ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์รายวัน: 24 มกราคม 2020
โดยคุณเคธี่ เหลียน กรรมการผู้จัดการวางกลยุทธ์การลงทุนในตลาดฟอเร็กซ์ของบริษัทจัดการสินทรัพย์บีเค
ตลาดสกุลเงินปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วในวันนี้จากข่าวที่เชื้อไวรัสโคโรน่าได้แพร่ไปยังประเทศอื่นมากขึ้น แม้ว่าทางรัฐบาลจีนจะพยายามอย่างสุดกำลังแล้วในการใช้มาตรการต่างๆ กักเชื้อไวรัสโคโรน่าเอาไว้แต่อย่างที่เราได้เตือนไปแล้วในบทความเมื่อวานนี้ว่าการหยุดเที่ยวในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่เริ่มขึ้นแล้วในวันนี้คือตัวแปรสำคัญที่จะทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดนี้ดีขึ้นหรือว่าแย่ลงกว่าเดิม ผลกระทบจากเชื้อไวรัสนี้ที่มีต่อเศรษฐกิจในประเทศจีนและประเทศเพื่อนบ้านจะกระทบโดยตรงต่อแนวโน้มขาขึ้นที่มีอยู่ในตลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกาที่ตอนนี้ไวรัสโคโรน่าจะยังมาไม่ถึงสหรัฐฯ มากนัก
ความกลัวคือสาเหตุสำคัญที่สามารถผลักราคาในตลาดให้ร่วงลงได้อย่างรวดเร็ว สกุลเงินยูโร ปอนด์ และออสเตรเลียดอลลาร์ต่างได้รับผลกระทบในเชิงลบ อย่างไรก็ตามสกุลเงินเยนกลับเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่นักลงทุนกำลังสนใจและเราเชื่อว่าช่วงเวลาของสกุลเงินเยนจะยังคงอยู่ไปอีกสักระยะ ไม่เพียงเฉพาะดัชนีดาวโจนส์ที่มีโอกาสวิ่งลงไปถึง 28000 จุดแต่กราฟ USD/JPY ก็มีโอกาสหลุดแนวรับ 109 ด้วยเช่นกัน
ตัวเลขจำนวนผู้ว่างงานที่ลดลงเมื่อคืนนี้ทำให้สกุลเงินออสเตรเลียดอลลาร์เริ่มปรับตัวขึ้นมาได้ ตัวเลขจำนวนผู้ว่างงานลดลง 5.1% นั่นหมายความว่ามีงานใหม่เกิดขึ้นมากกว่า 29,000 ตำแหน่งในช่วงสิ้นปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามตัวเลขการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นนั้นส่วนใหญ่แล้วไม่ใช่งานประจำและเรายังเชื่อว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากไฟป่าและเชื้อไวรัสโคโรน่าจะเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจออสเตรเลียแต่ตอนนี้จากข้อมูลทางเศรษฐกิจที่เรามีเอนไปทางฝั่งขาขึ้นมากกว่าขาลงอยู่บ้าง ส่วนสกุลเงินนิวซีแลนด์ดอลลาร์ตอนนี้ดีดตัวกลับขึ้นมาก่อนรายงานตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่ 4 ที่จะประกาศในคืนวันนี้
สกุลเงินแคนาดาดอลลาร์สามารถปรับตัวกลับมาได้ แม้ว่าจะมีการเทขายในตลาดหุ้นฝั่งเอเชียและยุโรป แต่แคนาดาดอลลาร์ไม่ได้วิ่งตามสกุลเงินยูโรหรือออสเตรเลียดอลลาร์ที่ยังคงอยู่ในแนวโน้มขาลง ถึงอย่างนั้นอย่าคิดว่าปัจจัยเชิงบวกนี้จะอยู่ได้นานเพราะมาตรการผ่อนปรนทางการเงินของธนาคารกลางแคนาดาและราคาน้ำมันดิบที่ตอนนี้กำลังลดลงเป็นปัจจัยเชิงลบที่กระทบต่อแคนาดาดอลลาร์โดยตรง แม้ว่าแคนาดาจะมีรายงานตัวเลขยอดขายปลีกในวันนี้แต่ก็มีความเสี่ยงที่ว่าตัวเลขนี้อาจออกมาลดลงทำให้ตัวเลขอัตราการเติบโตของค่าจ้างและอัตราภาษีการขายที่เก็บในขั้นตอนของการขายส่งชะลอตัว
สกุลเงินยูโรยังคงครองตำแหน่งสกุลเงินที่ทำผลงานได้ย่ำแย่ที่สุดและยิ่งแย่ลงไปอีกจากการประกาศนโยบายทางการเงินจากธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (ECB) เมื่อวานนี้ ECB ยังต้องการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ดังเดิมและประธานธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรปนางคริสตีน ลาการ์ดยังเชื่อในทางบวกว่าเศรษฐกิจของยูโรโซนสามารถเติบโตได้ เธอบอกว่าข้อมูลทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเข้ามาเป็นไปตามที่ ECB คาดการณ์และเราเชื่อว่าปัจจัยเหล่านั้นจะส่งผลดีทำให้ยูโรโซนเติบโต เธอเห็นสัญญาณการเติบโตที่ซ่อนอยู่ใต้ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ
อย่างไรก็ตามคริสตีนยอมรับว่าภาพรวมของอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะดีขึ้นยังคงอ่อนแอ ยิ่งเมื่อนำประเด็นนี้มารวมกับภาพเศรษฐกิจมหภาคยิ่งทำให้พูดยากว่าจะกรอบขอบเขตการเติบโตของตัวเลขเศรษฐกิจในสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอนทางเศรษฐกิจแบบนี้ได้อย่างไร การที่จะทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นในการเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรปยังต้องใช้เวลา
ในวันที่ใครๆ ต่างก็พูดถึงความไม่แน่นอนและความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงความเสี่ยง สิ่งที่ ECB กล่าวมาและการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยสำหรับนักลงทุนแล้วเป็นการบ่งบอกถึงความอ่อนแอของสหภาพยุโรปในตอนนี้ทั้งสิ้น ECB ไม่มีแผนการรองรับที่จะสามารถดำเนินการหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินที่มีอยู่ได้ทันทีและยังต้องใช้เวลา (อีกแล้ว) กว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะมาถึง ครั้งหนึ่งนางคริสตีน ลาการ์ดเคยเริ่มใช้แผนตรวจสอบกลยุทธ์การทำงานของธนาคารกลางในปี 2003 เมื่อมีคนถามว่าต้องใช้เวลาเท่าไหร่? คริสตีนก็ตอบเพียงว่ายังไม่ต้องรีบร้อน ทุกอย่างจะเกิดขึ้นในเวลาที่เหมาะสมซึ่งเราหวังว่าอาจจะเป็นช่วงเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคมนี้
อนึ่ง...ข่าวฝั่งยุโรปในวันนี้ที่ต้องจับตาดูก็คือตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในเดือนมกราคมของยูโรโซน