รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

ทำไมโอเปกถึงยังสำคัญและอาจดึงอำนาจในการคานน้ำมันโลกกลับมาได้

เผยแพร่ 21/01/2563 11:56
อัพเดท 09/07/2566 17:31

เคยมีคนถามเจ้าชายอับดุลอะซีซ บิน ซัลมัน ผู้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของซาอุดิอาระเบียว่า “โอเปกคือผู้ผูกขาดราคาน้ำมันในตลาดโลกเพียงผู้เดียวหรือไม่” คำตอบที่ได้คือ....ไม่ และอีกครั้งที่เจ้าชายปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ในงานสัมมนาเทคโนโลยีปิโตรเลียมที่เมืองดาร์ราน

สาเหตุที่มีคนตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการผูกขาดน้ำมันดิบของโอเปกเพราะในอดีตเคยมีองค์กรที่พยายามจะทำอย่างที่โอเปกเป็นอยู่แต่ล้มเหลว แม้โอเปกจะปฏิเสธแต่การกระทำของโอเปกที่ผ่านมาก็แสดงให้เห็นอยู่แล้วถึงความพยายามที่จะเป็นกลุ่มมหาอำนาจที่คอยควบคุมความเป็นไปของน้ำมันโลก (แม้หลายครั้งจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าไหร่) ดังนั้นการศึกษาพฤติกรรมและการกระทำของกลุ่มโอเปกจึงเป็นสิ่งสำคัญที่นักลงทุนควรทราบเพื่อที่จะสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและระยะยาวได้

ฉายาที่ว่า “ผู้ผูกขาดน้ำมับดิบของโลก” เหมาะสมกับโอเปกแล้วหรือไม่

ก่อนอื่นเราต้องมาดูที่นิยามของคำว่า “ผู้ผูกขาด” กันเสียก่อนซึ่งในที่นี้หมายถึงผู้ผลิตที่มากกว่า 2 บริษัทหรือประเทศที่ร่วมมือกันตั้งราคาขึ้นมาเพื่อควบคุมกลไกอุปสงค์อุปทานของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

สำหรับพฤติกรรมของโอเปกที่ผ่านมาเมื่อนำไปเทียบกับคำนิยามด้านบนแล้วเราจะเห็นได้ว่ามีหลายที่การการกระทำของโอเปกเข้าข่ายของคำนิยามนี้ ในปี 1970 ประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่ก่อตั้งโอเปกขึ้นมาคือกลุ่มประเทศที่กุมอุปทานน้ำมันดิบมากถึง 70% ของโลก พวกเขาตั้งกฏขึ้นมาและเป็นผู้ทำให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น ที่สำคัญพวกเขาทำงานกันเป็นทีมเพื่อจำกัดปริมาณการผลิตน้ำมันและการดันราคาน้ำมันดิบให้ปรับตัวสูงขึ้น

ยกตัวอย่างเช่นในปี 1973 ที่ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นจนช๊อกตลาดน้ำมันโลก ตอนนั้นกลุ่มโอเปกเลือกที่จะใช้วิธีเข้าไปเจรจากับบริษัทผู้ผลิตน้ำมันข้ามชาติรายนั้นเพื่อตั้งกฏราคาน้ำมันกันใหม่ เมื่อการเจรจาไม่ประสบความสำเร็จโอเปกจึงตัดสินใจที่จะเป็นผู้กำหนดราคาเพียงฝ่ายเดียวด้วยการตั้งราคาที่ทำให้เฉพาะกลุ่มสมาชิกโอเปกได้กำไรเท่านั้นและไม่จำกัดเฉพาะตัวเลขการผลิตน้ำมันและการส่งออกด้วย

