ถือเป็นสัปดาห์ที่สามติดต่อกันและเป็นสัปดาห์ที่ 8 จาก 9 สัปดาห์แล้วที่ออสเตรเลียดอลลาร์เทียบดอลลาร์สหรัฐยังคงสามารถรักษาแนวโน้มขาขึ้นของตนเองเอาไว้ได้อย่างแข็งแกร่ง ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ที่ออสเตรเลียดอลลาร์จะปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์เพราะสถานการณ์โควิด-19 ในออสเตรเลียตอนนี้ถือว่าดีกว่าสหรัฐฯ หลายเท่านัก รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อในออสเตรเลียเมื่อวานมีตัวเลขอยู่ที่ 7,204 คนและอัตราผู้เสียชีวิตมีเพียง 103 รายเท่านั้นในขณะที่สหรัฐฯ ยังครองตำแหน่งยอดผู้ติดเชื้อสูงสุดของโลกเอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่นด้วยตัวเลขที่เกือบแตะ 2 ล้านคนและยอดผู้เสียชีวิตเกิน 106,000 คนเข้าไปแล้ว
แม้ตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากโควิดจะดีแต่ตัวเลขทางเศรษฐกิจอย่างไรออสเตรเลียก็ต้องได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก รายงานตัวเลข GDP ไตรมาสแรกที่จะรายงานในวันพรุ่งนี้คาดว่าจะมีตัวเลขลดลงจาก 0.5% เป็นติดลบ 0.3% รายงานตัวเลขอัตราการเติบโตประจำปีซึ่่งปี 2019 เคยทำได้ 2.2% คาดว่าจะลดลงเหลือ 1.4% หากตัวเลขทางเศรษฐกิจในเดือนมิถุนาหดตัว (ซึ่งเป็นการปิดไตรมาสที่ 2) จะถือเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1990 เลยที่เศรษฐกิจออสเตรเลียหดตัวในทางเทคนิค
อย่างไรก็ตาม Deutsche Bank คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในเดือนมีนาคมของออสเตรเลียจะเพิ่มขึ้น 0.1% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะออสเตรเลียสามารถกลับมาเปิดเมืองและคลายมาตรการทางสังคมได้เร็ว หากเป็นเช่นที่ Deutsche Bank คาดการณ์จริงออสเตรเลียก็จะรอดพ้นตำแหน่งการหดตัวครั้งแรกฯ นับตั้งแต่ปี 1990 ได้
ข้ามไปดูที่ฝั่งสหรัฐฯ กันบ้างซึ่งตอนนี้ยังไม่มีข่าวดีเข้ามาสนับสนุนสกุลเงินดอลลาร์ ในไตรมาสแรกเศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัวไปแล้ว 5.0% และธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังมองว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะหายไป 30% เมื่อพิจารณาจากจุดนี้นอกจากปัจจัยที่จะเข้ามากระทบออสเตรเลียดอลลาร์เองแล้ว ไม่มีเหตุผลใดที่สามารถชี้ได้เลยว่าดอลลาร์จะมีชัยเหนือออสเตรเลียดอลลาร์ได้ในช่วงนี้
แต่หากพิจารณาทั้งสองสกุลเงินด้วยการวิเคราะห์ทางเทคนิคพบว่าความเป็นไปได้ของขาลงยังมีเพราะกราฟ AUD/USD จะต้องเผชิญกับเส้นเทรนด์ไลน์ขาลงระยะยาวที่ลากมาตั้งแต่จุดสูงสุดเดือนมกราคมปี 2018
กราฟ AUD/USD ดีดตัวกลับขึ้นมาจากจุดต่ำสุดในเดือนมีนาคมและปรับตัวขึ้นในกรอบขาขึ้นย่อยที่ซ้อนอยู่ในกรอบราคาขาลงใหญ่ หากมองกันที่ภาพใหญ่กันจริงๆ แล้วก็ต้องบอกว่ากราฟออสเตรเลียดอลลาร์เทียบดอลลาร์สหรัฐยังคงอยู่ในแนวโน้มขาลงระยะยาว
อย่างไรก็ตามด้วยสภาพทางเศราฐกิจที่ออสเตรเลียถือว่าเหนือกว่าอเมริกาอยู่มากอาจเปลี่ยนสถานการณ์ของทั้งสองสกุลเงินในตอนนี้ ดังนั้นแล้วไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนประเภทรักในความเสี่ยงหรือแบบเทรดตามระบบควรที่จะรอให้กราฟผ่านช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ไปเสียก่อนและค่อยเทรดเมื่อกราฟเลือกทิศทางได้แล้ว
กลยุทธ์การเทรด
เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยง จะรอจนกว่ารู้แน่ชัดว่าแนวโน้มราคาจะเลือกไปทางไหน หากตลาดกระทิงเป็นฝ่ายชนะ พวกเขาจะรอให้กราฟสามารถยืนเหนือกว่า 0.7032 ซึ่งเป็นจุดสูงสุดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม จากนั้นจะรอราคาย่อกลับมาเพื่อสะสมแรง แต่หากตลาดหมียังคุมเกมได้อยู่ พวกเขาจะรอให้ราคาหลุดแนวรับวันที่ 4 พฤษภาคมจากนั้นรอราคาย่อขึ้นไปแล้ววางคำสั่งขายตามลงมา
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จะรอให้ราคาทะลุกรอบราคาไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่งแล้วจะเข้าเลยโดยไม่รอการย่อกลับมาสะสมแรง
เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูง จะวางคำสั่งขายเมื่อเห็นราคาไม่สามารถทะลุแนวต้านด้านบนขึ้นไปได้ แต่หากสามารถเจาะแนวต้านดังกล่าวได้ก็จะเปลี่ยนไปตามขาขึ้น
ตัวอย่างการเทรด (สำหรับขาลง)
- จุดเข้า: 6.700 (หลังจากที่ราคาปรับตัวลดลงมาจากกรอบราคาด้านบนแล้ว)
- Stop-Loss: 6.800
- ความเสี่ยง: 100 จุด
- เป้าหมายในการทำกำไร:0.6400 (แนวรับแนวต้านที่เกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม)
- ผลตอบแทน: 300 จุด
- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:3