคมได้ ยิ่งไปกว่านั้นราคาได้หลุดเส้นค่าเฉลี่ย 200 DMA ลงมาซึ่งเป็นพฤติกรรมราคาแบบเดียวกันกับช่วงที่เกิดการระบาดรอบแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่สำคัญกว่านั้นขาขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่สร้างรูปแบบธงลู่ขึ้นยังไม่สามารถผ่านแนวต้านจากเส้นค่าเฉลี่ย 200 DMA ขึ้นไปได้ด้วย
การที่ดัชนีดาวโจนส์ปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ด้วยราคาที่ต่ำลงแสดงให้เห็นว่าไม่มีใครอยากถือดัชนีดาวโจนส์ข้ามสัปดาห์และต้องการปิดคำสั่งซื้อขายหนีให้ได้เพราะไม่อาจคาดเดาผลกระทบของข่าวโควิด-19 ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมาได้ นอกจากนี้การที่แรงซื้อหายไปในวันศุกร์หลังจากที่วันพฤหัสบดีปรับตัวขึ้นหมายความว่าไม่มีคนมั่นใจขาขึ้นในตอนนี้ว่าจะเป็นแนวโน้มที่ดีในระยะยาว
ราชาอินดิเคเตอร์อย่าง MACD ได้เข้าสู่แนวโน้มขาลงแล้วเมื่อเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นตัดเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวลงมาซึ่งเป็นการยืนยันว่าราคาที่ปรับตัวลดลงสอดคล้องกับอินดิเคเตอร์ Volume ที่แท่งสีแดงสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้อินดิเคเตอร์อย่าง RSI ก็ได้ออกมายืนยันแนวโน้มขาลงอีกด้วยการหลุดเส้นเทรนด์ไลน์ที่ลากมาตั้งแต่เดือนเมษายนลงมาได้
สรุปแล้วพฤติกรรมราคา อินดิเคเตอร์ MACD และ RSI ต่างแสดงข้อมูลเดียวกันว่าหากดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลดลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 200 DMA และกลายเป็นแนวต้านเมื่อไหร่โอกาสที่ดัชนีดาวโจนส์จะกลายเป็นแนวโน้มขาลงมีสูง แต่ตอนนี้เราไม่อาจพูดได้ว่าดาวโจนส์กลายเป็นขาลงระยะยาวแล้วจนกว่าราคาจะสามารถหลุดแนวรับที่ 23,000 จุดลงมาได้ นอกจากนี้ราคายังต้องผ่านแนวรับที่เส้นค่าเฉลี่ย 100 และ 50 DMA ให้ได้ก่อน
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอจนกว่าราคาจะสามารถหลุดจุดต่ำสุดของเดือนมีนาคมลงมาได้เพื่อยืนยันการเป็นแนวโน้มขาลงระยะยาวก่อนที่จะตัดสินใจรับความเสี่ยงวางคำสั่งขาย
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะตัดสินใจวางคำสั่งขายเมื่อกราฟปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับราคา 24,760 จุด
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะวางคำสั่งขายเมื่อราคาอยู่บริเวณ 25,000 จุดซึ่งเป็นจุดสูงสุดของเดือนเมษายนและจุดต่ำสุดของเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ยังมีจุดเข้าอีกจุดคือบริเวณที่ราคาสามารถกลับขึ้นไปทดสอบกรอบราคาที่พึ่งหลุดออกมา
ตัวอย่างการเทรด
- จุดเข้า: 26,000 จุด
- Stop-Loss: 26,300 จุด (เหนือเส้นค่าเฉลี่ย 200 DMA)
- ความเสี่ยง: 300 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:23,000 จุด
- ผลตอบแทน: 3,000 จุด
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:10