👁 ค้นพบหุ้นชนะตลาดเหมือนกับนักลงทุนมือโปรด้วยข้อมูลเชิงลึกจาก AI มหกรรมลดราคา Cyber Monday จะหมดเขตเร็ว ๆ นี้!รับส่วนลด

ดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับขึ้นหลังจากประธานเฟดไม่ยอมให้อัตราดอกเบี้ยติดลบ

เผยแพร่ 14/05/2563 15:09
EUR/USD
-
GBP/USD
-
AUD/USD
-
NZD/USD
-
DX
-

ดอลลาร์สหรัฐฯปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ หลังจากที่ได้รับแรงสนับสนุนจากคำแถลงจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) นายเจอโรม พาวเวลล์เมื่อวานนี้ แม้เจอโรมจะค่อนข้างเป็นกังวลเกี่ยวกับภาพรวมทางเศรษฐกิจแต่เขาก็ยังไม่ยอมที่จะให้ลดอัตราดอกเบี้ยลงมาจนอยู่ในระดับติดลบ ในการสัมมนาปัญหาเศรษฐกิจผ่านเว็บบินาร์นายเจอโรม พาวเวลล์กล่าวว่าโควิด-19 จะสร้างผลกระทบระยะยาวต่อเศรษฐกิจและในแง่ของภาพรวมก็ยังไม่มีความแน่นอนชัดเจน ดังนั้นเฟดจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหามาตรการเพิ่มเติมมาเป็นเกราะป้องกันเศรษฐกิจเพื่อไม่ให้ธุรกิจนับแสนต้องล้มลงไปมากกว่านี้ อัตราการว่างงานอาจเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องและเราอาจจะได้เห็นจำนวนตัวเลขที่สูงที่สุดในเดือนหน้า

ในการประชุมพาวเวลล์ไม่ได้พูดข่าวดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจเลยซึ่งหมายความว่าสำหรับเขาเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะฟื้นกลับขึ้นมาได้ก็ต่อเมื่อไวรัสถูกควบคุมได้แล้ว เจอโรมคิดว่ากว่าจะถึงวันนั้นก็ต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนและกว่าวันนั้นจะมาถึงก็อาจจะใช้เวลานานกว่าที่เราคิด เมื่อมีคนถามเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับอัตราดอกเบี้ยให้ลงมาอยู่ในระดับติดลบหรือไม่ เจอโรมก็ตอบว่า 

“มีใครหลายๆ คนที่อยากให้เฟดลดอัตราดอกเบี้ยลงไปจนติดลบ แต่จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเราพบว่าผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยติดลบมีความซับซ้อนมากกว่าช่วยเร่งการฟื้นฟูสภาวะทางเศรษฐกิจและเฟดยังเชื่อว่าเราจะมีวิธีการรับมือที่ดีกว่านั้น” 

อย่างไรก็ตามนักลงทุนในตลาดเชื่อว่าท้ายที่สุดแล้วเฟดจะต้องยอมลดอัตราดอกเบี้ยอยู่ดีหรือมีมาตรการผ่อนคลายทางการเงินที่มากกว่านั้นในเดือนหน้า ส่วนข่าวเศรษฐกิจที่น่าสนใจฝั่งสหรัฐฯ จะเป็นข่าวไหนไปไม่ได้นอกจากรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในช่วงเย็นของวันนี้ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขจำนวนผู้ขอรับฯ จะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 2.5 ล้านคนลดลงจากตัวเลข 3.17 ล้านคนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ข้ามฝั่งไปดูที่การประชุมเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) กันบ้าง เมื่อเช้านี้ผลการประชุมที่ออกมาส่งผลให้สกุลเงินนิวซีแลนด์ดอลลาร์ปรับตัวลดลงหลังจากที่แบงก์ชาติเซอร์ไพรส์ตลาดด้วยการเพิ่มวงเงิน QE ขึ้นอีกเป็น $60 ล้านนิวซีแลนด์ดอลลาร์ อัตราดอกเบี้่ยยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ 0.25% แต่ทาง RBNZ ก็ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าความเป็นไปได้ที่จะลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มยังมีและการลดอัตราดอกเบี้ยลงไปจบติดลบก็ถือเป็นทางเลือกหนึ่งของพวกเขา “จุดประสงค์ของการอัดฉีด QE ครั้งนี้เพื่อลดจำนวนเงินกู้ให้ลดลงอย่างรวดเร็ว” การที่เศรษฐกิจของนิวซีแลนด์กลับมาเปิดแล้วจึงทำให้ RBNZ มองว่าการกระตุ้นนี้จะช่วยให้ประเทศเดินหน้าไปก่อนวิกฤตเศรษฐกิจได้ 1 ก้าว 

หากคิดตามคำพูดของผู้ว่าการแบงก์ชาตินิวซีแลนด์ที่เคยออกมาบอกว่า “แบงก์ชาติพร้อมทำทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อทำให้กราฟอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลคงที่หรือต่ำลงเพราะแบงก์ชาติไม่อยากเห็นเศรษฐกิจของประเทศกลับไปสู่ตัวเลข GDP ก่อนช่วงโควิดจนกระทั่งถึงปี 2022” ดังนั้นพวกเขาอาจมองแล้วว่าสมดุลทางเศรษฐกิจนิวซีแลนด์ยังคงอยู่ในความเสี่ยงที่จะตกลงสู่ขาลงได้ง่าย อย่างไรก็ตามการดำเนินการนี้ของแบงก์ชาติส่งผลให้สกุลเงินนิวซีแลนด์ดอลลาร์หยุดปรับตัวขึ้นและมีโอกาสกลายเป็นขาลงในช่วงระยะเวลาอันใกล้

สกุลเงินออสเตรเลียดอลลาร์ปรับตัวลดลงเช่นกันเมื่อวานนี้หลังจากที่ตลาดได้ทราบตัวเลขอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาภาคการก่อสร้าง บริการและภาคการผลิตคือส่วนที่มีคนตกงานเพิ่มขึ้นอ้างอิงข้อมูลจากรายงานผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ตัวเลขในภาคธุรกิจยังคงอ่อนแอแต่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสามารถดีดกลับมาได้

เมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ สกุลเงินยูโรและปอนด์สามารถยืนหยัดเทียบดอลลาร์ได้ดีเพราะข้อมูลทางเศรษฐกิจออกมาดีกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในยูโรโซนลดลงก็จริงแต่น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ส่วนตัวเลข GDP ในไตรมาสที่ 1 ของสหราชอาณาจักรก็หดตัวแคบกว่าที่ประเมินไว้ แต่ถึงอย่างนั้นตัวเลขทั้งสองก็มีส่วนทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจและผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในยูโรโซนของเดือนมีนาคมติดลบ 11.3% ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากที่สุดตลอดกาลของการรายงานตัวเลขนี้อยู่ดี เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรเข้าสู่ภาวะถดถอยมาตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2019 มาจนถึงตัวเลข GDP ในไตรมาส 1 ที่หดตัว 2% และเชื่อว่าในไตรมาสที่ 2 นี้ตัวเลขที่ออกมาจะแย่ยิ่งกว่านี้ สำหรับตอนนี้เราสามารถพูดได้อย่างเต็มปากแล้วว่า “ขอต้อนรับสหราชอาณาจักรเข้าสู่ภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการ”

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย