หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ประกาศเข้ามาคุมการปันผลของธนาคารพาณิชย์และการซื้อหุ้นคืนแล้ว ความไม่แน่นอนของนักลงทุนที่ถือหุ้นของธนาคารใหญ่ๆ จึงเริ่มขึ้น ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้บอกกับธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ 33 แห่งและสถาบันทางการเงินว่าแบงก์ชาติจะไม่อนุญาตให้มีการเพิ่มเงินปันผลและการซื้อหุ้นคืนไปจนถึงเดือนกันยายนท่ามกลางความเสี่ยงจากวิกฤตโควิด-19 ที่กำลังผลักเศรษฐกิจของประเทศให้ถดถอยมากยิ่งขึ้น
การตัดสินใจครั้งนี้ของเฟดเกิดขึ้นหลังจากที่พวกเขาได้รับผลการทดสอบความสามารถในการรับวิกฤตและการเอาตัวรอดในช่วงเศรษฐกิจถดถอย และเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาแบบวิกฤตการเงินปี 2008 ขึ้นมาอีก เฟดจึงต้องดำเนินการตามที่เป็นข่าว นอกจากนี้ผลการทดสอบดังกล่าวยังบอกอีกด้วยว่าก่อนถึงไตรมาสที่ 4 มีความเป็นไปได้สูงว่าผู้ที่ทำการกู้ยืมจะไม่สามารถคืนเงินได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
รองประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ นายแรนดัล ควาเรสรองประธานเฟดกล่าวถึงการตัดสินใจครั้งนี้ของธนาคารกลางว่า “เหตุผลหลักๆ ที่เฟดจำเป็นต้องดำเนินการเช่นนี้เพื่อให้แน่ใจว่าเรามีเงินสำรองเพียงพอกับการเจอฉากทัศน์ที่เลวร้ายที่สุดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่อาจเกิดขึ้นได้ในไม่กี่เดือนข้างหน้า”
ช่วงระหว่างที่มีการปิดล็อกเมือง ธนาคารใหญ่ๆ หลายแห่งไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงิน ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2020 พบว่าธนาคารใหญ่ๆ ของประเทศ 4 แห่งได้แก่ แบงก์ ออฟ อเมริกา (NYSE:BAC) ซิตี้กรุ๊ป (NYSE:C) เจพี มอร์แกน (NYSE:JPM) เวลล์ ฟาร์โก (NYSE:WFC) จ่ายเงินปันผลมากกว่ารายได้รวมที่ธนาคารสามารถทำได้ การเข้ามาคุมเงินปันผลของเฟดหมายความว่านักลงทุนจะได้เงินตอบแทนน้อยลงจากการถือหุ้นของธนาคารเหล่านี้
ช่วงเวลาของการทำผลงานได้ต่ำกว่ามาตรฐาน
จากข่าวการควบคุมเงินปันผลของเฟดส่งผลให้ดัชนีวัด 24 หุ้นของธนาคารยักษ์ใหญ่ KBW Bank Index ร่วงลงสู่จุดต่ำสุดของเดือนมิถุนายน
ตลอดทั้งปี 2020 ดัชนี KBW ร่วงลงมาแล้ว 36% ทำผลงานได้ต่ำกว่าดัชนี S&P 500 ในช่วงเวลาวิกฤตอย่างมีนัยสำคัญเพราะโควิด-19 ที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยต้องถูกปรับลงมาอยู่ในระดับต่ำถือเป็นการทำร้ายหุ้นกลุ่มธนาคารเป็นอย่างมาก
เมื่อมองไปในอนาคตเรายิ่งเห็นความเป็นไปได้ที่หุ้นกลุ่มธนาคารจะยังโดนกดต่อไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความเป็นไปได้ของการแพร่ระบาดรอบที่ 2 เพิ่มสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลให้การเปิดพื้นที่ทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะต้องถูกชะลอตัวออกไปอีกครั้ง ด้วยนโยบายการควบคุมธนาคารกลางพาณิชย์แบบนี้เป็นการมอบอำนาจให้ธนาคารกลางฯ สามารถปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงินได้อีกในอนาคตหากว่าผลทดสอบฯ ในครั้งหน้าหรือเศรษฐกิจของประเทศแย่ลงกว่านี้
ถึงกระนั้นสถานการณ์ทางการเงินของทุกธนาคารต่างก็ได้รับผลกระทบต่างกัน เวลล์ ฟาร์โกและแคปปิตอล วัน (NYSE:COF) ไม่ช้าก็เร็วจะต้องหั่นตัวเลขการปันผลลงอยู่แล้วในขณะที่ซิตี้กรุ๊ปหรือมอร์แกน สแตนลีย์ (NYSE:MS) ยังสามารถจ่ายเงินปันผลในอัตราปกติไปได้อย่างไม่มีปัญหา จากรายงานของมอร์แกน สแตนลีย์ระบุว่า เวลล์ ฟาร์โกจะต้องหั่นตัวเลขการปันผลในไตรมาสที่ 2 ลงจาก $0.51 เหลือ $0.36 ส่วนแคปปิตอล วันจะต้องหั่นลงจาก $0.40 ลงเหลือ $0 เลยทีเดียว
นาง Jaret Seiberg นักวิเคราะห์จาก Cowen เขียนในโน๊ตของเธอเกี่ยวกับการตัดสินใจของเฟดว่า “การดำเนินการครั้งนี้ของเฟดแสดงให้เห็นว่าในไตรมาสที่ 4 อาจจะมีมาตรการที่รัดกุมกว่านี้ออกมาอีกหากว่าสภาพเศรษฐกิจของประเทศแย่ลง แม้จะเป็นการตัดสินใจเพื่อตั้งรับแต่ก็เป็นการตัดสินใจที่ไม่ส่งผลดีต่อทุกฝ่าย ธนาคารใหญ่ๆ ก็จะต้องตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เพราะไม่สามารถจ่ายเงินปันผลตามปกติได้แม้ว่าจะมีกฎต้องจ่ายเงินปันผลชดเชยน้อยกว่า 30% ของเงินทุนให้กับผู้ถือหุ้นก็ตาม”
โดยสรุปแล้ว
ความมีเสถียรภาพและอัตราการเติบโตที่มั่นคงคือปัจจัยหลักที่ทำให้นักลงทุนสนใจมาถือหุ้นกลุ่มธนาคารทั้งๆ ที่ทราบดีว่ากำลังตกอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่มีความแน่นอน ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ของเฟดยิ่งทำให้นักลงทุนไม่มีความเชื่อมั่นต่อการปันผลคือจากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น