ในเวลาเดียวกันประเทศสมาชิกของกลุ่มโอเปกบางประเทศตั้งใจทำให้ราคาน้ำมันดิบสูงขึ้นจนถึงเป้าหมายราคาที่ตั้งไว้ แม้จะเป็นที่กังขาของคนทั้งโลกแต่นายซาคิ ยามานี่ รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันในขณะนั้นก็ออกมาปฏิเสธว่าที่องค์กรทำไปเพื่อต้องการรักษาผลประโยชน์ให้เศรษฐกิจโลกสามารถเดินหน้าและพัฒนาต่อไปได้โดยไม่ต้องประสบภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

นอกจากเขาจะปฏิเสธว่าราคาน้ำมันดิบในช่วงนั้นอยู่สูงเกินไปแล้วเขายังกระตุ้นให้บริษัทคู่แข่งผู้ผลิตน้ำมันมาร่วมกันดันราคาน้ำมันดิบให้ปรับตัวสูงขึ้นตามด้วย เมื่อโอเปกได้เห็นถึงศักยภาพของประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่ไม่ใช่กลุ่มโอเปก ในตอนนั้นแทนที่น้ำมันดิบจะมีราคาอยู่ที่ $7-$8 บาร์เรลเรากลับต้องซื้อน้ำมันดิบในราคา $13 ต่อบาร์เรล

ถือว่าโอเปกประสบความสำเร็จในการเป็นผู้แทรกแซงราคาน้ำมันดิบโลกหรือไม่

ทุกวันนี้ 40% ของการผลิตน้ำมันในโลกถูกควบคุมด้วยประเทศในกลุ่มโอเปก จากข้อมูลตามประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามีหลายครั้งที่ประเทศในกลุ่มโอเปกโกงโควตาและตั้งใจผลิตน้ำมันออกมาเกินที่กำหนดเพื่อสร้างกำไรให้กับประเทศตัวเองซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ผู้คนกังขาในตัวกลุ่มโอเปกเกี่ยวกับการเป็นผู้ผูกขาดการผลิตน้ำมันด้วยเพราะไม่มีบทลงโทษที่ตามมาอย่างชัดเจนเมื่อมีการผลิตน้ำมันออกมาเกินความจำเป็น แทนที่พวกเขาจะเลือกคุมปริมาณการผลิตน้ำมันเพื่อทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นพวกเขากลับเลือกที่จะใช้วิธีผลิตน้ำมันออกมาเพิ่มเพื่อหั่นราคาน้ำมันที่มีอยู่และดันราคาน้ำมันดิบให้ปรับตัวสูงขึ้น

แม้ว่าหลายครั้งความพยายามของโอเปกจะไม่ประสบความสำเร็จแต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าการกระทำของโอเปกจะไม่ได้ส่อไปในพฤติกรรมของผู้ที่ต้องการกุมราคาน้ำมันดิบของโลกเอาไว้และกลยุทธ์ที่โอเปกเลือกใช้กับราคาน้ำมันดิบก็เป็นวิธีที่บ่งบอกว่าพวกเขามีอำนาจพอที่จะผูกขาดราคาน้ำมันดิบได้ ยกตัวอย่างเช่นในปี 2014 ที่นายอาลี อัล นามี รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของซาอุดิอาระเบียเคยปล่อยให้ตลาดโลกต้องเต็มไปด้วยน้ำมันดิบจากกลุ่มโอเปกและดึงเสถียรภาพของกลุ่มกลับมาเพื่อคานอำนาจการผลิตน้ำมันจากหินน้ำมันในอเมริกาเหนือ ผลของการกระทำนั้นทำให้ราคาน้ำมันดิบร่วงลงแต่ถือว่าประสบความสำเร็จในฐานะผู้ผูกขาดน้ำมันดิบในตลาดกราฟราคาน้ำมันดิบ WTI ล่วงหน้า

รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมันของกลุ่มโอเปกในทุกวันนี้ปฏิเสธที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับว่าราคาน้ำมันดิบของโลกจะไปในทิศทางไหน สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะว่าประเทศซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันอันดับต้นๆ ของตะวันออกกลางอยู่ในสถานะที่ลอยตัวและไม่มีการตั้งเป้าหมายของราคาที่ชัดเจนแล้ว

