🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

ธนาคารกลาง VS ไวรัสโคโรนา

เผยแพร่ 05/02/2563 14:44
อัพเดท 09/07/2566 17:31
EUR/USD
-
USD/JPY
-
AUD/USD
-
USD/CAD
-
NZD/USD
-
DJI
-
DIS
-
MCD
-
AAPL
-
SBUX
-
DX
-

ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์รายวัน: 05 กุมภาพันธ์ 2020

โดยคุณเคธี่ เหลียน กรรมการผู้จัดการวางกลยุทธ์การลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์ของบริษัทจัดการสินทรัพย์บีเค

ตลาดฟอเร็กซ์และตลาดหุ้นล้วนปรับตัวสูงขึ้นเมื่อวานเช่นเดียวกับดัชนีดาวโจนส์ที่ขึ้นมากกว่า 400 จุดภายในวันเดียว กราฟ USD/JPY จึงได้โอกาสปรับตัวขึ้นเพราะตลาดเหล่านี้ด้วย สาเหตุที่ตลาดลงทุนสามารถขึ้นได้ในช่วงนี้อาจเป็นเพราะตลาดเริ่มชินกับข่าวไวรัสโคโรนาและไม่ได้เป็นกังวลมากเท่ากับช่วงสัปดาห์ก่อน อย่างไรก็ตามตอนนี้เรายังไม่ได้เห็นผลกระทบที่แท้จริงซึ่งไวรัสโคโรนาได้ทำไว้กับเศรษฐกิจทั่วโลกที่สำคัญคือทำไว้กับประเทศจีน เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมารัฐบาลจีนพึ่งออกมาตรการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยลง 10 จุดเบสิสและอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบคิดเป็นจำนวน $175,000 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ยังมีมาตรการเยียวยาอีกเช่นผ่อนคลายมาตรการเกี่ยวกับการทำธุรกรรมซื้อคืน (repo) และตั้งทีมดูแลเศรษฐกิจเฉพาะขึ้นมาเพื่อซื้อหุ้นบริษัทหลักๆ ในจีนคืนหากจำเป็น ส่วนสถานการณ์ในสหรัฐฯ ตอนนี้นอกจากตัวเลขยอดคำสั่งซื้อจากโรงงานจะทำผลงานเอาชนะตัวเลขคาดการณ์ได้แล้วรายงานผลประกอบการบริษัทหลักๆ ส่วนใหญ่ที่ออกมาดีช่วยดันให้สกุลเงินดอลลาร์และตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวกลับขึ้นมาได้

สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯและออสเตรเลียดอลลาร์คือผู้ที่ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมที่สุดซึ่งทำให้กราฟ USDJPY ปรับตัวขึ้นมากที่สุดได้ในวันเดียวในรอบ 3 สัปดาห์<> แม้จะมีแนวต้านขวางอยู่ระหว่าง 109.50 และ 109.70 แต่ถ้าตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ยังคงทำผลงานได้ดีอย่างนั้นกราฟ USDJPY ก็สามารถทำได้ดีเช่นเดียวกัน สกุลเงินออสเตรเลียดอลลาร์สามารถดีดตัวขึ้นมาได้เพราะธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ดังเดิมและได้รับความช่วยเหลือเล็กน้อยจากสกุลเงินนิวซีแลนด์ดอลลาร์ สกุลเงินยูโรและแคนาดาดอลลาร์ทำผลงานได้แย่ที่สุด แม้ Brexit จะจบลงไปแล้วแต่ความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปยังคงอยู่ประกอบกับการเลือกตั้งในประเทศไอร์แลนด์ที่ใกล้เข้ามาส่งผลกระทบให้สกุลเงินปอนด์ปรับตัวขึ้นได้ยาก

ศึกระหว่างธนาคารกลางและไวรัสโคโรนาตอนนี้ได้ผู้ชนะในยกแรกแล้วคือฝั่งธนาคารกลาง อ้างอิงจากธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ที่พึ่งรายงานอัตราดอกเบี้ยไปล่าสุดซึ่งทาง RBA ไม่ยอมอ่อนข้อให้กับไวรัสโคโรนาด้วยการประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ดังเดิมอย่างกล้าหาญทั้งๆ ที่ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ทำการค้ากับจีนเป็นหลัก ประธาน RBA กล่าวว่า “เป็นความจริงที่ไวรัสโคโรนาสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลกับเศรษฐกิจของจีนในตอนนี้ หากให้ตัดสินออกมาอย่างชัดเจนถึงตัวเลขผลกระทบที่เกิดขึ้นก็ดูเหมือนว่ายังจะเร็วเกินไป”

RBA มองว่าแม้ไวรัสโคโรนาจะสร้างผลกระทบให้กับเศรษฐกิจจริงแต่ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องลดอัตราดอกเบี้ย เป็นการหักปากกาเซียนและนักวิเคราะห์ทั้งหลายที่คาดการณ์มาอย่างยาวนานว่า RBA จะลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์อย่างแน่นอน ตลาดหลักทรัพย์และสกุลเงินออสเตรเลียดอลลาร์กลับขึ้นมาได้เพราะการตัดสินใจอย่างกล้าหาญและหวังว่าธนาคารกลางอื่นๆ ทั่วโลกจะดำเนินการแบบเดียวกันกับ RBA แม้แต่ธนาคารกลางแห่งประเทศจีน (PBoC) ที่ได้รับผลกระทบเต็มๆ ยังดำเนินการอย่างนิ่งเงียบและไม่ได้ออกอาการตื่นตูมขนาดนั้น

อย่างไรก็ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นถือว่ามีนัยสำคัญ ในตอนนั้นการระบาดของโรค SARS สร้างความเสียหายทั้งโลกรวม $40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในตอนนี้หุ้นบริษัทกลุ่มการท่องเที่ยวกำลังสูญเสียรายได้และบริษัทใหญ่ๆ ที่มีสาขาอยู่ในจีนอย่างเช่น สตาร์บัคส์ (NASDAQ:SBUX) ดิสนีย์ (NYSE:DIS) แมคโดนัลด์ (NYSE:MCD) และแอปเปิ้ล (NASDAQ:AAPL) ต่างทยอยปิดสาขาที่อยู่ในมณฑลที่มีความเสี่ยงสูงว่าลูกค้าจะได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนาชั่วคราว สายการบินต้องระงับเที่ยวบิน ผลกระทบเหล่านี้กระจายตัวเป็นวงกว้าง เชื่อว่าเมื่อเรื่องสงบแล้วเราได้เห็นตัวเลขมูลค่าความเสียหายที่แท้จริงอย่างละเอียดแล้วนักลงทุนอาจหันไปพิจารณาสินทรัพย์สำรองในระยะยาวก็เป็นได้

ตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตจาก ISM ที่ออกมาดีเกินคาดเมื่อวันจันทร์ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่แท้จริงจากไวรัสโคโรนา คืนนี้รายงานตัวเลขจากตลาดแรงงานนิวซีแลนด์อาจออกมาดีเกินกว่าที่คาดการณ์เช่นเดียวกันเพราะตลาดแรงงานจะสะท้อนให้เห็นถึงตัวเลขการจ้างงานที่เติบโตขึ้น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคผลิตจาก ISM ของสหรัฐฯ ก็อาจจะออกมาดีด้วย แต่มองไปที่ฝั่งยูโรโซนแล้วอาจจะไม่ได้ดีเหมือนฝั่งสหรัฐฯ ตัวเลขยอดขายปลีกในยูโรโซนอาจลดลงเพราะตัวเลขการใช้จ่ายในเยอรมันและฝรั่งเศสลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนทางแคนาดาการลดลงของตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) จากสถาบัน IVEY อย่างมีนัยสำคัญอาจเป็นการบอกใบ้ว่ารายงานบัญชีการค้าของแคนาดาจะปรับตัวลดลง

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย