ตลาดหลักทรัพย์และตลาดคู่สกุลเงินปรับตัวสูงขึ้นวันนี้หลังจาก ดร.แอนโทนี่ เฟาซี่จากสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ (NIAID) ออกมาเปิดเผยว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในสหรัฐฯ อาจดีขึ้นกว่านี้ในสัปดาห์หน้า ตอนนี้ตัวเลขยอดผู้เสียชีวิตลดลงกว่าที่เขาประเมินเอาไว้และกราฟของผู้ติดเชื้อจะเริ่มคงที่มากขึ้น แม้ในภาพรวมตลาดสกุลเงินดูเหมือนว่าจะปรับตัวสูงขึ้นแต่ก็ยังมีความผันผวนอยู่ไม่น้อย สกุลเงินดอลลาร์แข็งค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับ และ แต่อ่อนมูลค่ากว่าเมื่อเทียบกับ และ จากพฤติกรรมการวิ่งของราคาแสดงให้เห็นว่านักลงทุนยังไม่มีความเชื่อมั่นมากพอว่าขาขึ้นครั้งนี้จะเป็นขาขึ้นระยะยาวเพราะข่าวในนิวยอร์กยังมีรายงานพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ตลอด
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ผู้นำแห่งสหรัฐอเมริกาได้ออกมาพูดเมื่อวันอังคารถึงความพยายามของเขาที่จะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในบางภาคส่วนของสหรัฐฯ กลับมาดำเนินตามปกติให้ได้ภายใน 4-6 สัปดาห์ข้างหน้า แม้จะมีความเป็นไปได้แต่ก็ไม่เร็วพอที่จะซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นให้ฟื้นกลับมาได้โดยเร็ว ข่าวดีก็คือว่าตอนนี้สหรัฐฯ สามารถดูว่าจีนที่กำลังเริ่มฟื้นตัวแล้วให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจในภาคไหนก่อนและสามารถนำเอามาเป็นแบบอย่างได้ ถ้าสหรัฐฯ กลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งและสามารถหลีกเลี่ยงการกลับมาติดเชื้อรอบสองได้เชื่อว่าหลังไตรมาสที่ 2 สถานการณ์จะเริ่มดีขึ้น แต่ถ้ากลับพบว่ามียอดผู้ติดเชื้อกลับมาอีกหลังจากยกเลิกการปิดเมืองข่าวดีที่ว่าก็จะต้องถูกยืดระยะเวลาออกไป
สาเหตุหนึ่งที่สกุลเงินดอลลาร์สามารถแอบปรับตัวสูงขึ้นอย่างเงียบๆ ได้เป็นเพราะความคาดหวังของนักลงทุนที่มีต่อ ทั้งแบบประชุมตามตารางและแบบฉุกเฉินเมื่อวานนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าภาพรวมทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในเดือนที่ผ่านมานั้นแย่มากและส่งผลกระทบให้แผนการต่างๆ ของทาง FOMC ต้องถูกปรับเปลี่ยนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ซึ่งเป็นที่มาของการลดอัตราดอกเบี้ยลงมาจนเหลือ 0% และการทำ QE อย่างที่เราได้เห็นเป็นข่าวใหญ่ในเดือนที่แล้ว คนธรรมดาทั่วไปเวลาฟังข่าวมาตรการเหล่านี้อาจจะรู้สึกตกใจอยู่บ้างแต่สำหรับนักลงทุนในตลาดแล้วมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบนี้ถือว่าน่ากลัวและส่งผลเสียกับสกุลเงินดอลลาร์มากกว่าที่คนทั่วๆ ไปจะสามารถสัมผัสได้
วันนี้คือวันที่นักลงทุนจะได้เห็นข่าวใหญ่และความเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงในตลาดคู่สกุลเงินซึ่งจะมีความผันผวนสูงที่สุดในรอบสัปดาห์ แน่นอนว่าสกุลเงินดอลลาร์ยังคงต้องเป็นที่จับตามองเพราะจะมีรายงานตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน อัตราเงินเฟ้อและรายงานความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นักวิเคราะห์มองว่าและดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) จะปรับตัวลงเล็กน้อยในขณะที่ดอลลาร์มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยมหาลัยมิชิแกนคาดว่าจะร่วงลงเป็นอย่างมากเนื่องจากรัฐถูกล็อคดาวน์
