สตีเฟ่น โรช นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากมหาวิทยาลัยเยลและเคยนั่งตำแหน่งบอร์ดบริหารระดับสูงของธนาคารสำหรับการลงทุนชื่อดังอย่างมอร์แกน สแตนลีย์เผยว่า “ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอาจร่วงลงอย่างรวดเร็วชนิดที่นักลงทุนตั้งตัวไม่ทันเลยทีเดียว ผมมองว่าการเกิดวิกฤตโควิด-19 คือตัวเร่งที่ทำให้สกุลเงินดอลลาร์เสื่อมมูลค่าเร็วขึ้นซึ่งเราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนจากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไร้ขีดจำกัดของธนาคารกลางสหรัฐฯ เร็วๆ นี้อาจจะได้เห็นดัชนีร่วงลง 35%”
การวิเคราะห์ของนักเศรษฐศาสตร์ท่านนี้เห็นไปในทิศทางเดียวกันกับการวิเคราะห์แนวโน้มของดัชนีดอลลาร์สหรัฐที่เราเคยเขียนไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากที่บทความได้เผยแพร่ออกไป ดัชนีดอลลาร์สหรัฐสามารถปรับตัวขึ้นได้ 4 แท่งติดต่อกันแต่เป็นขาขึ้นที่อยู่ในกรอบราคาแคบๆ
แต่แท่งเทียนขาลงที่พึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์แท่งเดียวลบความพยายามของตลาดกระทิงตลอด 3 วันก่อนหน้าหมดสิ้น แม้จะมีความพยายามของตลาดกระทิงที่อยากจะดึงดัชนีให้ปรับตัวกลับขึ้นไปแต่เมื่อพิจารณาจากสิ่งที่เกิดขึ้นเรามองว่าพฤติกรรมของดัชนีดอลลาร์สหรัฐตอนนี้เข้าข้างตลาดหมีมากกว่า
กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐสร้างรูปแบบธงลู่ขึ้นเสร็จเรียบร้อยแล้วโดยมีแท่งเทียนขาลงเมื่อวันจันทร์เป็นแท่งเทียนยืนยันซึ่งหมายความว่าสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อจากนี้กำลังจะกลายเป็นการยืนยันขาลงต่อเนื่องที่เกิดจากการหลุดกรอบสามเหลี่ยมสมมาตรที่สร้างขึ้นในช่วงมีนาคมและเมษายน
ตั้งแต่แรกขาขึ้นที่เกิดในกรอบราคาแคบๆ ก็เป็นสัญญาณบอกเป็นนัยอยู่แล้วว่าขาขึ้นรอบนี้ไม่ใช่ขาขึ้นปกติ ใครจะรู้ว่าการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันระหว่างแรงซื้อและแรงขายครั้งนี้ที่จริงแล้วเป็นฝั่งขายเองหรือเปล่าที่ปลอมตัวมาเป็นฝั่งขาขึ้นพยายามดันกราฟให้ขึ้นมาเพื่อที่ตัวเองจะได้เทขายต่อในแนวโน้มระยะยาว
ขาลง 4% ภายในระยะเวลาเพียง 2 สัปดาห์ก่อนเข้าสู่กรอบสามเหลี่ยมสมมาตรถือว่าเป็นอะไรที่ล่อตาล่อใจนักลงทุนมาก แต่มันก็ทำให้พวกเขาอดคิดไม่ได้ว่าขาลงที่เกิดขึ้นนี้มาเร็วเกินไปหรือเปล่า ดูเหมือนว่าเรารีบเร่งทำกำไรเกินไปหรือไม่ ดังนั้นสิ่งที่พวกฝั่งขายทำคือลองปล่อยคำสั่งขายเพื่อปล่อยให้ขาขึ้นสามารถกลับมาแล้วรอดูว่าขาขึ้นยังมีกำลังแรงดีอยู่หรือไม่
และวินาทีที่ขาลงขอกลับเข้ามาทำตามความต้องการเดิมก็เกิดขึ้น เห็นได้ชัดเลยว่าขาลงจากแท่งเทียนเพียงแท่งเดียวมีกำลังมหาศาลกว่าขาขึ้นมากเพียงใด เพื่อไม่ให้เสียเปรียบขาขึ้นพวกฝั่งขายจึงกดราคาอย่างหนัก พลักราคาให้ตกลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งให้ฝ่ายตลาดกระทิงได้เห็นตลาดหมีส่งสัญญาณยืนยันการหวนคืนด้วยการทะลุกรอบแนวรับลงมา
ยิ่งไปดูที่อินดิเคเตอร์ยิ่งเห็นว่าขาลงมีความชัดเจนขนาดไหน เส้นค่าเฉลี่ย 50 DMA ตอนนี้สามารถทะลุเส้นค่าเฉลี่ย 100 DMA ลงมาได้แล้วซึ่งการตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ยทั้งสองเกิดขึ้นในช่วงที่กราฟกำลังทำรูปแบบธงลู่ขึ้นด้วย หากว่าขาลงที่มีความรุนแรงอย่างมีนัยสำคัญเกิดขึ้นอีกครั้งจะสามารถทำให้เส้นค่าเฉลี่ย 50 DMA ตัดเส้น 200 DMA ลงไปได้เลย
อินดิเคเตอร์อย่าง RSI ก็แสดงสัญญาณขาลงเช่นกัน ตั้งแต่ก่อนที่ราคาจะทะลุธงลู่ขึ้นลงมาเส้นค่าเฉลี่ยในอินดิเคเตอร์ RSI ก็ขึ้นไปทดสอบเส้นเทรนด์ไลน์ด้านบนที่เป็นของกรอบราคาขาลงเรียบร้อย สร้างเป็นไดเวอร์เจนต์ระหว่างตัวดัชนีดอลลาร์สหรัฐกับอินดิเคเตอร์เอง นอกจากนี้เส้นประสีแดงใน RSI ยังแสดงให้เห็นด้วยว่านี่คือบริเวณที่มีแนวต้านสำคัญ 2 แนวกำลังรอราคาอยู่ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ขาขึ้นจะสามารถผ่านขึ้นไปได้
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอจนกว่าราคาสามารถลงไปถึงจุดเริ่มต้นของรูปแบบธงขาขึ้น (ประมาณ 95.00) จากนั้นรอให้กราฟย่อกลับขึ้นมาแล้วจึงหาสัญญาณเทขาย
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง เทรดตามกลุ่มเทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยงแต่จังหวะที่กราฟย่อกลับขึ้นมาจะไม่รอแท่งเทียนยืนยัน
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะวางคำสั่งขายในตอนนี้โดยที่นักลงทุนกลุ่มนี้สามารถยอมรับความเสี่ยงและมีแผนการลงทุนที่เหมาะสมรองรับ
ตัวอย่างการเทรด
- จุดเข้า: 97.00
- Stop-Loss: 97.75 (เหนือจุดสูงสุดของรูปแบบธงลู่ขึ้น)
- ความเสี่ยง: 75 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:94.75 (ก่อนที่จุดต่ำสุดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม)
- ผลตอบแทน: 225 จุด
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:3