ข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งท้ายสัปดาห์ที่แล้วออกมาเป็นลบทั้งสิ้น ตัวเลขยอดขายปลีกลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ความสัมพันธ์และการค้าระหว่างสหรัฐฯ - จีนมีความตึงเครียดเพิ่มขึ้น เยอรมันเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างเป็นทางการ แม้จะมีปัจจัยเชิงลบมากมายแต่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมายังสามารถทรงตัวอยู่ได้และกราฟ ก็ปรับตัวสูงขึ้น
ข้อมูลตัวเลขการจับจ่ายใช้สอยในภาคค้าปลีกของผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือนเมษายนลดลง 16.4% จากข้อมูลนี้เราพบว่ายอดการซื้อเสื้อผ้าลดลง 78% อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกซ์ลดลง 60% และยอดขายเฟอร์นิเจอร์ลดลง 58% เมื่อเทียบตัวเลขยอดขายปลีกทั้งหมดนี้กับตัวเลขยอดขายปลีกในเดือนมีนาคมพบว่ามีการปรับลดลงมา 8.7% แต่ถึงอย่างนั้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มองว่าจุดเลวร้ายที่สุดได้ผ่านไปแล้วก็ส่งให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และกราฟ USD/JPY ยังทรงตัวอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นได้ พวกเขาเชื่อว่าการที่สหรัฐฯ กลับมาเปิดเมืองเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาจะช่วยให้ตัวเลขการจับจ่ายใช้สอยค่อยๆ ดีขึ้นเอง ดังนั้นตัวเลขยอดค้าปลีกของเดือนพฤษภาคมคาดว่าจะออกมาดีขึ้นกว่าตัวเลขที่ออกมาเมื่อวันศุกร์
ที่จริงแล้วสิ่งที่นักลงทุนในตลาดเชื่ออาจจะเป็นความจริงก็ได้ อ้างอิงข้อมูลจากดัชนีภาคการผลิตจากเอ็มไพร์ สเตตพบว่าตัวเลขมีการดีดกลับมาจาก -78.2 ขึ้นมามากถึง -48.5 เอาชนะตัวเลขคาดการณ์ -60 ไปได้ ดัชนีวัดบรรยากาศความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยมหาลัยมิชิแกนก็มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันเมื่อตัวเลขข้อมูลที่ได้เพิ่มขึ้นจาก 71.8 เป็น 73.7 ในเดือนพฤษภาคม แต่ในเรื่องราวดีๆ ก็มีข่าวร้ายที่เป็นปัจจัยกดดันอยู่เมื่อประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังคงออกมาข่มขู่ประเทศจีนอย่างต่อเนื่องสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนในตลาด
ข้ามมาที่ฝั่งยุโรปตอนนี้เยอรมันกลายเป็นประเทศแรกทางยุโรปที่ออกมายอมรับว่าตัวเองเข้าสู่สภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจเรียบร้อยแล้ว การเติบโตทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรในไตรมาสที่ 1 หดตัวอย่างมีนัยสำคัญและตัวเลขนี้ในไตรมาสที่ 2 จะเป็นตัวยืนยันว่าสหราชอาณาจักรก็ได้เข้าสู่สภาพเช่นเดียวกันกับเยอรมัน นอกจากนี้นักวิเคราะห์มองว่าญี่ปุ่นเองก็จะมีอัตราการเติบโตในไตรมาสที่ 1 ออกมาเป็นลบเพราะในไตรมาสที่ 4 เศรษฐกิจญี่ปุ่นได้หดตัวไปแล้ว 1.8% จากข้อมูลตัวเลขเหล่านี้ไม่มีหวังสำหรับนักลงทุนเลยที่จะให้เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้นได้ในเร็ววันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทรัมป์ข่มขู่จีนว่าจะตัดความสัมพันธ์ทุกอย่าง ทุกคนรู้ว่าทุกวันนี้จีนเป็นประเทศส่งอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์และผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรมให้กับสหรัฐฯ มาโดยตลอด ไม่มีใครเป็นผู้ชนะในสงครามเย็นครั้งนี้