แต่สิ่งที่นักลงทุนจะให้ความสนใจมากที่สุดคือการประชุมของกลุ่ม OPEC จากต้นปี 2020 มาจนถึงปัจจุบันราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวลดลงมาแล้วมากถึง 50% หลังจากที่ซาอุดิอาระเบียสั่งเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน สิ่งที่นักลงทุนทุกคนกำลังจับตามองในการประชุมครั้งนี้คือความสัมพันธ์ระหว่างซาอุดิอาระเบียกับรัสเซียที่บาดหมางกันตั้งแต่การประชุมโอเปกเมื่อต้นเดือนมีนาคมว่าจะทั้งคู่จะสามารถยอมจบสงครามราคาน้ำมันและทั้งคู่จะยอมลดกำลังการผลิตลงคนละ 10 ล้านบาร์เรลได้หรือไม่ เกือบทุกสำนักข่าววิเคราะห์ตรงกันว่าทางรัสเซียเองคงไม่มีปัญหาที่จะดำเนินตามข้อตกลงนี้แต่ต้องรอดูว่าซาอุดิอาระเบียจะว่าอย่างไร
แคนาดาดอลลาร์คือสกุลเงินที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดในคืนนี้เพราะไม่ว่าผลการประชุมจะออกมาในรูปแบบไหนย่อมจะกระทบต่อตัวเลขในตลาดแรงงานของแคนาดาที่จะประกาศออกมาในวันนี้ด้วยเช่นกัน คาดว่าดัชนี PMI จากสถาบัน IVEY ที่เกี่ยวกับการจ้างงานจะปรับตัวลดลง ตัวเลขการว่างงานในเดือนมีนาคมจะเพิ่มขึ้น ยิ่งถ้าการประชุมของโอเปกวันนี้จบลงด้วยการทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้เหมือนเดิมและทำสงครามราคาน้ำมันกันต่อไปจะยิ่งทำให้ตลาดแรงงานของแคนาดานั้นอ่อนแอ เราอาจจะได้เห็นกราฟ วิ่งกลับขึ้นไปยังระดับราคา 1.42 แต่ถ้าทางกลุ่มโอเปกตัดสินใจลดกำลังการผลิตฯ จริงกราฟจะวิ่งลงไปยัง 1.40
นอกจากการประชุมของ OPEC แล้วกลุ่ม G20 ก็มีนัดจะประชุมกันเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและระบบสาธารณสุขที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ผู้นำหลายๆ ประเทศต้องการมาตรการที่สามารถทำให้ประเทศในกลุ่มสมาชิกสามารถทำงานร่วมกันได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของการดูแลสุขภาพและค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุข ส่วนเรื่องเศรษฐกิจทางกลุ่มเชื่อว่าหลายๆ ประเทศต่างได้จัดการในรูปแบบของตัวเองไปแล้วดังนั้นอาจจะไม่มีการพูดถึงมากนัก
สกุลเงินที่ทำผลงานได้แย่ที่สุดเมื่อคืนนี้คือสกุลเงินยูโรที่ได้รับผลกระทบจากข่าวปัจจัยพื้นฐานในทุกๆ ด้าน รายงานจากประเทศสเปนระบุว่ายอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาและเสียชีวิตเพิ่มสูงสุดเป็นเวลา 4 วันติดต่อกันในขณะที่ ECB ยังใจแข็งเลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ดังเดิมและไม่คิดจะเปลี่ยนตัวเลขนี้อีกอย่างน้อยก็สักพักใหญ่ สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจของเยอรมันออกมาคาดการณ์ว่าเราจะได้เห็นการหดตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมอีก 10% ในไตรมาสที่ 2 ซึ่งสามารถเริ่มดูได้จากรายงานตัวเลขทางการค้าของเยอรมันที่จะรายงานกันในวันนี้ หากข้อมูลตัวเลขออกมาลดลงบ้างก็จะทำให้สกุลเงินยูโรปรับตัวลดลงเล็กน้อย ฝั่งสหราชอาณาจักรในวันนี้จะมีรายงานตัวเลขผลผลิตจากภาคอุตสาหกรรม ตัวเลขบัญชีการค้าและตัวเลข GDP รายเดือน หลังจากที่ดัชนี PMI ภาคการผลิตและตัวเลขยอดขายปลีกปรับตัวลดลงไปก่อนหน้านี้อาจทำให้ข้อมูลตัวเลขของสหราชอาณาจักรที่จะออกมาในวันนี้ลดลงด้วย