ขอขอบคุณภาพประกอบจาก: CQG
- จุดสูงสุดใหม่ของอัตราส่วนระหว่างเงินกับทองคำในเดือนมีนาคมปี 2020
- อัตราส่วนความต้องการระหว่างเงินกับทองคำที่ลดลง
- ประวัติการเคลื่อนไหวของกราฟอัตราส่วนความต้องการของตลาดแร่เงินและทองคำตั้งแต่ปี 2008-2011
การเปรียบเทียบอัตราส่วนระหว่างแร่เงินและทองคำไม่ใช่ว่าพึ่งมาเริ่มใช้กันในยุคปัจจุบันแต่มีหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าการเปรียบเทียบอัตราส่วนดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่สมัย 3000 ก่อนคริสตกาลในยุคของฟาโรห์เมเนสแห่งอียิปต์ที่ทรงประกาศให้ครึ่งหนึ่งของแร่เงินมีค่าเท่ากันกับครึ่งหนึ่งของแร่ทองคำ
ในยุคปัจจุบันค่าเฉลี่ยของความสัมพันธ์ราคาระหว่างเงินและทองคำมีอัตราส่วนอยู่ที่ 55:1 ในตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนล่วงหน้า COMEX ครั้งหนึ่งอัตราส่วนนี้เคยขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดเอาไว้ในปี 1990 และสร้างจุดต่ำสุดเอาไว้ในปี 1989 เมื่ออัตราส่วนลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยหมายความว่าแร่เงินมีมูลค่าถูกเมื่อเทียบกับทองคำและในทางกลับกันหากอัตราส่วนนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ยเท่ากับว่าแร่เงินมีราคาแพงขึ้น
การขึ้นลงของอัตราส่วนระหว่างเงินและทองคำสามารถสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่ความต้องการในแร่ทั้งสองจะเพิ่มขึ้น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทองคำและเงินต่างเคยถูกใช้เป็นทั้งตัวกลางการแลกเปลี่ยนหลักและกลายเป็นสินทรัพย์สำรอง ทั้งสองแร่คือสัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งและร่ำรวยมาตั้งแต่ในอดีต ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระหว่างนาย William McKinley และ William Jennings Bryan เคยถกเถียงกันมาแล้วว่าจะใช้ทองคำและเงินเป็นมูลค่าที่ผูกติดกับสกุลเงินดอลลาร์หรือไม่จนท้ายที่สุดนาย McKinley และทองคำก็ชนะการเลือกตั้งไป
ในเดือนมีนาคมปี 2020 ซึ่งเป็นช่วงที่วิกฤตโควิด-19 ขึ้นถึงจุดสูงสุดเช่นเดียวกับความเสี่ยงในทุกตลาดลงทุน ราคาแร่เงินในตอนนั้นถูกกดลงสู่จุดต่ำสุด $12 ต่อออนซ์เมื่อปี 2009 ส่งผลให้กราฟอัตราความต้องการของแร่เงินและทองคำขึ้นสู่จุดสูงสุดใหม่ตลอดกาล
จุดสูงสุดใหม่ของอัตราส่วนระหว่างเงินกับทองคำในเดือนมีนาคมปี 2020
รูปของกราฟรายวันของราคาซื้อขายทองคำล่วงหน้าเดือนมิถุนายนในตลาด COMEX เทียบกับการซื้อขายแร่เงินล่วงหน้าเดือนกรกฏาคมแสดงให้เห็นอัตราความต้องการของแร่เงินและทองคำที่ขึ้นสู่จุดสูงสุดใหม่ตลอดกาล
กราฟความสัมพันธ์ของทั้งสองแร่ขึ้นสู่จุดสูงสุดที่ 124.4 ออนซ์ของแร่เงินเมื่อเทียบกับออนซ์ของแร่ทองคำในวันที่ 18 มีนาคม ในกราฟรายไตรมาสแสดงให้เห็นว่าจุดสูงสุดก่อนหน้าในปี 1990 อยู่ต่ำกว่าอัตราอัตราส่วนของเงิน (95) ส่วนต่อทองคำ (1) ส่วน