คำแถลงการณ์ใดๆ หรือคำตอบเกี่ยวกับทิศทางราคาน้ำมันดิบของพวกเขาที่สาธารณชนเผยแพร่ออกไปไม่มีผลต่อการตัดสินใจของกลุ่มโอเปกในที่ประชุม นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่โอเปกถึงมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อสายต่อสาธารณชนโลกทั้งในแง่ของผู้ที่ทำให้โลกเข้าสู่สภาวะชะลอตัวในปี 1970 ทั้งในแง่ผู้ที่มีส่วนต่อการจำกัดกิจกรรมเกี่ยวกับการจัดการน้ำมันดิบและทั้งในแง่ของกลุ่มประเทศที่เอาราคาน้ำมันดิบมาเป้นตัวต่อรองเพื่อผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มสมาชิกเท่านั้น

อย่างไรก็ตามทุกวันนี้บทบาทของกลุ่มโอเปกในฐานะผู้จัดการและผู้แทรกแซงตลาดน้ำมันดิบนั้นลดลงไปมากกว่าแต่ก่อน สาเหตุหนึ่งมาจากอเมริกาสามารถผลิตน้ำมัน WTI ออกมาสู้และส่งออกแข่งกับโอเปกได้แล้วจึงทำให้หลายๆ ประเทศผู้ผลิตรายเล็กเริ่มไม่เห็นความสำคัญของการเป็นสมาชิกกลุ่มโอเปก พวกเขาตีตัวออกห่างและหันไปพัฒนาการผลิตน้ำมันในประเทศตนเองมากขึ้น นี่อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งว่าทำไมตอนนี้กลุ่มโอเปกถึงต้องการที่จะสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กรใหม่โดยพวกเขาอยากให้โลกมองพวกเขาเป็นผู้ผลิตน้ำมันที่มีความรับผิดชอบมากกว่าเป็นผู้ผูกขาดการผลิตน้ำมัน

ทำไมเราจึงต้องสนใจกับเรื่องนี้ด้วย?

แม้อำนาจของกลุ่มโปเปกจะถูกบั่นทอนลงไปมากแล้วแต่การตัดสินใจของกลุ่มโอเปกยังคงมีผลกับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอยู่ การตัดสินใจของโอเปกในบางครั้งสร้างผลกระทบระยะสั้นต่อราคาน้ำมันดิบได้ซึ่งเราจะได้เห็นกันอีกครั้งในงานประชุมที่กรุงเวียนนาเดือนมีนาคมปี 2020 นี้

ถึงทุกวันนี้โอเปกจะกำลังเริ่มเปลี่ยนภาพลักษณ์ของตนเองและพยายามจับมือเป็นพันธมิตรกับกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่ไม่ใช่กลุ่มโอเปกอย่างรัสเซียซึ่งนักวิเคราะห์ยังคงสงสัยอยู่ว่าไม้นี้ของโอเปกจะสามารถกลับมาแทรกแซงราคาน้ำมันดิบของโลกได้อยู่หรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้นตอนนี้ความเปลี่ยนแปลงในโลกกำลังเกิดขึ้น ความเป็นไปได้ที่เราจะได้เห็นพลังงานทดแทนอย่างอื่นที่มาแทนน้ำมันเริ่มไม่ใช่สิ่งที่ไกลเกินฝันอีกต่อไป

เมื่อโลกหันไปใช้พลังงานทดแทนกันหมดเชื่อว่าตอนนั้นกลุ่มโอเปกจะสามารถกลับมาครอบครองตลาดน้ำมันโลกได้อย่างน้อย 50% หรือมากกว่านั้นซึ่งดิฉันเชื่อว่าในตอนนั้นเองที่เราจะได้เห็นโอเปกผู้ผูกขาดน้ำมันหวนคืนบัลลังก์อีกครั้งหนึ่ง

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย