เริ่มต้นสัปดาห์ไม่สวยเท่าไหร่สำหรับสกุลเงินเมื่อเทียบกับคู่สกุลเงินหลักอื่นๆ พบว่าปรับตัวลดลง สัปดาห์ที่แล้วรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) ส่งข่าวดีมาให้แล้วขึ้นอยู่กับว่าสัปดาห์นี้การประกาศนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งเป็นข่าวใหญ่เพียงข่าวเดียวตลอดทั้งสัปดาห์จะมีความเห็นว่าอย่างไร แม้ตลาดเชื่อว่าการประกาศของเฟดจะส่งผลกับตลาดน้อยกว่านอนฟาร์มเมื่อสัปดาห์ที่แล้วแต่สิ่งที่นักลงทุนต้องการทราบคือเฟดจะดำเนินนโยบายอย่างไรต่อไปหลังจากได้ทราบข่าวดี ถึงตัวเลขของสำนักงานสถิติแรงงานสหรัฐจะออกมาผิดพลาดแต่ก็ไม่มีใครตั้งคำถามกับตัวเลขการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น 2.7 ล้านคนมากนักและเชื่อว่าเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้
อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังอยู่บนเส้นทางการฟื้นฟูภายใต้โครงการให้สินเชื่อเพื่อฟื้นฟูธุรกิจ (PPP) ซึ่งเราจะได้เห็นตัวเลขการจ้างงานเพิ่มขึ้นในการประกาศนอนฟาร์มรอบต่อไป แต่สาเหตุที่สกุลเงินดอลลาร์อ่อนมูลค่าเมื่อวานนี้เป็นเพราะสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ (NBER) ออกมาประกาศว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาคือช่วงเวลาของการถดถอย นอกจากนี้ข่าวดังกล่าวยังออกมาพร้อมกับกลยุทธ์การกดดันประเทศจีนของทรัมป์ที่มีแผนจะลงนามสัญญาคุ้มครองสิทธิชาวอุยกูร์ ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ส่งผลให้กราฟ ร่วงลงโดยที่ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับสกุลเงินเยนเลย
สิ่งที่นักลงทุนต้องการมากที่สุดจากการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ในวันพรุ่งนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประธานเฟดนายเจอโรม พาวเวลล์คือความเชื่อมั่นของเฟดที่มีต่อการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจซึ่งจะช่วยให้สกุลเงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง นโยบายทางการเงินสามารถคงเดิมเอาไว้ไม่เปลี่ยนแปลงได้และไม่จำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจใดๆ เพิ่มเติมอีกโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับอัตราดอกเบี้ยให้ลงไปจนติดลบ หากในวันพรุ่งนี้ประธานเฟดกล่าวทำนองว่าการหดตัวทางเศรษฐกิจน้อยกว่าที่คาดการณ์ส่งผลให้สถานการณ์ไม่ได้เลวร้ายขนาดที่คิดไว้ก่อนหน้านี้ ดอลลาร์จะแข็งแกร่งขึ้น ในทางกลับกันถ้าประธานเฟดยังคงแสดงท่าทีเป็นกังวล พูดถึงความเสี่ยงการกลับมาแพร่ระบาดของเชื้อโควิดในรอบที่ 2 ดอลลาร์จะร่วง
หนึ่งในคำถามสำคัญที่ประธานเฟดจะต้องถูกถามแน่นอนคือ “ในความคิดของเขาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ผ่านจุดเลวร้ายที่สุดมาแล้วหรือไม่” การตอบคำถามนี้ของเจอโรม พาวเวลล์จะส่งผลกระทบต่อสกุลเงินดอลลาร์เป็นอย่างมาก รายละเอียดของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจคือข้อมูลที่สำคัญที่สุด อย่างที่เห็นว่าแม้จะได้นอนฟาร์มมาช่วยแต่สกุลเงินดอลลาร์ก็ยังคงอ่อนแอเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ อยู่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำไปเทียบกับ 2 สกุลเงินที่ช่วงนี้ทำผลงานได้ดีที่สุดอย่างและ จึงไม่น่าแปลกใจที่เราจะเห็นกราฟ USD/JPY ร่วงลงมาอย่างนั้นในขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับปรับตัวสูงขึ้น
กราฟยังคงปรับตัวสูงขึ้นแม้ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่ออกมาจะไม่ได้ดีมากและตัวเลขการจ้างงานฯ ของสหรัฐฯ กลับมาอย่างมีนัยสำคัญ รายงานตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมันในเดือนเมษายนหดตัวมากถึง 17.9% มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ นี่ถือเป็นตัวเลขการหดตัวที่แย่ที่สุดของข่าวนี้ ตัวเลขภาคการผลิตในเดือนมีนาคมและเมษายนที่ออกมาถือว่าย่ำแย่ไม่แพ้กันเพราะเศรษฐกิจยุโรปในตอนนั้นได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดล็อคเมือง อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ตัวเลขดัชนี PMI ของยุโรปที่ออกมาดีขึ้นจึงทำให้เชื่อได้ว่าข้อมูลตัวเลขทางการค้าในเดือนเมษายนจะเป็นตัวเลขที่ดีขึ้นตามไปด้วย
นางคริสติน ลาการ์ดประธานธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (ECB) กล่าวว่าเหตุผลที่ ECB ต้องรีบมีมาตรการดำเนินการอย่างรวดเร็วก็เพื่อป้องกันเศรษฐกิจยูโรโซนไม่ให้จมลงสู่การชะลอตัวทางเศรษฐกิจและสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การเจรจาเรื่อง Brexit ระหว่างสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรก็ยังไม่มีความคืบหน้าเพิ่มเติม ที่สำคัญสำหรับนักลงทุนในกราฟ GBP/USD สัปดาห์นี้คือจะไม่มีข่าวทางเศรษฐกิจสำคัญของฝั่งสหราชอาณาจักรไปจนถึงวันศุกร์ซึ่งจะมีการประกาศตัวเลขบัญชีการค้าและผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าทิศทางของกราฟ ในสัปดาห์นี้ก่อนถึงวันศุกร์จะไปในทิศทางไหนขึ้นอยู่กับดอลลาร์สหรัฐทั้งสิ้น
3 สกุลเงินที่ทำผลงานได้ดีที่สุดเมื่อวานนี้ได้แก่นิวซีแลนด์ดอลลาร์ ออสเตรเลียดอลลาร์และตามลำดับ กราฟ สามารถอยู่ในขาขึ้นมาเป็นเวลา 6 วันติดต่อกันแล้วในขณะที่ สามารถทำได้ 8 วันติดต่อกัน ถือเป็นขาขึ้นที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือนธันวาคมปี 2017 นอกจากนี้ตัวเลขการค้าของจีนที่ออกมาก็ดีเกินคาดเป็นการชี้ว่าการค้าของจีนสามารถสร้างผลกำไรให้กับประเทศได้มากถึง $63,000 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นสถิติใหม่ อย่างไรก็ตามนี่้ป็นข้อมูลตัวเลขที่มาจากภาคการนำเข้าส่งออกเท่านั้นโดยยังไม่ได้รวมกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ
ถึงกระนั้นข้อมูลตัวเลขเหล่านี้ก็เพียงพอที่จะส่งสกุลเงินออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ดอลลาร์ให้ทะยานสูงขึ้นเมื่อประกอบกับข่าวดีที่นิวซีแลนด์ยกเลิกการเว้นระยะห่างทางสังคมหลังจากทางรัฐบาลนิวซีแลนด์มั่นใจว่าสามารถปราบโควิด-19 จนสิ้นซากไปได้ตั้งแต่ 2 อาทิตย์ก่อน จากวันนั้นจนถึงปัจจุบันยังไม่มีเคสผู้ติดเชื้อใหม่รายงานเข้ามาอีกเลย ตัวอย่างที่ดีจากนิวซีแลนด์แสดงให้ทุกประเทศในโลกได้เห็นว่าหากองค์ประกอบ 3 อย่างคือภาครัฐ ภาคประชาชน และความรู้ความเข้าใจในการจัดการไวรัสสามารถดำเนินไปในทิศทางเดียวกันได้ การปราบโควิดโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งวัคซีนก็สามารถทำได้ สถานการณ์ในออสเตรเลียก็มีความคล้ายคลึงกับในนิวซีแลนด์ ไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 20 เมษายนแต่ยังไม่ได้ยกเลิกมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม รัฐบาลมีการพูดถึงมาตรการผ่อนปรนมากขึ้น นอกจากนี้สาเหตุหนึ่งที่ออสเตรเลียดอลลาร์แข็งค่ากว่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์เป็นเพราะรายงานตัวเลขที่อยู่อาศัยเริ่มสร้างภายในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกของปี 2020