- นักลงทุนยังคงเชื่อมั่นในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ แม้ต้องอยู่ท่ามกลางความกังวลไวรัสโคโรนา
- ราคาขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และราคาทองคำยังคงอยู่ในระดับสูง
- ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม
แม้ว่าเศรษฐกิจโลกในประเทศต่างๆ กำลังได้รับผลกระทบจากความวิตกกังวลที่เพิ่มสูงขึ้นของไวรัสโคโรนาที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้ง่ายๆ ตัวเลขยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นกว่า 1,600 คนและมีรายงานพบผู้เสียชีวิตรายแรกในดินแดนนอกฝั่งเอเชียแล้ว ถึงกระนั้นตลาดดัชนีของสหรัฐฯ อย่าง S&P 500 และแนสแด็กยังคงแข็งแกร่งเดินหน้าสร้างจุดปิดสูงสุดใหม่ตลอดกาลอีกครั้งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
แต่การขึ้นมาของราคาขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และทองคำแสดงให้เห็นว่านักลงทุนยังคงระวังตัวและต้องการลงทุนในสินทรัพย์สำรองมากขึ้น
สถานการณ์ในตลาดลงทุนตอนนี้คือความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้นหรือลดลงกันแน่?
สำหรับการตอบคำถามว่าราคาจะวิ่งไปทางไหนในตอนนี้? แม้แต่นักวิเคราะห์ของเรายังแบ่งเป็นสองฝ่าย ฝั่งหนึ่งมองว่าขาขึ้นในตอนนี้เริ่มที่จะหมดแรงซื้อเพราะตลาดถือว่าอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นมานานพอแล้วทั้งๆ ที่อยู่ท่ามกลางมรสุมไวรัสโคโรนาแต่กลับปรับตัวขึ้นมาได้ ตอนนี้กราฟเข้าสู่ช่วงปลายวัฐจักรของเทรนแต่ที่ยังสามารถปรับตัวขึ้นได้อยู่เป็นเพราะแรงซื้อจากแมงเม่าในตลาดที่พึ่งจะเข้ามาในตลาดโดยใช้เหตุผลว่าการค้าขั้นแรกระหว่างสหรัฐฯ - จีนคือปัจจัยที่ช่วยให้ตลาดปรับตัวสูงขึ้นในตอนนี้
อีกฝั่งมองว่าแม้ตลาดจะเข้าใกล้จุดสูงสุดของขาขึ้น (ที่ไม่รู้ว่าจะมาเมื่อไหร่) มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ตราบเท่าที่ความกังวลเกี่ยวกับไวรัสโคโรนายังคงอยู่และนักลงทุนยังมองว่าตลาดลงทุนสหรัฐฯ คือสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุดในตอนนี้ แนวโน้มขาขึ้นจะยังไม่หมดแรงลงง่ายๆ
อย่างไรก็ตามแม้ว่าดัชนีอย่าง S&P 500 จะสามารถสร้างจุดสูงสุดใหม่ได้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาแต่เพราะคำพูดจากองค์กรอนามัยโลก (WHO) ที่ออกมาพูดถึงไวรัสโคโรนาว่า “จนถึงตอนนี้สิ่งที่พวกเรารู้และทำได้เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น” นักลงทุนในตอนนี้จึงต้องพิจารณาแล้วว่าจะมองจุดสูงสุดใหม่ของราคาเป็นสัญญาขาขึ้นที่แข็งแกร่งหรือมองว่านี่คือสัญญาณฟองสบู่และการเปลี่ยนเทรนอาจเกิดขึ้นในไม่ช้า ถ้าเป็นไปได้เราอาจหวังว่าราคาจะพักตัวลงมาบ้างเพื่อสร้างแวดล้อมของแนวโน้มขาขึ้นที่ดีอย่างที่วัฐจักรขาขึ้นปกติเคยเป็นมา ที่สำคัญนักลงทุนในระยะสั้นและระยะกลางจะได้มีโอกาสวางคำสั่งซื้อขายกับเขาบ้าง
ดัชนี S&P 500 ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อวันศุกร์ +0.18% สร้างจุดสูงสุดใหม่ตลอดกาลในขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น +1.16% ส่วนตลาดพลังงานปรับตัวลดลง -0.53%
เมื่อพิจารณาภาพรวมทั้งสัปดาห์พบว่า S&P 500 ปรับตัวขึ้นมาทั้งสิ้น 1.58% ถือเป็นสัปดาห์ที่สองที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นติดต่อกัน คิดเป็นการปรับตัวขึ้นมา 8 จาก 10 วันสร้างจุดสูงสุดใหม่ทุกๆ 2 วันครึ่งและคิดเป็นการปรับตัวขึ้น 15 จาก 19 สัปดาห์ล่าสุด
อย่างไรก็ตามเราเห็นความเป็นไปได้ที่ดัชนี S&P 500 มีโอกาสปรับฐานลดลงมา หากมองจากมุมมองของนักลงทุนตลาดหมีจะพบว่าจุดสูงสุดใหม่สามารถพิจารณาว่าเป็นรูปแบบหัวไหล่ (Head & Shoulder) ได้ถ้าราคาสามารถตัดเส้นเทรนไลน์ขาขึ้นลงมา นอกจากนี้อินดิเคเตอร์อย่าง RSI ยังแสดงลักษณะหัวไหล่ที่คล้ายกันและยังเป็นไดเวอร์เจนต์ขาลงที่มีไหล่ขวาตกลงมาแล้ว
ดัชนีสำคัญตัวอื่นๆ อย่างเช่น<>แนสแด็ก<>สามารถสร้างจุดสูงสุดใหม่เพิ่มขึ้น +0.2% ในขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลดลง -0.09% และ Russell 2000 ปรับตัวลดลง -0.4%
ในขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นกันอย่างสนุกสนาน ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯแบบ 10 ปีกลับปรับตัวลดลงสู่จุดต่ำสุดของราคานับตั้งแต่เดือนตุลาคมและยังสร้างรูปแบบสามเหลี่ยมที่ทำให้นักลงทุนเชื่อว่ามีโอกาสปรับตัวลดลงไปทดสอบจุดต่ำสุดของวันที่ 3 กันยายนที่ระดับราคา 1.400 ได้
เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคมที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐสามารถสร้างจุดสูงสุดเหนือ 99.00 ได้สำเร็จและมีเป้าหมายถัดไปอยู่ที่จุดสูงสุด 99.38 ซึ่งเป็นจุดสูงสุดเก่าตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน การขึ้นมาครั้งนี้ของดัชนีขึ้นมาจากการย่อตัวของขาขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
กราฟราคาทองคำสปอตเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาสามารถสร้างราคาปิดที่อยู่เหนือสามเหลี่ยมขึ้นไปได้ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่ราคาทองคำจะยังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นต่อไป
ราคาน้ำมันดิบแม้จะพยายามปรับตัวสูงขึ้นแต่ช่างเป็นการปรับตัวขึ้นที่มีแต่อุปสรรคขวางกั้นตั้งแต่สถานการณ์สงครามการค้า สงครามตะวันออกกลางมาจนถึงไวรัสโคโรนาในปัจจุบัน คาดว่ากองกำลังฝ่ายกบฏลิเบียจะยังคงไม่อนุญาตให้ส่งออกน้ำมันอยู่เช่นเคย ถ้าสัปดาห์นี้มีข่าวดีมาจากโอเปกก็อาจจะทำให้ราคาน้ำมันดิบขึ้นยืนเหนือแนวต้านสำคัญที่ $52 ได้
โดยสรุปแล้วภาพรวมเราเชื่อวว่าผลกระทบของไวรัสโคโรนาที่มีต่อเศรษฐกิจจะเป็นผลกระทบระยะสั้นเท่านั้นเหมือนกับโรคระบาดอื่นๆ ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต แต่หากถามว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่นั้นคงต้องปล่อยให้เวลาเป็นผู้ให้คำตอบ
ข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ (เวลาทั้งหมดคิดเป็นเวลามาตรฐาน EST)
วันอาทิตย์
18:50 (ญี่ปุ่น) รายงานตัวเลข GDP: คาดว่าจะปรับตัวลดลงจาก 0.4% เป็น -0.9% แบบไตรมาสต่อไตรมาสและแบบปีต่อปีจะปรับตัวลดลงจาก 1.8% เป็น -3.7%
วันจันทร์
19:30 (ออสเตรเลีย) รายงานการประชุมจากธนาคารกลางแห่งออสเตรเลีย (RBA)
วันอังคาร
05:00 (เยอรมัน) ดัชนีวัดบบรรยากาศทางเศรษฐกิจจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจแห่งยุโรป (ZEW): คาดว่าจะมีตัวเลขลดลงจาก 26.7 เหลือ 22.0
วันพุธ
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI): คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 1.3% เป็น 1.6%
08:30 (สหรัฐฯ) รายงานการอนุญาตให้มีการก่อสร้าง: คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 1.420M เป็น 1.450M
08:30 (สหรัฐฯ) ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI): อาจปรับตัวลดลงจาก 0.2% เป็น 0.1%
08:30 (แคนาดา) ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI): คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 1.7% เป็น 1.8% แบบปีต่อปี
14:00 (สหรัฐฯ) รายงานการประชุมจากคณะกรรมการนโยบายทางการเงิน (FOMC)
วันพฤหัสบดี
11:00 รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง: คาดว่าจะปรับตัวลดลงจาก 7.459M เหลือ 2.987M
วันศุกร์
03:30 (เยอรมัน) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต: คาดว่าจะชะลอตัวลงต่อเนื่องจาก 45.3 เหลือ 44.8
04:30 (สหราชอาณาจักร) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและการบริการ
05:00 (ยูโรโซน) ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI): คาดว่าจะคงที่อยู่ที่ 1.4%
10:00 (สหรัฐฯ) ตัวเลขยอดขายบ้านมือสอง: คาดว่าจะปรับตัวลดลงจาก 3.6% เป็น -1.8%