สัปดาห์นี้ถือเป็นสัปดาห์สำคัญสำหรับสกุลเงินดอลลาร์และยูโรเพราะจะมีการประชุมเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) และยังมีรายงานตัวเลข GDP ของไตรมาสที่ 1 อีกด้วย แม้ผลการประชุมของธนาคารกลางจะสำคัญแต่ครั้งแรกของการรายงานตัวเลข GDP มักจะทำให้ตลาดมีความเคลื่อนไหวได้มากกว่าการรายงานผลครั้งอื่นๆ ที่ตามมาทีหลังจนในบางครั้งมีความสำคัญยิ่งกว่าการประชุมเรื่องอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางฯ เสียอีก เชื่อว่านักลงทุนทุกคนตอนนี้ทำใจไว้เรียบร้อยแล้วว่าข้อมูลตัวเลขทางเศรษฐกิจนี้ในช่วง 3 เดือนแรกจะต้องออกมาหดตัวอย่างแน่นอนแต่คำถามก็คือว่าหดตัวมากแค่ไหน หลายๆ สกุลเงินในยุโรปได้ผ่านสถานการณ์ปิดล็อคดาวน์มาประมาณ 3 สัปดาห์ก่อนรัฐใหญ่ๆ ในสหรัฐฯ ดังนั้นตัวเลขอัตราการเติบโตของ GDP ในยุโรปเชื่อว่าจะปรับลดลงกว่าของสหรัฐฯ ที่สำคัญฝั่งสหรัฐฯ ยังมีข่าวที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นรอบที่ 2 ในขณะที่ ECB ตัดสินใจเพียงผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเท่านั้น
คำถามที่ว่า “ระหว่างสกุลเงินดอลลาร์และยูโรใครจะได้รับผลกระทบมากกว่ากัน?” ต้องขึ้นอยู่กับว่าธนาคารกลางของประเทศไหนมีมาตรการดำเนินการที่เข้มข้นกว่ากันเช่นรายละเอียดในขั้นตอนการดำเนินการเป็นอย่างไร? คาดว่าในไตรมาสที่ 2 ตัวเลขจะหดตัวมากแค่ไหน? ภาพรวมในช่วงครึ่งปีหลังและการเติบโตตลอดทั้งปี 2020 เป็นอย่างไร? เมื่อไม่นานมานี้นางคริสตีน ลาการ์ดประธาน ECB คนปัจจุบันพึ่งออกมาบอกว่าเศรษฐกิจยุโรปอาจจะหดตัวประมาณ 15% ในขณะที่นายเจอโรม พาวเวลล์ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงไม่แสดงความเห็นใดๆ กับประเด็นนี้ เมื่อเดือนก่อนประธานเฟดพยายามที่จะพูดไปในทิศทางบวกโดยกล่าวว่าเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ไปแล้วน่าจะสามารถกลับมาเติบโตได้อย่างรวดเร็วแต่เมื่อพิจารณาจากภาพความเป็นจริงในตอนนี้เชื่อได้ว่าเราจะยังได้เห็นภาพการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) กันไปจนถึงซัมเมอร์
นอกจากนี้ธนาคารกลางทั้งสองยังมีแผนที่จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลของตัวเองเพิ่มและการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มครั้งนี้ของสหรัฐฯ อาจจะยังไม่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาอันใกล้และอาจจะไม่มากเท่ากับในรอบแรก สรุปก็คือเราวิเคราะห์ว่าผลการประชุมของทั้งสองธนาคารกลางจะออกมาทำให้สกุลเงินยูโรและดอลลาร์ปรับตัวลดลงมากกว่าที่จะปรับตัวขึ้น กราฟ EUR/JPY มีโอกาสปรับตัวลดลงก่อนที่ข่าวใหญ่นี้จะประกาศออกมา
การประชุมของธนาคารกลางแห่งญี่ปุ่น (BoJ) เมื่อวานนี้ได้ข้อสรุปว่าทางธนาคารจะมีการเข้าซื้อพันธบัตรอย่างไม่มีจำกัด นอกจากนี้ทางแบงก์ชาติจะเพิ่มงบในการเข้าซื้อตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้นและตราสารหนี้เอกชน ไม่เพียงแค่นั้นทางธนาคารกลางยังลดตัวเลขคาดการณ์ GDP ลงและปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อลงมาต่ำกว่า 2% ไปอีก 3 ปี อย่างไรก็ตามข่าวที่ออกมาเมื่อวานนี้มีผลกับสกุลเงินเยนน้อยมาก ตอนนี้ทาง BoJ เองคาดการณ์ฺว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะหดตัว 5% ในปีนี้ (ถือว่าตัวเลขยังดีกว่าที่ IMF คาดการณ์) จากข่าวที่ออกมาจึงทำให้นักลงทุนสงสัยว่าอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่นจะเป็นเช่นไรบ้าง