เหลียวหลัง
• เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 30.90 ต่อดอลลาร์ หลังซื้อขายในกรอบ 30.80-31.04 โดยเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 5 เดือน ขณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที'ระดับตํ่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.50% ตามคาด กดดูอัตราแลกเปลี่ยน USD/THB ล่าสุด
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทย 1.1 หมื่นล้านบาท และ 4.8 พันล้านบาท ตามลําดับ
• เงินดอลลาร์อ่อนค่าเทียบกับยูโรUSD/EUR แต่แข็งค่าเมื่อเทียบเงินเยน USD/JPY หลังสหรัฐฯยืนยันว่าข้อตกลงการค้ากับจีนยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงโดยท่ก่อนหน้านี้กระแสข่าวสร้างความสับสนให้กับตลาดในช่วงสั้นๆ ส่วนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อเบื้องต้น ของเขตยูโรโซนบ่งชี้สัญญาณการฟื้นตัวในเดือนมิ.ย.
แลหน้า
เงินบาทสัปดาห์ปิดงวดครึ้งปี มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 30.75-31.10 ต่อดอลลาร์ นักลงทุนจะติดตามสถานการณ์ ยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่สูงขึ้นในต่างประเทศ รวมถึงการ เปิดเผยรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด)และ ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตร อนึ่งเราประเมินว่าความ เปราะบางของการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงจะช่วยชะลอแรง ขายดอลลาร์ในระยะนี้ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบต่อค่าเงิน บาทอาจถูกจํากัดหากราคาทองคํายังคงไต่ระดับสูงขึ้น
สําหรับปัจจัยในประเทศ กนง.คงดอกเบี้ยด้วยมติเอกฉันท์ แต่ลดคาดการณ์จีดีพีปี 63 เป็ นหดตัว 8.1% จากเดิมคาดว่าติด ลบ 5.3%, ปรับเพิ่มประมาณการจีดีพีปี 64 เป็ น 5% จากเดิม คาดว่าจะเติบโต 3% และปรับลดคาดการณ์การส่งออกปี 63 เป็นหดตัว 10.3% จากเดิมคาดว่าจะติดลบ 8.8% พร้อมประเมินว่าจํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะเพิ่มขึ้นเพียง 1 ล้านคน ทําให้ทั้งปี ร่วงลงราว 80% จากปีก่อนหน้า
ขณะที่ กนง.ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังแต่ยังคงหดตัว ทางด้านเสถียรภาพระบบการเงิน เปราะบางมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์ยังแข็งแกร่งแต่ในระยะข้างหน้าต้องเตรียมพร้อมรับผลกระทบจาก COVID-19
นอกจากนี้ ทางการกังวลต่อเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นและจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งประเมินความจําเป็นของมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม จากท่าทีโดยรวมเราคาดว่ากนง.จะคงดอกเบี้ยที่ 0.50% ตลอดช่วงที่เหลือของปีนี้ ส่วนยอดส่งออกและนําเข้าเดือน พ.ค.ที่หดตัวเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 62 ในอัตรารุนแรงถึง 22.5% และ 34.4% ตามลําดับ สะท้อนความไม่แน่นอนสูง ผนวกกับอุปสงค์ภายในที่อาจทรุดตัวยาวนานกว่าคาด
ทําให้ เรามองว่าการเยียวยาที่ตรงจุดและประสิทธิผลของมาตรการ ด้านการคลังการเงินและเครื'องมือที'ไม่ใช่ดอกเบี้ยนโยบายจะ มีความสําคัญอย่างมากต่อการพยุงตลาดแรงงานในเวลานี้
บทความนี้มาจากศูนย์วิจัยกรุงศรี สามารถอ่านบทวิเคราะห์ฉบับเต็มได้ที่ www.krungsri.com
ห้ามพลาด
♦ดอลลาร์ยังถูกเทขาย จากความวิตกโควิด-19 รอบสอง
อัพเดตอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท | แปลงอัตราแลกเปลี่ยน