ภาพรวมของตลาดหลังจากเริ่มต้นไตรมาสที่ 2 อย่างเป็นทางการไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากไตรมาสที่ 1 เลยแม้แต่น้อย เมื่อววานนี้ดัชนี ยังคงเปิดตลาดมาด้วยราคาที่ลดลงมากกว่า 700 จุดทั้งๆ ที่ในช่วงไตรมาสที่ 1 ก็ร่วงลงมารวมแล้วทั้งสิ้น 24% ตลาดสกุลเงินก็ไม่น้อยหน้าเมื่อ , และ ต่างพร้อมใจกันลดลงตัวละ 1% ในขณะที่คู่สกุลเงินที่แข็งแกร่งที่สุดยังคงเป็น USD/JPY
แม้ดูเหมือนว่าตอนนี้สกุลเงินดอลลาร์ยังพอที่จะพึ่งพาได้แต่เชื่อว่าภายในสัปดาห์หน้านักลงทุนจะได้ตั้งคำถามกันอีกรอบว่าการถือสกุลเงินดอลลาร์ในฐานะสินทรัพย์สำรองยังเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลอยู่หรือไม่ สาเหตุเดียวที่ทำให้คนหันมาถือดอลลาร์เลยคือความเชื่อว่าต่อให้ทั้งโลกจะต้องเจอกับเศรษฐกิจถดถอยยังไง ประเทศสหรัฐอเมริกาก็จะมีระยะเวลาการถดถอยทางเศรษฐกิจสั้นกว่าประเทศอื่น ทั้งโลกจะฟื้นตัวได้อย่างไรถ้าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่ฟื้น คำพูดนี้อาจจะจริงก็เป็นได้เพราะเมื่อดูข้อมูลรายงานตัวเลขหรือกราฟของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกจะเห็นได้ว่าตอนนี้เรากำลังอยู่ในจุดเริ่มต้นที่กำลังจะเห็นผลกระทบของไวรัสโคโรนาว่ากระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างไร
ตัวอย่างที่สามารถเห็นภาพได้ชัดที่สุดเลยคือเมื่อคืนนี้ที่มีการรายงานตัวเลขคาดการณ์การจ้างงานนอกภาคการเกษตรจาก ADP นักลงทุนที่อยู่ในปัจจุบันคาดว่าตัวเลขคนตกงงานต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 150,000 ตำแหน่งแต่ตัวเลขที่ออกมากลับมีเพียง 27,000 ตำแหน่งเท่านั้น คำอธิบายเดียวที่มีกับตัวเลขที่ผิดคาดนักวิเคราะห์ในครั้งนี้คือนี่เป็นข้อมูลที่เก็บมาจนถึงวันที่ 12 มีนาคมเท่านั้นซึ่งในตอนนั้นนิวยอร์กยังไม่มีการสั่งปิดเมืองจริงจังหรือการสั่งปิดโรงเรียนในสหรัฐฯ เกิดขึ้นถึงแค่วันที่ 16 มีนาคมเท่านั้น คำสั่งขอให้ทุกคนอยู่แต่ในบ้านก็พึ่งมีในวันที่ 20 มีนาคม ตัวเลขดัชนี PMI ภาคการผลิตของสหรัฐฯ ก็ออกมาดีกว่าที่คาดการณ์เอาไว้เพราะปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อยจาก 50.1 เหลือ 49.1 เท่านั้นเมื่อเทียบกับตัวเลขคาดการณ์ซึ่งอยู่ที่ 44.5 นักลงทุนเข้าใจถึงข้อมูลตัวเลขที่ล่าช้าเหล่านี้ดีและนั่นทำให้กราฟ ถึงไม่ได้รับผลกระทบจากข้อมูลตัวเลขเหล่านี้มาก
จากข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขคาดการณ์ของ ADP ที่เราได้อธิบายไปในพารากราฟก่อนหน้านี้ วิธีคิดของ ในวันศุกร์ที่จะถึงนี้ก็จะเป็นรูปแบบเดียวกัน เป็นไปได้ไหมที่ตัวเลขอาจจะออกมาแย่กว่านี้? ก็เป็นไปได้แต่ต่อให้เป็นเช่นนั้นจริงนักลงทุนระยะยาวหรือสถาบันการเงินที่มีเงินมหาศาลจะยังไม่สนใจกับตัวเลข NFP ในรอบนี้เหมือนกับที่ตัวเลขจาก ADP (ADP) ออกมาแล้วไม่มีคนพูดถึงมากเท่าไหร่ สิ่งที่สถาบันการเงินจะให้ความสนใจมากกว่าคือรายงานตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่จะออกมาในเย็นของวันนี้ จากตัวเลขที่ทำสถิติสูงที่สุดในรอบ 40 ปีของสัปดาห์ที่แล้ว นักวิเคราะห์ในสัปดาห์นี้จึงขอวางตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการเอาไว้ที่ 3.5 ล้านคนซึ่งดูแล้วสมเหตุสมผลดีเมื่อเทียบกับตัวเลขในสัปดาห์ก่อนแต่ตัวเลขจริงอาจจะออกมามากกว่านี้ อ้างอิงข้อมูลจากกรมแรงงานแห่งรัฐนิวยอร์กระหว่างวันที่ 23 มีนาคมถึง 28 มีนาคมพบว่ามีผู้ติดต่อมาเพื่อขอสวัสดิการมากกว่า 8.2 ล้านคน นี่คือข้อมูลของรัฐเพียงรัฐเดียวและเรายังไม่ได้พูดถึงข้อมูลในรัฐอื่นๆ อีก 50 กว่ารัฐ วันนี้อาจจะเป็นที่สกุลเงินดอลลาร์ได้รับความบอบช้ำเป็นอย่างมากถึงมากที่สุด
อีกหนึ่งเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมเมื่อคืนนี้นักลงทุนถึงได้เทขายหุ้นและกราฟคู่สกุลเงิน USD/JPY เพราะข่าวที่ทางรัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศออกมา ทำเนียบขาวรายงานว่าการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล (Social Distancing) จะยังคงมีต่อไปจนถึงวันที่ 30 เมษายนซึ่งจะส่งผลให้ระยะเวลากว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับมาเป็นปกติต้องเลื่อนออกไปอีก ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ออกมาบอกว่ายอดจำนวนผู้เสียชีวิตอาจขึ้นไปถึง 100,000 - 240,000 คนส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้งยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากทำเนียบขาว รัฐบาลยังต้องการจะดูผลลัพธ์ของเงินมูลค่า $2 ล้านล้านเหรียญก่อนว่าจะช่วยเหลือเศรษฐกิจได้มากน้อยขนาดไหน
นอกเหนือจากกราฟคู่สกุลเงินดอลลาร์เทียบเยน สกุลเงินหลักอื่นๆ ที่เทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ล้วนแล้วแต่ปรับตัวลดลง กราฟ ที่ปรับตัวลดลงอยู่แล้วอาจลงไปถึงหรืออยู่ต่ำกว่า 1.10 เพราะถึงแม้รายงานตัวเลขยอดขายปลีกของเยอรมันจะเพิ่มขึ้นแต่ตัวเลขดัชนี PMI ในยูโรโซนและสหราชอาณาจักรกลับลดลง ธนาคารกลางแห่งออสเตรเลีย (RBA) ยังคงใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเป็นอย่างมากแม้ว่ารายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตของออสเตรเลียในเดือนมีนาคมจะเพิ่มขึ้นก็ตาม RBA เชื่อว่าเพราะการหดตัวทางเศรษฐกิจจะทำให้ออสเตรเลียต้องเจอตัวเลขคนตกงานเพิ่มขึ้นในระยะเวลาไม่นานต่อจากนี้ ยิ่งไปกว่านั้น RBA ยังไม่มีแผนที่จะลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มจึงเป็นที่มาของการร่วงลงของกราฟ AUD/USD
ในเวลาอีก 2 วันต่อจากนี้ (นับวันนี้ด้วย) เรายังคงเชื่อว่าจะได้เห็นนักลงทุนหลีกเลี่ยงความเสี่ยงกันเพิ่มขึ้น กราฟ USD/JPY มีโอกาสจะปรับตัวลดลงจากข้อมูลรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในวันนี้และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) ในวันพรุ่งนี้ หากข้อมูลทั้งสองออกมาอยู่ในแดนลบจริงเชื่อว่าดอลลาร์จะร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