อัตราส่วนระหว่างเงินและทองคำที่ลดลง
นับตั้งแต่จุดสูงสุดเมื่อเดือนมีนาคมอัตราส่วนระหว่างเงินและทองคำก็ถูกปรับลดลงอย่างสม่ำเสมอมาโดยตลอด เมื่อวันที่ 1 มิถุนายนพบว่ากราฟลงมาที่ระดับอัตราส่วน 92.32:1 และเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมามีอัตราส่วนอยู่ที่ 96:1 จากประวัติการวิ่งที่ผ่านมาของกราฟอัตราส่วนแร่เงินเทียบทองคำพบว่าอัตราส่วนมีแนวโน้มจะปรับตัวขึ้นในช่วงที่ตลาดย่อลงมาในแนวโน้มขาขึ้นใหญ่
จุดต่ำสุด 15.47:1 เกิดขึ้นในปี 1979 ตอนนี้แร่เงินกำลังขึ้นไปยังระดับราคา $50.36 และราคาทองคำมีตัวเลขอยู่ที่ $875 ต่อออนซ์ ในปี 2011 อัตราส่วนต่างนี้ถูกปรับลดลงมายัง 38:1 3 ปีหลังจากวิกฤตการเงินในปี 2008 ราคาแร่เงินปรับตัวขึ้นไปยังจุดสูงสุดที่ $49.82 ในขณะที่ทองคำสร้างจุดสูงสุดเอาไว้ที่ $1920.70 ต่อออนซ์
ในปี 1990 ราคาทองคำและเงินปรับตัวลดลงมายัง $346 และ $3.93 ออนซ์ตามลำดับ อัตราส่วนของส่วนต่างที่ลดลงคือสัญญาณบ่งบอกว่าราคาทองคำกำลังปรับตัวสูงขึ้น
ประวัติการเคลื่อนไหวของกราฟและอัตราส่วนความต้องการของตลาดแร่เงินและทองคำตั้งแต่ปี 2008-2011
บางทีในยุคนี้สิ่งที่สามารถกระตุ้นขาขึ้นของกราฟเทียบอัตราส่วนระหว่างเงินกับทองคำได้ดีที่สุดอาจจะเป็นข่าวการกระตุ้นเศรษฐกิจจากธนาคารกลางและรัฐบาลสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้กระทรวงการคลังสหรัฐฯ เคยกู้ยืมเงินจำนวน $530,000 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจตั้งแต่เดือนมิถุนายนจนถึงกันยายนปี 2008 และล่าสุดกระทรวงการคลังก็พึ่งใช้เงิน $3,000,000 เหรียญเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงโควิด-19
สิ่งที่เคยกระตุ้นกราฟอัตราส่วนระหว่างแร่เงินกับทองคำในช่วงระหว่างปี 2008 - 2011 อาจจะสามารถเกิดขึ้นได้อีกครั้งในช่วงนี้ พูดง่ายๆ ก็คืออดีตที่การกู้ยืมเงินเคยทำให้คนหันไปถือทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไรก็มีความเป็นไปได้ว่าในตอนนี้อาจจะได้เห็นทองคำปรับตัวขึ้นอย่างนั้นในอนาคต
กราฟด้านบนแสดงให้เห็นความเคลื่อนไหวของกราฟในช่วงปี 2008 ตอนที่กราฟสามารถขยับขึ้นไปสร้างจุดสูงสุดตอนนั้นอัตราส่วนระหว่างเงินและทองคำอยู่ที่ 77.37:1 ซึ่งเป็นจุดสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1996 หลังจากนั้นกราฟก็ปรับตัวลดลงมายังจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1983 ที่ 38:1
ในปีนี้การกระตุ้นเศรษฐกิจของเฟดจะก่อให้เกิดการวิ่งขึ้นของอัตราส่วนระหว่างเงินกับทองคำอีกครั้งหรือไม่? ในตอนนี้ไม่มีใครรู้ แต่ปกติแล้วในโลกของการลงทุนพฤติกรรมการวิ่งของราคามักจะเกิดขึ้นซ้ำอยู่เสมอ