แม้เยอรมันจะร่วงหล่นลงสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปแล้วแต่สกุลเงินยังถือว่าเป็นผู้ที่ทำผลงานได้ดีเมื่อวันศุกร์ การผ่อนคลายมาตรการปิดล็อกเมืองเริ่มเกิดขึ้นไปทั่วทุกภูมิภาค อิตาลีประกาศว่าจะอนุญาตให้สามารถเดินทางไปมาเฉพาะในประเทศ้ท่านั้นได้ในวันที่ 3 มิถุนายนแต่ก็ยังมีบางพื้นที่ที่รัฐบาลขอปิดล็อกเอาไว้ก่อน เยอรมันกำลังเริ่มผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปมาอยู่ในสหภาพยุโรปรวมไปถึงพื้นที่ตามสนธิสัญญาเชงเก้นและสหราชอาณาจักร ประชาชนที่อยู่ในประเทศลิธัวเนีย ลัตเวียและเอสโตเนียก็สามารถเดินทางไปมาระหว่างกันได้ นักลงทุนมองว่ามาตรการปลดล็อกเหล่านี้คือทิศทางที่ถูกต้องของยูโรโซนและมีส่วนทำให้สกุลเงินยูโรปรับตัวสูงขึ้น แม้ตัวเลข GDP ไตรมาสที่ 1 ที่ออกมาจะหดตัวไป 3.8% แต่ก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่อยู่ในการคาดการณ์ของนักลงทุนและไม่ยังไม่เลวร้ายมาก
ในขณะที่สกุลเงินยูโรสามารถทำผลงานได้ดีกลับกันสกุลเงินกลับกลายเป็นผู้ที่ทำผลงานได้แย่ที่สุด กราฟ GBP/USD ปรับตัวลดลงมากกว่า 1% และเรามองว่าสถานการณ์ขาลงของปอนด์อาจจะยังดำเนินต่อไปในสัปดาห์นี้ ความคืบหน้าของการเจรจาสถานการณ์ Brexit ระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปยังไม่มีความคืบหน้า นายไมเคิล บาร์เนียร์หัวหน้าทีมเจรจาของสหภาพยุโรปกล่าวว่า “คงจะไม่มีความคืบหน้าเกิดขึ้นเมื่อสหราชอาณาจักรปักธงไว้แล้วว่าพวกเขาต้องการออกจากสหภาพยุโรปแบบไม่มีการทำสัญญาใดๆ” เมื่อไม่มีปัจจัยบวกมาหนุนเราจึงเชื่อว่าข่าวตัวเลขภาคแรงงานและการใช้จ่ายเพื่อบริโภคของสหราชอาณาจักรในสัปดาห์นี้จะออกมาลดลงเช่นเดียวกันกับข่าวฝั่งสหรัฐอเมริกา
สามสกุลเงินที่อ้างอิงราคากับสินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลักอย่าง lออสเตรเลียดอลลาร์และแคนาดาดอลลาร์ต่างพากันปรับตัวลดลง ตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตของนิวซีแลนด์ในเดือนเมษายนปรับลดลงเหลือ 26.1 สอดคล้องกับภาพรวมทางเศรษฐกิจที่ก่อนหน้านี้ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ได้คาดการณ์ออกมาและทำให้พวกเขาตัดสินใจเพิ่มวงเงินสำหรับ QE เข้าไปอีก จากข้อมูลตัวเลข PMI นี้จึงทำให้เรามองว่าสัปดาห์นี้ตัวเลขยอดขายปลีกและภาคบริการจะลดลงได้รับผลกระทบจากข้อมูลเศรษฐกิจของจีนทำให้ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดขายปลีกในเดือนเมษายนลดลง ส่วนต้องจับตาดูข้อมูลอัตราเงินเฟ้อและตัวเลขยอดขายปลีกของสัปดาห์นี้