นับตั้งแต่สมัยสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐสามารถก้าวขึ้นมาเป็นสกุลเงินสำรองหลักของโลกด้วยเหตุผลสองประการ หนึ่งคือตอนนั้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาคือประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเงินมากที่สุดในโลกทั้งในแง่ของระบบการปกครองและกองกำลังทหาร สองคือสหรัฐฯ เป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดมาหลายทศวรรษและยังเป็นประเทศผู้ส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของโลกอีกด้วย
อย่างไรก็ตามในปี 2017 ประเทศจีนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตามมาด้วยเยอรมันที่ตามมาติดๆ สถานการณ์โลกที่กำลังเปลี่ยนไปเหล่านี้กำลังทำให้ความเป็นของสกุลเงินดอลลาร์ในฐานะสินทรัพย์สำรองลดลง
เพื่อตอกย้ำความเสื่อมมูลค่าลงของสกุลเงินดอลลาร์และต้องการให้สกุลเงินหยวนขึ้นมาแทนที่ ในปี 2018 ประเทศจีนจึงได้ออกสัญญาซื้อขายน้ำมันล่วงหน้าที่ต้องใช้สกุลเงินหยวนในการเข้าซื้อ ในขณะเดียวกันก็ไม่อาจประมาทเศรษฐกิจของเยอรมันที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเยอรมันเติบโตขึ้นมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสที่สกุลเงินยูโรจะสามารถขึ้นมาเป็นสกุลเงินสำรองของโลกแทนดอลลาร์ในกรณีที่สถานการณ์ทางการเมืองสหรัฐฯ ขาดเสถียรภาพเพราะรัฐบาลทรัมป์ยังคงเดินหน้าทำสงครามการค้ากับจีนอย่างต่อเนื่อง
การล่มสลายของสกุลเงินดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินที่เป็นสินทรัพย์สำรองไม่ใช่เพียงทฤษฎีสมคบคิด ยิ่งธนาคารกลางสหรัฐฯ พิมพ์เงินดอลลาร์ออกมามากเท่าไหร่มูลค่าของสกุลเงินดอลลาร์ก็จะยิ่งลดลงมากเท่านั้น เมื่อผู้คนหมดศรัทธาในสกุลเงินดอลลาร์ เมื่อนั้นพวกเขาก็พร้อมที่จะหันไปใช้สินทรัพย์อย่างอื่นแทนเหมือนอย่างที่เช่นในสมัยของประธานาธิบดีนิกสันที่เราเลือกลดคุณค่าของทองคำลงให้เป็นเพียงสินทรัพย์สำรองในปี 1971
อย่างไรก็ตามสิ่งที่พูดมานั้นเป็นเรื่องของปัจจัยพื้นฐานแต่ถ้าหากพิจารณาสกุลเงินยูโรและดอลลาร์ในทางเทคนิคเทียบกันแล้ว ระยะยาวสกุลเงินดอลลาร์ยังคงเป็นแนวโน้มหลัก
ในเดือนธันวาคมปี 2014 กราฟ EUR/USD ปรับตัวลดลงมาจากจุดสูงสุดลงไปอยู่ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยรายเดือน 200 วันซึ่งเป็นเส้น neckline ของรูปแบบหัวไหล่ในภาพใหญ่พอดี นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมากราฟ EUR/USD ก็ปรับตัวลดลงอยู่ในกรอบราคาขาลงที่ลากมาตั้งแต่จุดสูงสุดในปี 2008
ในช่วงต้นปี 2018 ถือเป็นอีกครั้งที่กราฟพยายามสร้างรูปแบบไปต่อของหัวไหล่ในขาลง แต่การที่จะทำสำเร็จได้กราฟจะต้องหลุดแนวรับ 1.0500 ลงไปให้ได้เสียก่อน แต่จนถึงปัจจุบันการสร้างรูปแบบนี้ก็ยังไม่สำเร็จเพราะติดเส้นแนวรับที่ 1.0500 เอาไว้ซึ่งลากมาตั้งแต่ปี 2015 มาจนถึงปัจจุบัน
ลงมาดูกราฟ EUR/USD ในสเกลที่เล็กลงบ้างพบว่าขาขึ้นยังเป็นแนวโน้มหลักในไทม์เฟรมนี้ ในกราฟรายวันจะพบว่ายูโรเทียบดอลลาร์ปรับตัวขึ้นมา 3 วันติดต่อกันแล้ว หากไม่นับวันศุกร์ที่ผ่านมาซึ่งโดนข่าวตัวเลขการจ้างงานฯ ของสหรัฐฯ มาสกัด ปัจจุบันกราฟ EUR/USD น่าจะสามารถทำสถิติขาขึ้น 12 วันติดต่อกันแล้วซึ่งถือเป็นขาขึ้นที่ยาวที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2011 ถึงอย่างนั้นยิ่งกราฟ EUR/USD วิ่งเข้าใกล้จุดสูงสุดเมื่อวันที่ 9 มีนาคมมากเท่าไหร่ การปิดออเดอร์เพื่อทำกำไรของนักลงทุนก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น
หากกราฟจะต้องปรับฐานลดลงจริงๆ แล้ว ในความคิดของเราอยากให้กราฟปรับตัวลดลงด้วยรูปแบบธงลู่ลง (Falling Flag) มากที่สุดเพราะรูปแบบนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะถูกนักลงทุนพิจารณาว่าเป็นการย่อของราคาเพื่อปรับฐานและวิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต
หากต้องการจะให้กราฟปรับตัวลดลงอย่างน้อยแท่งเทียนต้องปรากฏรูปแบบดาวตก (Shooting Star) ออกมา แต่จากคำแถลงการณ์ของเฟดในช่วงเช้าของวันนี้แล้วขาขึ้นของกราฟ EUR/USD มีความเป็นไปได้มากกว่าเพราะเฟดพูดชัดเจนว่าในปี 2020 นี้จะเป็นเรื่องของการเสริมสภาพคล่องมากกว่าเดินเกมรุกให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตแม้ว่าอินดิเคเตอร์ RSI หรือ MACD ต่างส่งสัญญาณว่าอยู่ในโซน overbought กันหมดแล้ว ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้มากกว่าที่เราจะได้เห็นขาขึ้นมากกว่าขาลงในกราฟรายวันก่อนที่จะขึ้นไปเจอกับแนวต้านใหญ่ในกราฟรายเดือน
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะวางคำสั่งซื้อหลังจากที่กราฟสามารถหลุดแนวต้านที่จุดสูงสุดเมื่อวันที่ 9 มีนาคมขึ้นไปได้ 5 แท่งติดต่อกัน ตามด้วยการย่อลงมาทดสอบแนวรับเพื่อไปต่อ
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะรอตามการทะลุขึ้นไปของราคาด้วยเช่นกันแต่จะไม่รอว่าต้องมีแท่งเทียนขาขึ้น 5 แท่งติดต่อกัน ขอเพียงทะลุขึ้นไปแล้วย่อกลับลงมารับก็พอ
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะวางคำสั่งขายเพราะเชื่อว่ากราฟจะปรับตัวลดลงตามกรอบสามเหลี่ยมลู่ลงและอินดิเคเตอร์ต่างๆ ที่ขึ้นมาอยู่ในโซน overbought กันหมดแล้ว
ตัวอย่างการเทรด (สำหรับขาลง)
- จุดเข้า: 1.1355
- Stop-Loss: 1.1375
- ความเสี่ยง: 20 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:1.1275
- ผลตอบแทน: 80 จุด
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:4